1.ฤดูกาลปลูก
การ ปลูกอ้อยของประเทศไทยนั้นมากกว่า 90% อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ การปลูกอ้อยเพื่อส่ง โรงงานจะมี 3 ช่วง คือหลังฝน (ข้ามแล้ง) ก่อนฝน (น้ำราด) และต้นฝน ดังแผนภูมิ
ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. |
ข้ามแล้ง | น้ำราด | ต้นฝน |
1. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะ ดำเนินการหลังฝนหมด คือ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึง ปลายเดือนพฤศจิกายนหรือจนกว่าดินจะหมดความชื้น คือความชื้นไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอก2. การปลูกอ้อยน้ำราด จะ ดำเนินการก่อนฝน คือ หลังจากการปลูกอ้อยข้ามแล้ง หรือการรื้อตอแล้วปลูกใหม่ ความชื้นในดินเหลือน้อยไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอกจะต้องให้น้ำ โดยใช้น้ำเพียงพอให้อ้อยงอกเพียงครั้งเดียว ปริมาณน้ำที่ให้ขึ้นกับความชื้นของดินขณะนั้น จะดำเนินการปลูกต้นเดือนธันวาคม ถึง ต้นเดือนมีนาคมอากาศยังไม่ร้อนจัด สำหรับระยะเวลาจากกลางเดือนมีนาคม ถึง กลางเดือนเมษายน ปกติอากาศจะร้อนจัดมาก ดินแห้งมาก การปลูกในช่วงนี้ถ้าให้น้ำแล้วกลบบางเกินไปตาอ้อยจะสุกไม่งอก หรือถ้าเกิดฝนตกหนักดินอัดแน่น อ้อยอาจจะเน่าไม่งอกฉะนั้นการปลูกอ้อยราวมีนาคม – เมษายน เป็นจุดเสี่ยง จะต้องติดตามสภาพดินฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด3. การปลูกอ้อยต้นฝน จะ ดำเนินการเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – กลางเดือนมิถุนายน ถ้าปลูกหลังจากนี้ไปแล้ว ผลผลิตและคุณภาพอ้อยจะลดลงตามลำดับ
2. การปลูกอ้อยข้ามแล้งดีอย่างไรต่างจากการปลูกอ้อยต้นฝนอย่างไร
ข้อดีของการปลูกอ้อยข้ามแล้งเมื่อเทียบกับอ้อยต้นฝน
1. ด้านต้นทุน
- พันธุ์อ้อย ถ้าต้องการเปลี่ยนพันธุ์ สามารถหาพันธุ์ที่ต้องการได้ง่าย ราคาถูกกว่าอ้อยต้นฝน
- การควบคุมวัชพืช ต้นทุนการควบคุมวัชพืชจะต่ำกว่าต้นฝนและง่ายกว่า
- การเตรียมดิน ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะต้องเตรียมดินให้ละเอียด ต้นทุนการเตรียมดินจะสูงกว่าต้นฝน แต่อ้อยจะแตกกอดีกว่า
- ดอกเบี้ย การปลูกตั้งแต่ตุลาคม ต้นทุนด้านดอกเบี้ยจะสูงกว่าปลูกเดือนพฤษภาคม แต่ช่วงตัดเข้าหีบจะตัดเข้าหีบได้ตั้งแต่เริ่มเปิดหีบ (เดือนธันวาคม) จะได้เงินใช้ก่อน
2. ระยะเวลาการปลูก
- ปลูกข้ามแล้งมีระยะเวลาปลูกตั้งแต่ปลายตุลาคม – ปลายพฤศจิกายน หรือต้นธันวาคม มีระยะเวลาปลูกต่อเนื่อง อากาศเย็น แรงงานตัดพันธุ์ปลูกทำงานได้เต็มที่- อ้อยต้นฝน ระยะเวลาปลูกจะขึ้นกับฝน การเตรียมดิน การปลูกจะเสี่ยงกับฝนตกในขณะปฏิบัติงาน ถ้าฝนตกหนักไม่สามารถเตรียมดิน ปลูก ทำให้เสียเวลารอคอย ทำให้การปลูกมีเวลาจำกัด หรือเสี่ยงกับท่อนพันธุ์เน่า ในกรณีปลูกแล้งมีน้ำแช่ขัง การควบคุมวัชพืชยาก
3. ผลผลิตและคุณภาพการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
- อ้อยมีเวลาเติบโตในไร่มากกว่า 12 เดือน ผลผลิตและคุณภาพย่อมสูงกว่าอ้อยต้นฝน ซึ่งเวลาเติบโตในไร่ 9 – 10 เดือน
4. ด้านความเสื่อมของดิน
- การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินเพราะใบอ้อยที่คลุมพื้นที่
จะช่วยลดแรงกระทบของฝนต่อดิน
3. หลักสำคัญในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
