วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความรู้ทั่วไป

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ EM

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร
                E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ
               จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
              เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ลักษณะการผลิต
                เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์
- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
                  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

การเก็บรักษาจุลินทรีย์
                  สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 องศาเซลเซียส ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกต
                    หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
-ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 
-มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
-ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้

ปลาปลาปลา

เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา

         กลับมาเจออีกครั้งกับนักเขียนที่ชอบสรรหาเรื่องราวต่างๆมาพัฒนาต่อมสมองอย่างไรก็ตาม ถ้าอ่านกันแล้วโดนใจคิดว่ามีสาระ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์ หวังว่าปีฉลู 2552 คงไม่เครียดกับเช่นปีที่ผ่านมากันนะครับเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้วบ้านเมืองคาดว่าน่าจะสงบสุขลงมาบ้างอะไรที่ปล่อยวางได้ก็ปล่อยๆกันไปบ้างนะครับพี่น้องสังคมก็จะเกิดผลดีตามมา เอาละครับ ช่วงของดีมีประโยชน์ในวันนี้ผมจะพาทุกท่านมาพบกับแวดวงสัตว์น้ำ ซึ่งนับว่าสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ ขั้นตอนการลำเลียงขนย้ายลูกปลาซึ่งผมได้มีประสบการณ์ไปลำเลียงด้วยตัวเองบ้างหรือพร้อมทีมงานบ้าง ทุกครั้งที่ลำเลียงมานั้นก็ได้ลุ้นกัน แทบทุกช็อตไม่ว่าระยะทางใกล้หรือใกลเริ่มตั้งแต่ จ.ตราด, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต, พังงา และ จ.กระบี่ เป็นต้น
ความประทับใจหลายๆแห่งที่ไปลำเลียงลูกปลามา ผู้หลักผู้ใหญ่ต่างต้อนรับกันด้วยดีตลอดโดยเฉพาะที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจ.กระบี่ ซึ่งเผอิญได้ไปลำเลียงลูกปลาค่อนข้างบ่อยที่สุดก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.กระบี่ ที่ท่านมีความเป็นกันเองคอยบริการและอำนวยความสะดวกรวมถึงเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทางผมและคณะไม่มีอะไรตอบแทนนอกจากนำกิจกรรมที่ ศพช.กระบี่มาบอกเล่า ให้คนทั่วไปได้ทราบว่า เขามีอะไรดีๆที่น่าดูน่าชมกันบ้าง ที่ได้ยกตัวอย่างศพช.กระบี่ เพราะว่าที่นี่เขาเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมกันฟรีๆ เข้าทางใช่ไหมล่ะ ขึ้นชื่อว่าของฟรีเริ่มดีแฮ๊ะ แต่เดี๋ยวก่อนอย่านึกว่าของฟรีไม่มีค่าอะไร คอนเฟิร์มของเค้าดีแถมมีคุณภาพ ไม่ว่าลูกพันธุ์ปลาการ์ตูนที่คอยเป็นพระเอกชูโรงเรียกให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งเทศฝรั่งมังค่าทั่วทุกสารทิศมาเที่ยวชม นอกจากนี้ยังมีปลาอีกมากมายหลายชนิด เช่น ปลากะรังจุดฟ้า, ปลากะรังหน้างอน, ปลาช่อนทะเล และปลาหมอทะเล หากใครสนใจจะนำไปเพาะเลี้ยงเขาก็มีบริการจำหน่ายด้วยนะครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ใช่ว่าศพช.กระบี่เขาศพช.กระบี่จ้างวานผมให้มาเขียน เปล่าเลยไม่มีค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น เพราะผมถือว่าหากเป็นสิ่งที่ดี และน่าสนใจมาบอกเล่าใครผ่านไปผ่านมาลองแวะไปเยี่ยมชมรับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวัง
ก่อนการขนย้ายลูกปลาเราควรต้องเตรียมตัวอย่างไร
ต้องไม่ลืมว่าก่อนลงมือทำงานอะไรทุกครั้งหากคุณเตรียมตัวมาดีก็คว้าชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เช่นเดียวกันการลำเลียงขนย้ายลูกปลาอุปกรณ์ที่จำเป็นในคราวต้องใช้ในการลำเลียง ไม่ว่าจะเป็นยวดยานพาหนะ ภาชนะสำหรับใส่ลูกปลา, เครื่องมือให้ออกซิเจน, น้ำที่ใช้ลำเลียง,และยาสลบเพื่อช่วยพักฟื้นในขณะการขนย้ายปลาต้องเตรียมให้พร้อม

