วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ระบบน้ำหยด

การติดตั้งปั๊มหอยโข่งสำหรับระบบน้ำหยด

           การทำการเกษตรในปัจจุบันนี้เราจะรอเทวดาให้ประทานฝนมาให้เราหรือท่านจะแห่นางแมวไปขอฝนเทวดาท่านอาจประทานมาให้ท่านสักหยดหนึ่งในรอบ 1 เดือนจากนั้นท่านต้องไปขอจากใครอีกคงรอกันไม่ไหวแน่ซึ่งฤดูกาลผลิตเริ่มต้นมันไม่รอใครทั้งนั้นที่สำคัญนะครับ ดอกเบี้ยมันไม่ต้องการน้ำเดินทุกวันไม่มีวันหยุด จนกว่าท่านจะหยุดมันเอง ดังนั้นหัวใจสำคัญของการปลูกพืชก็คือ ระบบน้ำครับ ถ้าไปจ้างมืออาชีพก็จะไม่มีเงินต้นส่งธนาคาร ดังนั้นท่านต้องจัดการเอง.
ดังนั้นการใช้ปั๊มน้ำเป็นทางออกที่ดีทีสุดในการทำการเกษตรแผนใหม่ซี่งเราต้องจัดการเรื่องน้ำแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับพืชและฤดูกาลผลิตด้วยวันนี้จะขอพูดเรื่องการให้น้ำในระบบน้ำหยดสำหรับไร่ อ้อยครับ ท่านไม่จำเป็นต้องซื้อปั๊มน้ำกับเราก็ได้อ่านและนำไปปฎิบัติไม่ว่ากัน.
            เมื่อพูดถึง ระบบน้ำหยด ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ซึ่งระบบนี้ได้รับความนิยมในต่างประเทศมานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศอิสราเอล ได้คิดค้นและเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1940 โดยวิศวกรชื่อ Symcha Blass และได้แพร่หลายออกไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้นำอุปกรณ์นำเข้า และเกษตรกรยังพึ่งน้ำฝนอยู่ สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการชลประทานน้ำหยด ปัจจุบันนี้ไทยเรายังผลิตเองไม่ได้ทั้งหมด บางอย่างต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย วาล์วไฟฟ้า และระบบหม้อกรอง เป็นต้น
ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อผ่านระบบปั๊มหอยโข่งแรงดันสูง หรือปั๊มแรงดันหลายใบพัด เพิ่มทำให้เกิดแรงดันในระดับ 5-25 PSI และปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้า ๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 5-25 PSI ขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสมตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งที่ต้องเตรียมสำหรับโครงการนี้คือ
  1. ปั๊มแรงดัน 2 ใบพัด หรือ 3 ใบพัด (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการปลูก)
  2. เทปน้ำหยด
  3. ท่อส่งน้ำ จะเป็น ท่อ พี อี (PE) หรือ ท่อ พี วี ซี (PVC) ก็ได้ นิยมใช้ PE ติดตั้งง่าย
  4. ข้อต่อและอุปกรณ์ หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป หรือ ที่ด่านช้าง ที่ร้าน อ.ทองไทย อุปกรณ์ครบ ไม่เป็นเฮียเขาจัดการให้
  5. หัวกระโหลก หรือ ฟุตววล์วไฟเบอร์ หรืด หัวดูดไพเบอร์ ตามขนาดของปั๊มน้ำ

4020 ปั๊มแรงดัน 2 ใบพัด หมุนซ้าย เทปน้ำหยด เทปน้ำพุ่ง

ข้อต่อ วาล์ว หัวดูดไฟเบอร์ (หัวกระโหลก)