หลัก การสำคัญในการปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือ การใช้น้ำฝนให้เกิดประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ ในช่วงอ้อยเริ่มปลูกก่อนถึงย่างปล้อง อ้อยต้องการน้ำน้อย จะใช้ความชื้นที่
เก็บไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อเข้าฤดูฝนอ้อยเริ่มย่างปล้องต้องการน้ำมาก เมื่อได้น้ำฝนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะสูง ดังตัวแบบของ ธวัช ตินนังวัฒนะ
ที่ว่า ถ้าปริมาณฝน 1,000 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 16 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,100 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 17.6 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,200 มม./ปี ต้องได้
ผลผลิต 20 ตัน/ไร่
เก็บไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อเข้าฤดูฝนอ้อยเริ่มย่างปล้องต้องการน้ำมาก เมื่อได้น้ำฝนก็เติบโตอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะสูง ดังตัวแบบของ ธวัช ตินนังวัฒนะ
ที่ว่า ถ้าปริมาณฝน 1,000 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 16 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,100 มม./ปี ต้องได้ผลผลิต 17.6 ตัน/ไร่ ถ้าปริมาณฝน 1,200 มม./ปี ต้องได้
ผลผลิต 20 ตัน/ไร่
4.ขั้นตอนและวิธีการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
1. การปรับปรุงดิน
พื้นที่ดินต้องไม่มีตอไม้ ต้นไม้ หรือหิน ดินที่จะปลูกอ้อยข้ามแล้งควรมีอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 1%ถ้าหากมีอินทรีย์วัตถุต่ำ
ต้อง ปรับปรุงดินเพื่อให้อินทรีย์วัตถุช่วยอุ้มน้ำและปลดปล่อยธาตุอาหารให้อ้อย ซึ่งอาจจะใช้ปุ๋ยพืชสด กากตะกอน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ในปัจจุบันจะ
มีการใช้สารโพลิเมอร์ ช่วยอุ้มน้ำไว้ให้พืชใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและจัดการง่าย คือ ดินร่วนปนทราย ร่วนเหนียว ร่วนทรายสำหรับดินเหนียว
ต้องมีเครื่องมือเตรียมดิน และปลูกที่พร้อมจึงจะได้ผลดี
ต้อง ปรับปรุงดินเพื่อให้อินทรีย์วัตถุช่วยอุ้มน้ำและปลดปล่อยธาตุอาหารให้อ้อย ซึ่งอาจจะใช้ปุ๋ยพืชสด กากตะกอน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ในปัจจุบันจะ
มีการใช้สารโพลิเมอร์ ช่วยอุ้มน้ำไว้ให้พืชใช้พื้นที่ที่เหมาะสมและจัดการง่าย คือ ดินร่วนปนทราย ร่วนเหนียว ร่วนทรายสำหรับดินเหนียว
ต้องมีเครื่องมือเตรียมดิน และปลูกที่พร้อมจึงจะได้ผลดี
2. การเตรียมดิน
การ เตรียมดินเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะให้รากอ้อยได้หยั่งลึกลงไปหาน้ำและ อาหาร และต้องเตรียมดินให้ละเอียดเพื่อให้เดินเก็บน้ำไว้ได้นานที่สุด โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
1. ไถเปิดหน้าดินด้วยผาน 3 หรือผาน 4 หมักวัชพืช ปุ๋ยพืชสด และเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใต้ดิน
2. หลังหมดฝน พรวนด้วยผาน 7 หรือผานพรวนออฟเสท (18 จาน หรือ 20 จาน)
3. ระเบิดดาน ใช้ริบเปอร์ หรือไถสิ่ว เพื่อให้ดินดานแตก รากพืชหยั่งลงไปได้ และทำให้ดินมีอากาศ
4. พรวน 1 – 2 ครั้ง ให้ดินละเอียดและเรียบ เพื่อให้ดินเก็บความชื้นได้นาน
ถ้า หากชาวไร่มีพื้นที่น้อยและมีรถไถเดินตาม หลังจากจ้างไถเปิดหน้าดิน หลังหมดฝนใช้รถไถเดินตามพรวนดินให้เรียบ แล้วจ้างไถแปร หลังจากนั้นใช้รถไถเดินตามพรวนและคราดให้ดินละเอียดสม่ำเสมอ เมื่อเตรียมดินละเอียดแล้วก็พร้อมปลูก
3. การเตรียมท่อนพันธุ์