การลำเลียงขนย้ายลูกปลาทั่วไปนิยมปฏิบัติ 2 รูปแบบ
1. การลำเลียงโดยภาชนะแบบเปิด วิธีการนี้เราใช้ภาชนะจำพวกพลาสติกหรือไฟเบอร์ แบบปิดฝาหรือเปิดฝาโดยสังเกตความเหมาะของสมขนาดปลาและควรต้องมีช่องเพื่อให้อ๊อกซิเจนหมุนเวียนเข้า – ออกได้โดย ส่วนใหญ่ใช้ลำเลียงลูกปลาคราวละมากๆ เช่น ลูกปลาขนาด 1-2 ซม. เราควรจะลำเลียง 3-5 ตัว/น้ำ 1 ลิตร วิธีนี้เหมาะสมกับการขนส่งระยะทางไกลๆจุดประสงค์เพื่อที่จะนำลูกปลาไปเลี้ยงอนุบาล หรือจำหน่ายลูกปลามีชีวิต
2. การลำเลียงโดยใส่ภาชนะแบบปิด ในปัจจุบันนิยมใช้ถุงพลาสติกค่อนข้างแพร่หลายข้อดีคือ สะดวกในขณะลำเลียง โดยเติมน้ำแล้วอัดออกซิเจนลงไปในภาชนะก่อนปิดปากถุง วิธีนี้เหมาะสมกับใช้ลำเลียงลูกปลาที่มีขนาดเล็กระยะทางไม่ไกลมากหรือบางครั้งแพ็คใส่กล่องโฟมขนส่งทางเครื่องบิน โดยใช้ยาสลบเป็นตัวช่วยพักฟื้นในขณะเดินทาง ยกเว้นลูกปลามีขนาดใหญ่ ขนาด 2-3 ซม. ควรลำเลียงปลา 1-2 ตัว/น้ำ 1 ลิตร ใน การลำเลียงขนย้ายปลาขนาดเริ่มโตนั้นเราควรต้องใช้ถังไฟเบอร์หรือแบบโลหะมีฝาปิดเจาะรูไว้ด้วยเพื่อได้หย่อนสายออกซิเจนลงไปในภาชนะลำเลียง
เมื่อทุกอย่างพร้อมที่จะลำเลียงอาศัยว่ามีประสบการณ์มาด้วยตัวเองและเห็นตัวอย่างจากที่อื่นๆมาบ้าง สิ่งเหล่านี้ต้องยึดถือปฏิบัติช่วงระหว่างในการลำเลียงลูกปลา ถ้าแก้ไขเองได้ก็แก้ไข หากไม่แน่ใจเราก็ควรติดต่อสื่อสารกับผู้มีประสบการณ์
ปัจจัยด้านอื่นๆ ที่จำเป็นและไม่ควรมองข้าม
- ก่อนการลำเลียงขนย้ายลูกปลาต้องงดอาหาร 24 ชม. ทั้งนี้ให้อาหารในกระเพาะอาหารถูกใช้จนหมดป้องกันลูกปลาจะขับถ่ายของเสียในขณะการลำเลียง
- ขนาดลูกสัตว์น้ำในขณะการลำเลียงต้องเลือกลูกปลาที่ขนาดใกล้เคียงกันเพื่อป้องกันลูกปลาจะกัดกินกันเองในขณะลำเลียง
- ภาชนะที่ใช้ลำเลียงเราต้องทราบด้วยว่าปลาที่เราจะไปลำเลียงเหมาะสมกับภาชนะลำเลียงแบบใด เช่น ลูกปลาหมอทะเลหรือลูกปลากะรังจุดฟ้า นิสัยจะตกใจและช๊อคตายโดยง่าย ดังนั้น การลำเลียงช่วงขึ้นหรือลงในภาชนะขณะลำเลียงเราต้องระมัดระวังกันพิเศษ
- อุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งเพราะว่าการลำเลียงลูกสัตว์น้ำหากเราควบคุมอุณหภูมิต่ำประมาณ15-23oC จะช่วยให้ลูกปลามีอัตรารอดตายมากขึ้น รวมถึงช่วงเวลาลำเลียงลูกปลาควรเป็นตอนเช้ามืดหรือช่วงเวลากลางคืน