การต่อเครื่องยนต์ พร้อมปั๊มแรงดันหมุนขวา 2 ใบพัด และปั๊มแรงดัน MU-250L หมุนซ้าย ที่ถูกต้อง (ต่อที่ เปี๊ยกการยนต์)
ปัญหาที่สำคัญของระบบนี้
  • น้ำต้องสะอาด
  • ต้องทำระบบกรองน้ำให้กับระบบ
  • ปั๊มที่ใช้ต้องเป็นปั๊มที่มีแรงดันสูงเช่น ปั๊มรุ่น 4020 แรงดันสูงสุด 7.2 บาร์ ไปดูบทความปั๊มแรงดัน (PRODUCT)
  • เมื่อท่านวางระบบเรียบร้อยระวังอยู่ 2 อย่างคือ หนูนา กับไฟป่าให้ตรวจเช็คทุก ๆ อาทิตย์ ถ้าฝังดิน หนูจะกัดขาด
ข้อเสนอแนะ
  • ท่านจะต้องเปิดน้ำทีละโชน
  • ทุก ๆ ท่อจ่ายน้ำท่านต้องติดตั้งวาล์วน้ำเพื่อลดหรือเพิ่มแรงดันน้ำให้กับท่อจ่ายน้ำแต่ละท่อ
  • ในกรณีที่ท่านติดตั้งระบบสปริงเกอร์แบบเหวียงควรใส่วาล์วหรี่ที่สปริงเกอร์ทุกตัวเพื่อปรับระดับแรงดันของน้ำให้เท่ากันทั้งระบบ
  • ฟุตวาล์วไม่ควรใช้ผ้าลี่ห่อฟุตวาล์วโดยตรง ควรหาตะแกรงหรือ วัสดุอืน ๆ กั้นเป็นคอกคอยกรอง
  • ถ้าตังเหลือ ควรเพิ่มถังแรงดันเข้าไปในระบบจะได้แรงดันเพิ่มขึ้นอีกอย่าลืมใส่เช็ควาล์วกันน้ำย้อนกลับด้วย
  • ควรใส่ strainer กรองทรายด้วย (ให้จำว่าทุก ๆ อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้าไประบบจะทำให้แรงดันในระบบลดลง)

(เทปน้ำหยดท่านติดต่อที่นี่พักพวกกัน http://www.weloveshopping.com/template/w13/s_product.php?groupproduct=all&shopid=25339 หรือ http://www.sahatongthai.com น้องทำ Link หลายที่ )


การให้นำ้ระบบต่างๆ


1. การวางระบบท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตรแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation) 
       การวางระบบท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตรแบบฉีดฝอยนั้น ประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ดังนี้คือ
     1.
เครื่องสูบน้ำ (Pumping unit) หรือ Source of supply เป็นแหล่งกำเนิดน้ำอาจจะทำโดยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มความดันให้หัว Sprinkler เครื่องนี้อาจจะเคลื่อนด้ายเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้
     2.
ท่อประธาน (Main pipe unit) หรือ Sub mainline ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเครื่องสูบน้าไปสู่ท่อแยก ท่อนี้อาจเป็นท่ออ่อน หรือท่อโลหะที่ถอดออกต่อที่เป็นท่อน หรือจะเป็นท่อที่ติดตั้งตายตัวก็ได้

     3.
ท่อแยกประธาน (Sub mainline) ทำหน้าที่รับน้ำจากท่อประธานส่งให้กับท่อแขนง ท่อแยกนี้มีลักษณะเช่นเดียวกันท่อประธาน แต่มีขนาดเล็กกว่า

     4. ท่อแขนง (
Lateral) ทำหน้าที่รับน้ำจากท่อแยกประธานส่งให้กับหัวสปริงเกอร์ ท่อแขนงนี้มีลักษณะเช่นเดียวกันท่อแยกประธาน แต่มีขนาดเล็กกว่า
    5.
หัวสปริงเกอร์ (Sprinkler units) ประกอบด้วย และ ทำหน้าที่จ่ายน้ำให้แก่พืช มีแบ่งเป็นพิเศษไว้สองแบบ คือจ่ายน้ำโดยหมุนหัวฉีดเป็นวงกลมในแนวราบ (Rotary Sprinkler) และเป็นท่อเจาะรูเล็ก โดยรอบ โดยให้น้ำฉีดไหลออกมาตามรูตลอดความยาวของท่อเรียกว่า Perforated pipe
ซึ่งไม่ใคร่จะนิยมกันมากนัก