พันธุ์ อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้งสามารถใช้ได้ทุกพันธุ์ แต่ถ้าพันธุ์อ้อยโตเร็ว ล้มง่าย จะไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากอ้อยล้มจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง การเก็บเกี่ยวยาก ถ้าหากเป็นอ้อยโตช้าในระยะแแรกแล้วโตเร็วในช่วงหลังอ้อยไม่ล้มจะเหมาะสมที่ สุด อายุของท่อนพันธุ์ที่ เหมาะสมคือ 8 – 10 เดือน ปลอดจากโรคและแมลงไม่แตกแขนง ขนาดของลำโตสม่ำเสมอ ถ้ามีลำเล็กปะปนห้ามนำไปปลูกการตัดพันธุ์ห้ามลอกกาบถ้าจะริดใบออกให้ริดขึ้น ไม่ให้มีด
ถูกตาอ้อย การขนย้ายท่อนพันธุ์อย่าให้ตาแตก หรือช้ำ เพราะจะทำให้ไม่งอก หลังจากตัดท่อนพันธุ์ ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน ถ้าหลังจากนี้เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงตามลำดับ ถ้าหากมีแหล่งน้ำและแรงงาน การนำพันธุ์อ้อยแช่น้ำ 24 ชั่วโมง จะช่วยฆ่าแมลง หนอนที่ติดมากับอ้อยได้ และจะทำให้อ้อยงอกเร็วขึ้น
ถูกตาอ้อย การขนย้ายท่อนพันธุ์อย่าให้ตาแตก หรือช้ำ เพราะจะทำให้ไม่งอก หลังจากตัดท่อนพันธุ์ ควรปลูกให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน ถ้าหลังจากนี้เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงตามลำดับ ถ้าหากมีแหล่งน้ำและแรงงาน การนำพันธุ์อ้อยแช่น้ำ 24 ชั่วโมง จะช่วยฆ่าแมลง หนอนที่ติดมากับอ้อยได้ และจะทำให้อ้อยงอกเร็วขึ้น
4. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
การ ปลูกอ้อยข้ามแล้งมีทั้งปลูกด้วยแรงงานและเครื่องปลูก การใช้เครื่องปลูกจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสามารถกำหนดความลึกของการปลูก ความหนาของการกลบ และลูกกลิ้งบดทับเพื่อให้ดินสัมผัสกับท่อนอ้อย จะทำให้อ้อยงอกเร็วขึ้น และดินไม่สูญเสียความชื้น เครื่องปลูกอ้อยมีทั้งชนิดตัดท่อน (Billet planter) และชนิดเสียบบนและเสียบท้าย ก่อนใช้เครื่องปลูกจะต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องปลูก ตั้งแต่ใบมีด ลูกยาง เฟือง โซ่ เครื่องใส่ปุ๋ย ใบกลบ ลูกกลิ้ง สปริงอัดลูกกลิ้งทั้งหมดจะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
4.1. การใช้เครื่องปลูก
การ ขับเครื่องปลูกอ้อยให้ใช้เกียร์โลว์ 1 หรือ 2 เพื่อให้ท่อนพันธุ์ลงสม่ำเสมอ ถ้าหากเป็นพันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย ให้ใส่ท่อนพันธุ์คู่หรือซ้อนกันให้มาก เพื่อให้อ้อยเกิดมาก ถ้าหากท่อนพันธุ์แตกกอดีใส่ท่อนพันธุ์ซ้อนกันเล็กน้อย ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้สูตรที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง เพื่อเร่งรากให้แข็งแรง และเร่งการแตกหน่อ เช่นสูตร 20-20-0 หรือ 16-20-0 ในที่ดินเหนียว และ 16-16-8 หรือ 18-12-6 ในที่ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย อัตรา 50 กก./ไร่ ระยะปลูกควรใช้ระยะ 1.50 เมตร เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องมือ บำรุงรักษา หรือเก็บเกี่ยว
4.2. การใช้แรงงานปลูก
การ ใช้แรงงานปลูกจะต้องมีความพร้อมทั้งรถแทรกเตอร์ยกร่อง คนงาน ท่อนพันธุ์ การกลบท่อนพันธุ์ จะต้องให้แล้วเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การเปิดร่อง ควรใช้ไถหัวหมูติดตั้งถังปุ๋ย เพราะจะเปิดร่องเป็นรูปตัววี การสูญเสียความชื้นจะน้อยกว่าใช้ผานจาน ซึ่งเปิดร่องกว้าง ความลึก 20 – 25 ซม.