- เครื่องให้อากาศเป็นสิ่งที่สำคัญที่ขาดเสียมิได้ ดังนั้น การลำเลียงพันธุ์ปลาแบบเปิดเราควรนำปั๊มไปสำรองไว้ เพื่อป้องกันหากเครื่องเสียจะได้สับเปลี่ยนได้ทันเวลา
- สัตว์น้ำบางชนิดก่อนการลำเลียงเราอาจใช้จำพวก ยาเหลือง, เกลือ, ยาสลบ หรือด่างทับทิม เพื่อทำลายเชื้อโรคและแบคทีเรียที่มักจะเกาะมาอยู่ที่ตัวสัตว์น้ำ
ในขณะการลำเลียงเราต้องหมั่นคอยตรวจเช็คแอร์ปั๊ม ท่อลม, สายยางแอร์ปั๊มข้อต่อหรือ หัวทรายว่าปกติดีพอหรือไม่บางครั้งอาจหลวมหรือหลุดในขณะการเดินทาง สามารถแก้ไขได้โดยทันท่วงที
เพราะว่าจากประสบการณ์การลำเลียงลูกพันธุ์ปลากะรังจุดฟ้ามาจาก จ.ตราด (ขนาด 1-2 ซม.) มายังสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา ต้องใช้ระยะเวลายาวนานถึง 22-24 ชม. ซึ่งทราบมาก่อนว่า การลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้าจากหน่วยงานที่อื่นนั้น เมื่อลำเลียงไปเพียง 2-3 ชม. ลูกปลาจะช็อคตาย 30-40% แต่ปรากฏว่า การลำเลียงลูกปลาของเรามาจาก จ.ตราด ในครั้งนี้ลูกปลาที่ลำเลียงตายประมาณ 10% ซึ่ง ถือว่าเป็นความสำเร็จที่น่าพอใจกับการลำเลียงลูกปลากระรังจุดฟ้าที่ขึ้นชื่อว่าตกใจและช็อคตายง่ายถ้ามีการลำเลียงขนส่งระยะทางไกล
การลำเลียงขนย้ายลูกปลาที่มีชีวิตไม่ว่าเราจะลำเลียงระบบเปิดหรือระบบปิด นับว่าสำคัญและเสี่ยงไม่น้อยไปกว่ากันดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงแทบทุกด้านต้องพร้อมใช้งานได้สิ่งกระผมกล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการลำเลียงลูกปลา เราซึ่งเปรียบเป็นหมอหรือพยาบาลในขณะนั้นจึงต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่องานได้รับมอบหมาย ประการสำคัญลูกปลายังมีชีวิตพร้อมท้าทายจะเป็นหรือตายขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแลของเราเอง เมื่อได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงๆแล้วผมเชื่อว่าคุณพร้อมจะเป็นมืออาชีพได้หรือไม่คำตอบจะบอกได้ในตัวของมันเอง ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆหากคิดว่าเราได้ทำเต็มที่และสุดความสามารถทุกอย่าง เริ่มลงมือปฏิบัติเชื่อว่าความสำเร็จจะตามมา



การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง

      ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าจะเลี้ยงในกระชัง ในระบบน้ำหมุนเวียนและในบ่อคอนกรีตก็ตาม การป้องกันและการสังเกตุปลาที่เลี้ยงเป็นแนวทางที่จำเป็นมากในการเลี้ยงปลา ที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาและเป็นผลดีต่อผู้เลี้ยงปลา ซึ่งการป้องกันและกำจัดสิ่งที่มารบกวนปลาก่อนที่จะมาถึงตัวปลาให้หมดหรือไม่หมดก็ได้ เพราะมันจะกลับมาอีก ถ้าไม่มีการสังเกต การป้องกัน เช่น ออกซิเจนต่ำ ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเป็นแผล ปลาตาย ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และการจัดการในเรื่องต่าง ๆ ในการเลี้ยงปลา ซึ่งถ้าไม่แก้ไขและป้องกันจะทำให้เสียหายมากขึ้น แต่ถ้ามีการสังเกต ป้องกัน แก้ไข และตัดไฟแต่ต้นลมก็จะลดการสูญเสียน้อยลง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ออกซิเจนต่ำ ออกซิเจนไม่พอเพียงสำหรับปลาหายใจ ปลากินอาหารมากและเวลาแช่ยาปลาที่เป็นโรค ออกซิเจนเป็นตัวช่วยให้ปลามีชีวิตอยู่ได้ และทำให้ปลาเจริญเติบโตดี ถ้าเลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ให้อาหารปลากินมาก ควรมีการเฝ้าระวังเป็นอย่างดี เพราะออกซิเจนจะต่ำช่วงไหนก็ได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการสังเกตและป้องกันตลอดระยะของการเลี้ยงปลา
ข้อสังเกต
อาการปลาที่ตายจากการขาดออกซิเจน ปลาอ้าปากและถ้าปลาเริ่มขาดออกซิเจนจะเริ่มลอยหัว ตัวดำเพราะปลาเครียดและถ้าพบอาการแบบนี้ต้องเพิ่มอากาศให้มาก โดยการติดตั้งแอร์ปั้มเพิ่มทันที หรือถ้าน้ำขุ่นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทันที
วิธีการป้องกันและไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นบ่อย ๆ ควรต้องมีการตรวจเช็คออกซิเจนเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขออกซิเจนต่ำ และเมื่อรู้ว่าบ่อไหนออกซิเจนต่ำก็จะทำการแก้ไขโดยการเพิ่มออกซิเจนให้ปลา โดยออกซิเจนควรจะอยู่ในช่วง 5 ขึ้นไปถึงจะดี และถ้าต่ำกว่า 4 ลงมาควรมีการเพิ่มปั้มลมไว้ก่อน เพื่อป้องกันปลาขาดออกซิเจน

