วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปลูกอ้อย

การเตรียมดินปลูกอ้อย :

          การเตรียมดินปลูกอ้อยถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอ้อยมีระบบรากยาวประมาณ ๔-๘ เมตร และเมื่อปลูกแล้วสามารถรักษาไว้ได้หลายปี ฉะนั้นเกษตรกรจึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งการเตรียมดินที่ดีมีดังนี้

๑.การไถ
        ควรไถอย่าน้อย ๒ ครั้ง หรือมากกว่า โดยไถในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ให้ลึกอย่างน้อย ๒๐ นิ้วหรือมากกว่าเพราะจะช่วยให้รากหยั่งลึกแข็งแรงเจริญเติบโตดี ไม่หักล้ม สะดวกในการเก็บเกี่ยวในกรณีดินชั้นล่างเป็นดินดานต้องใช้ไถระเบิดดินดานด้วย นอกจากนี้เกษตรกรนิยมยกร่องปลูกอ้อย เพื่อสะดวกในการปลูกและดูแลรักษาโดย ให้มีระยะระหว่างร่องประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ควรเว้นทางเดินและทางระบายน้ำรอบแปลงอ้อยด้วย

๒.การปรับระดับพื้นที่และการแบ่งแปลงปลูกอ้อย
      จะช่วยป้องกันน้ำท่วมขังได้ โดย ขนาดของแปลงปลูกอ้อยที่เหมาะสม คือ มีขนาดกว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร หรือมีพื้นที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ส่วนวิธีการปรับระดับพื้นที่คือต้องไถหน้าดินมากองรวมกันแล้ว จึงค่อยปรับดินชั้นล่างให้ได้ระดับจากนั้นค่อยเกลี่ยหน้าดินให้เสมอทั่วทั้ง แปลง ทั้งนี้อาจมีการนำเครื่องจักรกลมาใช้เพื่อให้การปฎิบัติงานเกิดความสะดวก นรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ฤดูปลูกอ้อย :
ช่วงฤดูปลูกอ้อยที่เหมาะสมจะแบ่งตามเขตพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ
       ๑.เขตชลประทาน จะปลูกในช่วงระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม
       ๒.เขตน้ำฝน สามารถปลูกได้ ๒ ช่วง คือ
             - ต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน นิยมปลูกในพื้นที่ทั่วไป

            - ปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อย :

       พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงและมีความหวานสูงด้วย เกษตรกรควรมีความรู้เรื่องพันธุ์อ้อยพอสมควร โดยดูจากพันธุ์ที่มีปลูก ในท้องถิ่นหรือซื้อจากแหล่งพันธุ์ของทางราชการ เพื่อให้ได้อ้อยตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ หรือเกษตรกรอาจจะทำ แปลงผลิตพันธุ์อ้อยไว้ปลูกขยายของตนเองก็ยิ่งดี ซึ่ง การเตรียมท่อนพันธุ์อ้อยนั้น เกษตรกรจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

       ๑.พันธุ์อ้อยที่มีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ ๘-๑๐ เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง

      ๒.ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตา และเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก
๓.ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมี ๒ - ๓ ตา หรือจะวางทั้งลำต้นก็ได้
การวางแผนปลูกอ้อย
เมื่อมีการปลูกอ้อยไปแล้วครึ่งหนึ่งเกษตรกรสามารถไว้ตอได้ โดยปกติจะไว้ตอได้ ๒ ปี ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ ๓ ครั้ง จึงรื้อแปลงปลูกใหม่ ฉะนั้นจึงต้องวางแผนการปลูกอ้อยตามระยะการไว้ตอ ดังนี้

     ๑.วางแผนเรื่องพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยออกเป็นแปลง ๆ แต่ละแปลงจะปลูกอ้อยเพียง ๑ พันธุ์ แล้วเว้นที่บางแปลงไว้ปลูกพืชอายุสั้นที่ตลาดต้องการหมุนเวียน กับแผลงอ้อยที่จะรื้อปลูกใหม่เพื่อบำรุงดิน

   ๒.วางแผนเรื่องพันธุ์อ้อย ถ้ามีพื้นที่มากควรปลูกอ้อยหลายพันธุ์ที่มีช่องเวลาเก็บเกี่ยวต่างกัน และเกษตรกรควรมีความรู้เรื่องพันธุ์อ้อยพอสมควร จะได้เก็บเกี่ยวได้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผลผลิตและความหวานสูง นอกจากนี้ควรมีแปลงสำหรับขยายพันธุ์ของตนเองไว้เพื่อปลูกอ้อยในปีต่อไป การจัดทำแปลงพันธุ์อ้อยจะทำให้อ้อยตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ ปลอดโรคและแมลงเพราะมีการดูแลตลอดฤดูปลูก อัตราแปลงพันธุ์ ๑ ไร่ จะสามารถขยายพันธุ์อ้อยแล้วนำไปปลูกได้ ๕-๗ ไร่
๓.วางแผนการจัดการด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเตรียมพันธุ์อ้อย การจัดการด้านการปลูก การเตรียมแรงงาน การดูแลรักษา ตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตพันธุ์อ้อยที่นำมาปลูกควรจะแบ่งxxxส่วน เป็นพันธุ์เบาพันธุ์หนักตามxxxส่วนของพื้นที่ เพื่อสะดวกในการวางแผนการเก็บเกี่ยว

เทคนิคที่จะช่วยชาวไร่อ้อยให้สามารถเพิ่มผลผลิตของอ้อย

เทคนิคที่จะช่วยชาวไร่อ้อยให้สามารถเพิ่มผลผลิตของอ้อย ด้วยระบบการจัดการเป็นระบบคือ การปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยด ที่เพิ่มพูนผลผลิตอ้อยจากเดิม ที่เคยได้ไร่ละ 8-10 ตัน ต่อไร่ ก็เพิ่มขึ้นเป็น 15-18 ตัน ต่อไร่ โดยการปลูกอ้อยน้ำหยด ของคุณบุญสืบ กันศิริ อยู่บ้านเลขที่ 177 หมู่ที่ 13 ตำบลหนองโอ่ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (086) 171-4899

วิธีทำระบบน้ำหยด ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก จากเดิมที่เคยได้ผลผลิตเฉลี่ย 9-10 ตัน ต่อไร่ พอหันมาใช้ระบบน้ำหยด ก็เพิ่มผลผลิตมาเป็น 15-18 ตัน ต่อไร่ ส่วนต้นทุนระบบน้ำหยด อยู่ที่ 60,000 บาท ต่อ 1 ชุด อายุการใช้งานของระบบน้ำหยดนานประมาณ 2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา)

ส่วนต้นทุนต่อไร่ประมาณ 8,000 บาท ต่อไร่ (เป็นการรวมต้นทุนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ค่าต้นพันธุอ้อย ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงานทั้งหมด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น