พร้อมกับปุ๋ยรองพื้นตามสูตร และอัตราที่ได้กล่าวมาแล้ว ระยะปลูก 1.50 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร และ 1.20 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยรถไถเดินตาม
พร้อมกับปุ๋ยรองพื้นตามสูตร และอัตราที่ได้กล่าวมาแล้ว ระยะปลูก 1.50 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร และ 1.20 เมตร ถ้าบำรุงรักษาด้วยรถไถเดินตาม
2. ถ้าไถหัวหมูที่เปิดร่องไม่ได้ติดตั้งถังปุ๋ย ให้ใช้แรงงานคนหว่าน อัตรา 50 กก./ไร่ ถ้าบำรุงรักษาด้วยเครื่องจักร และอัตรา 60 กก./ไร่ ถ้าบำรุงรักษาด้วยรถไถ
เดินตาม
เดินตาม
3. วางท่อนพันธุ์ ถ้าหากพันธุ์อ้อยแตกกอน้อย เช่น เค.84-200 ให้วางท่อนคู่ ให้โคนและปลายเหลื่อมกันกลางท่อน ถ้าพันธุ์ที่แตกกอดี ให้วางท่อนพันธุ์เหลื่อมกัน
เล็กน้อยเพื่อลดการเสี่ยงจากส่วนโคน หรือปลายอ้อยที่อาจจะไม่งอก
เล็กน้อยเพื่อลดการเสี่ยงจากส่วนโคน หรือปลายอ้อยที่อาจจะไม่งอก
4. สับท่อนพันธุ์ด้วยมีดที่คม 3 – 4 ตา/ท่อน ถ้ามากกว่านี้ตาอ้อยที่เกิดจากส่วนโคนจะไม่แตกกอ
5. กลบท่อนพันธุ์ด้วยแรงงานหรือใช้รถไถเดินตาม บางแห่งใช้แรงงานสัตว์ เช่น ควาย กลบหนา 8 – 10 ซม.
6. ถ้าดินมีความชื้นไม่ค่อยดีนัก แต่เพียงพอสำหรับอ้อยที่จะงอก ให้ใช้รถ-แทรกเตอร์เหยียบในร่องอ้อย เพื่อให้ดินสัมผัสท่อนอ้อย และลดการสูญเสียความชื้น
5.การบำรุงรักษา
การปลูกอ้อยข้ามแล้งการดูแลรักษาง่ายกว่าการปลูกอ้อยต้นฝน และจะลดต้นทุนเรื่องการ-กำจัดวัชพืชได้มาก การบำรุงรักษามีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติดังนี้
5.1 หลังปลูกภายใน 3 สัปดาห์ ใช้คัทอะเว(Cutaway)พรวนดินคราดลูกหญ้า และจะเร่งให้อ้อย งอกพร้อมกันทั้งหมด คาดว่า 1 เมตร อ้อยจะต้องงอก 4 – 6 ต้น
5.2 หลังจากปลูกประมาณ 10 สัปดาห์ ฝังปุ๋ยกลางร่องด้วยเครื่องฝังปุ๋ยลึก 20 – 30 ซม. หรือฝังห่างโคนอ้อยประมาณ 30 ซม.เพื่อไม่ให้รากขาด ปุ๋ยแต่งหน้าจะ
ใช้ สูตรที่มีไนโตรเจนสูงและโปแตสเซี่ยมสูง เพื่อเร่งการเติบโต และเพิ่มความหวาน เช่น 22-7-18 หรือ 21-7-14 เป็นต้น อัตรา 50 กก./ไร่การฝังปุ๋ยลึกดินยังมีความชื้น ปุ๋ยจะละลาย พืชจะนำไปใช้ได้ การฝังปุ๋ยลึกลดการสูญเสียปุ๋ย นอกจากนี้วัชพืชไม่สามารถไปแย่งปุ๋ยได้
ใช้ สูตรที่มีไนโตรเจนสูงและโปแตสเซี่ยมสูง เพื่อเร่งการเติบโต และเพิ่มความหวาน เช่น 22-7-18 หรือ 21-7-14 เป็นต้น อัตรา 50 กก./ไร่การฝังปุ๋ยลึกดินยังมีความชื้น ปุ๋ยจะละลาย พืชจะนำไปใช้ได้ การฝังปุ๋ยลึกลดการสูญเสียปุ๋ย นอกจากนี้วัชพืชไม่สามารถไปแย่งปุ๋ยได้
5.3 หลังจากฝังปุ๋ยแล้ว ถ้าหากอ้อยยังเล็กและมีวัชพืช ให้ใช้คราด 48 ซี่ คราดลูกหญ้า หรือใช้เครื่องมือ เอ็ม 1 พรวนคราดลูกหญ้า