2. ระบบการประทานแบบฉีดฝอยนั้นยังแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกันคือ
    2.1 แบบติดอยู่กับที่
(Permanent Systems) เป็นแบบที่อุปกรณ์ทุกอย่างติดอยู่ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ โดยปกติแล้วท่อต่างๆ มักจะฝังอยู่ใต้ดิน หรือมิฉะนั้นก็ยกสูงเหนือผิวดินเลยค่าลงทุนจะสูงกว่าแบบอื่นๆ แต่ประหยัดค่าแรงในการได้น้ำได้มาก
    2.2 แบบเคลื่อนย้ายได้เพียงบางส่วน(Semi-portable Systems) แบบนี้อุปกรณ์บางอย่างจะติดอยู่กับที่ และบางอย่างสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ที่อื่น โดยมากท่อนประธาน และท่อแขนงจะติดอยู่กับที่ ส่วนที่ท่อแยก ซึ่งมีหัวสปริงเกอร์ ติดอยู่สามารถถอดออกเป็นท่อน และนำไปใช้ที่อื่นได้
    2.3 แบบเคลื่อนย้ายได้ทั้งหมด
(Portable System) แบบนี้อุปกรณ์ทุกอย่างตั้งแต่เครื่องสูบน้ำจนถึงท่อแยกซึ่งมีหัวสปริงเกอร์ ติดอยู่เคลื่อนย้ายได้ทั้งหมด


3. การวางระบบท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตรแบบหยดน้ำ (Drip or Trickle Irrigation)
          การวางระบบท่อส่งน้ำแบบน้ำหยด เป็นระบบการให้น้ำแก่พืชที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษหลายอย่าง เพื่อควบคุมการให้น้ำแก่พืช ให้มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับวิธีการให้น้ำแก่พืชแบบอื่น ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในเบื้องต้น ที่จะต้องทำความเข้าใจถึงหน้าที่และความสำคัญของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นใช้ในระบบ เพื่อจะได้นำไปใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพทางภูมิประเทศ และพืชที่ปลูก ตลอดจนการลงทุ่นและผลผลิตที่จะได้รับ ถ้าหากมีการวางระบบไม่ถูกต้องนอกจากจะเสียเงินเพิ่มแล้วยังใช้ไม่ได้ผลอีก ด้วย
องค์ประกอบของระบบการชลประทานแบบน้ำหยด (
Drip System Components)
ระบบชลประทานแบบน้ำหยด ส่วนใหญ่จะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. เครื่องสูบน้ำ (Pump)
2. ท่อประธาน (Main line)
3. ท่อประธานย่อย (Sub Main)
4. ท่อแขนง (Lateral line)

5. หัวปล่อยน้ำ (
Emitters)
6. ประตูน้ำ (Valve)
7. เครื่องวัดความดัน (Pressure Gauge)

บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ ถ้าน้ำมีแรงดันพอเพียง เช่น ระบบที่ใช้น้ำประปา ที่มีความดันมากกว่า 10 ปอนด์/ตร.นิ้ว หรือแหล่งน้ำที่อยู่ที่สูงกว่า 6 เมตรจากพื้นดินเป็นต้น และอุปกรณ์ที่นับว่าสำคัญมากของระบบนี้ซึ่งจะขาดไม่ได้ คือ เครื่องกรองน้ำ (Filter)
องค์ประกอบของระบบชลประทานแบบน้ำหยดอย่างง่าย ที่ใช้กันในบริเวณบ้าน ซึ่งต่อจากแหล่งน้ำระบบประปา โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำ ระบบนี้ใช้ได้กับพืชเกือบทุกชนิด ตั้งแต่พืชผักสวนครัว ต้นไม้ประดับไม้ยืนต้น ตลอดจนสนามหญ้า และสำหรับในพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ นอกจากจะมีอุปกณ์ดังกล่าวแล้ว บางครั้งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพิ่มขึ้นอีกตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ถือว่าเป็นเครื่องควบคุมการจ่ายน้ำต้นทาง (Control head) ได้แก่ เครื่องวัดปริมาณการไหลของน้ำ (Water miter) เครื่องฉีดผสมปุ๋ยหรือสารเคมี (Fertilizer tank or Chemical injector) เครื่องควบคุมความดัน (Pressure regulator) ตัวป้องกันน้ำไหลกลับ (Non-return valve) ประตูระบายอากาศ (Air release valve) ทางระบายน้ำออก ( Outlet for flushing) และนอกจากนี้ ยังสมารถติดตั้งเป็นระบบควบคุมการจ่ายน้ำเป็นระบบอัตโนมัติได้อีกด้วย โดยติดตั้งประตูน้ำไฟฟ้า (Solenoids valves) และระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer control unit) เป็นต้น


 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น