5.4 ฉีดพ่นด้วยสารเคมีคุม-ฆ่าวัชพืช โดยเฉพาะ เวลปาร์ – เค ซึ่งสามารถฉีดได้ผลดีในสภาพความชื้นน้อย สามารถฆ่าวัชพืช และยังคุมได้นานถึง 3 เดือน การฉีดพ่นยาคุม-ฆ่าวัชพืชให้ได้ผลดี มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้
1. หัวฉีดจะต้องเป็นแบบพัดน้ำยาออกเป็นฝอยสม่ำเสมอ ถ้าไม่สม่ำเสมอให้เปลี่ยนหัวหัวฉีดใหม่ทันที
2.อัตรา ยาต่อไร่จะต้องใช้ตามอัตราที่ฉลากยากำหนด การที่จะใช้อัตรายาต่อไร่ตามอัตราที่ฉลากยากำหนด นั้น จะต้องคำนวณน้ำที่ออกจากหัวฉีด และอัตราเร็ว การฉีดพ่นด้วยเครื่องจักรจะคำนวณได้แม่นยำ แต่การใช้แรงงานคนฉีดพ่นจะมีปัญหาในเรื่องอัตรายาต่อไร่ เพราะบางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า วิธีการแก้ไข คือ ผสมยาลงในถัง 200 ลิตร 2 ถัง สำหรับคนเดินช้า 1 ถัง คนเดินเร็ว 1 ถัง
3. น้ำควรเป็นน้ำที่สะอาด
4. ขณะฉีดพ่นควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกใบหรือยอดอ้อย
5. เวลปาร์-เค ไม่ควรใช้ฉีดพ่นในที่ลุ่ม ที่มีน้ำขัง จะทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโต หรือตาย และอย่าใช้ในสภาพแวดล้อมเป็นนาข้าวถ้าใช้อัตรายาได้ตาม
กำหนด จะไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนอ้อยอีกเลย
กำหนด จะไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนอ้อยอีกเลย
6. ควรหมั่นสุ่มตรวจแปลงอ้อยของตนเองทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจดูโรคที่สำคัญเช่น แส้ดำ ใบขาว ใบ ด่าง เหี่ยวเน่าแดง ฯลฯ ถ้าหากเห็นผิดปกติให้รีบขุดทำลาย หรือตรวจแมลง เช่นหนอนเจาะลำต้น ถ้าหากพบไข่ให้ทำลายไข่ ปล่อยแตนเบียนไข่ ถ้าพบหนอนให้ตัดต้นออก ถ้ากลายเป็นหนอนแล้วให้ปล่อยแตนเบียนหนอน
ถ้า หากปลูกและดูแลรักษาตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว คาดว่าอ้อย 1 ไร่ จะมีไม่ต่ำกว่า 10,000 ลำ ถ้า 1 มัด หนัก 20 กก. 1 ไร่จะได้ผลผลิต 20 ตัน
สรุป ขั้นตอนการปลูกอ้อยข้ามแล้งให้ได้ผล
ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ และเตรียมดินให้ลึกให้รากหยั่งลงไปหาน้ำและอาหารได้ พร้อมทั้งเตรียมดินให้ละเอียดให้ดินเก็บความชื้นได้ การ ปลูก ถ้าปลูกด้วยเครื่องปลูกจะเหมาะที่สุด ถ้าปลูกด้วยแรงคน เมื่อเบิกร่องแล้ว จะต้องวางท่อนพันธุ์ ปุ๋ยรองพื้น สับท่อนพันธุ์แล้วกลบให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน ใส่ปุ๋ยรองพื้นและแต่งหน้า ให้เพียงพอกับความต้องการของอ้อย ควบคุมวัชพืชให้ได้โดยไม่กระทบอ้อย และมีต้นทุนต่ำ ควบคุมโรคและแมลงไม่ให้ระบาดถ้าหากชาวไร่อ้อยมีการบริหารจัดการที่ดี มีปัจจัยการผลิตพร้อม ผลผลิตย่อมจะสูงขึ้นจากปัจจุบันอย่างแน่นอน
---------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น