2. ปลาไม่กินอาหาร ปลาลอยหัว ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ ปลาเป็นแผลและเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งเป็นอาการของปลาที่เลี้ยงและพบบ่อยในระบบน้ำหมุนเวียน และอาจจะสันนิฐานได้ว่าปลาที่เลี้ยงอาจจะเป็นโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นพวกปรสิตเกาะและถ้าพบอาการแบบนี้ในปลา 1-2 ตัว ให้ทำการป้องกันหรือสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง ซึ่งจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกทาง ถ้าไม่สังเกตอาการก่อนจะเกิดความเสียหายสูญเสียปลามาก ทำไมปลาลอยผิว ทำไมปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ และทำไมปลามารวมกลุ่มที่ออกซิเจน ซึ่งเหมือนกับหมอที่รักษาคนไข้ ต้องถามอาการและสังเกตคนไข้ก่อนจึงจะรักษาไข้ถูกวิธี แต่ปลาที่เลี้ยงเขาพูดไม่ได้ เราจึงต้องมีการสังเกตอาการปลาที่เลี้ยง เพื่อจะได้รักษาและป้องกันได้ถูกวิธีและไม่ลุกลามไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น
- ปลาเอาลำตัวถูกับพื้นบ่อ อาจมีหลายสาเหตุ เช่น จุดขาว ปรสิตเกาะซึ่งทำให้ปลาเป็นแผลและ
ติดเชื้อตาย
วิธีป้องกัน
- จะทำทันที่เมื่อพบเห็นอาการแบบนี้หรือถ้าเห็นปลาตายก็นำปลาไปตรวจก่อน แต่ต้องนำปลาที่
พึ่งตายหรือปลายังไม่ตายตรวจหรือจับปลามาขูดเมือกปลาไปตรวจดู บางครั้งอาจสุ่มทีละ 2-3 ตัว เพื่อให้แน่ใจว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้าพบก็ทำการรักษาและป้องกันไม่ให้ลุกลามมากขึ้น
- ปลาลอยหัวเกาะกลุ่มอยู่ที่ออกซิเจน ซึ่งต้องสังเกตให้ดีว่าปลาเกาะกลุ่มเป็นโรคหรือเกาะกลุ่ม
เพราะขาดออกซิเจน และปลาที่เกาะกลุ่มเป็นโรคอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนการทำงานของเหงือกปลา ทำให้ปลาใช้ออกซิเจนไม่เติมที่ และอาจจะทะยอยตายก็ได้
- เมื่อพบว่าปลาลอยหัวก็ให้นำปลาที่ลอยไปตรวจเช็คทันที

สีของน้ำที่เลี้ยงปลา
สีของน้ำจะทำให้ผู้เลี้ยงปลาสามารถสังเกตอาการของปลาที่เลี้ยงได้ดี เช่นน้ำใสเห็นตัวปลาทำให้เห็นอาการต่าง ๆ ของปลาสะดวก ซึ่งสามารถป้องกันและกำจัดได้ทันที และเมื่อใดสีของน้ำที่เลี้ยงขุ่น มีแพลงต์ตอนพืชอยู่เต็มระบบน้ำหมุนเวียนอาจทำให้ผู้เลี้ยงปลาสังเกตและป้องกันได้ยาก แต่ถ้าพบว่ามีแพลงต์ตอนพืชมากอาจมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรืออาจใส่โรติเฟอร์ลงไปในบ่อเพื่อให้โรติเฟอร์กินแพลงต์ตอนพืช หรืออาจมีการตรวจคุณภาพน้ำเป็นระยะเพื่อป้องกันเหตุต่าง ๆ ที่จะตามมา
การสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา แสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อน ที่จะสายเกินกาล
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อเลี้ยงในกระชัง เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตระบบการจัดการที่ดี จึงจะทำให้การเลี้ยงปลา ประสบความสำเร็จ
แนวทางการจัดการ
ควรมีการตรวจเช็ค คุณภาพของน้ำเป็นประจำ มีการตรวจโรคและบันทึก การตรวจโรคทุกครั้ง การตรวจโรคไม่จำเป็นต้องรอให้ปลาเป็นโรคหรือแสดงอาการก่อน วิธีการนำปลาตรวจโดยการสุ่มปลามาตรวจอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อป้องกันโรค เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเชื้อโรคจะมาตอนไหน และถ้าตรวจพบโรคดังกล่าวหรืออาการต่าง ๆ ที่ได้เห็นมานำมาวิเคราะห์ดูว่าปลาเป็นโรคอะไร มาจากสาเหตุอะไรจึงทำให้ปลาที่เลี้ยงอ่อนแอลง และเมื่อพบสาเหตุแล้วทำการรักษาทันที เพื่อตัดวงจรของโรคไม่ให้ลุกลาม และอีกประการหนึ่ง ถ้ามีการเลี้ยงปลาหนาแน่น ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องออกซิเจนอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะการรักษาปลาโดยวิธีแช่ยา 24 ชั่วโมง ควรมีการเพิ่มปั้มลมและการใช้ยารักษาควรใช้ให้ถูกกับโรคและไม่ควรใช้เกินขนาด เพราะอาจทำให้ปลาตายและทำให้ปลาโตช้าและแกรน
ในการเลี้ยงปลาแต่ละชนิดไม่ว่าปลาน้ำจืดหรือปลาน้ำเค็ม เลี้ยงในบ่อ เลี้ยงในกระชังในระบบน้ำหมุนเวียนควรจะมีการสังเกตพฤติกรรมปลาที่เลี้ยง จึงมีความสำคัญซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปลายังมีความสุขอยู่ดีหรือไม่ ถ้าปลาที่เลี้ยงมีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแสดงว่ามีสาเหตุที่ทำให้ปลาไม่มีความสุขอยู่ในบ่อปลา ควรจะต้องหาสาเหตุและแก้ไขก่อนที่จะสายเกินกาล ผมหวังว่า บทความนี้คงจะช่วยให้ผู้เลี้ยงปลา สามารถสังเกตพฤติกรรมของปลา วิเคราะห์หาทางแก้ไข ก่อนที่จะเสียหายมากนะครับ แล้วพบกันใหม่


การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
     การเลี้ยงปลาคือการนำปลามาเลี้ยงเพื่อจะได้จับเป็นอาหารหรือขายเป็นรายได้แก่ผู้เลี้ยง ซึ่งการเลี้ยงปลาจะทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากแผ่นดินและผืนน้ำได้มากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารเพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ และเนื้อปลายังมีโปรตีนสูงและย่อยง่ายอีกด้วย
ปัจจัยและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงปลา
1. ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม
ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้สะดวก ลักษณะของดินควรอุ้มน้ำได้ดี เช่นดินเหนียว ซึ่งบ่อเลี้ยงปลาควรขุดในพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ไม่ควรสร้างในที่ลาดเอียงมากหรือที่น้ำท่วมถึง และบ่อเลี้ยงปลาควรอยู่กลางแจ้ง และควรอยู่ใกล้บ้านจะได้ปลอดภัยจากขโมย และดูแลรักษาปลาได้สะดวก
2. การขุดบ่อปลา
- ขั้นแรกคือการวางผังหรือกำหนดเขตวางแนวบ่อปลาลงบนผืนดินที่เลือกแล้ว โดยกำหนดให้แต่ละด้านยาวประมาณ 14 เมตร โดยให้เป็นความยาวของบ่อด้านละ 10 เมตร ส่วนอีกด้านละ 2 เมตรเป็นขอบบ่อแต่ละด้าน จากนั้นให้ถางพื้นที่ให้ปราศจากต้นไม้ พุ่มไม้ และหญ้า ขุดตอและรากไม้ออกให้หมด
- ขุดดินผิวหน้าลึกประมาณ 20 ซม.ออกให้ทั่วบริเวณที่จะขุดบ่อปลาแล้วนำไปกองรวมไว้ด้านข้าง จากนั้นจึงทำการขุดบ่อปลาแล้วควรปรับก้นบ่อให้เรียบโดยปรับให้ลาดเอียงจากตื้นไปหาลึก บ่อข้างที่ตื้นควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณหัวเข่า ส่วนบ่อข้างที่ลึกควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณเอว จากนั้นนำดินผิวหน้าที่ขุดออกซึ่งกองอยู่ริมบ่อไปถมที่ขอบบ่อ ( กว้าง 2 เมตร ) สร้างให้เป็นคันบ่อ แต่ไม่ควรสร้างให้ขอบบ่อชันเกินไป แต่ควรทำให้เอียงลาดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขอบ่อ จากนั้นให้กระทุ้งดินที่ขอบบ่อให้แน่นเพื่อให้ขอบบ่อแข็งแรงเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำในบ่อและป้องกันการรั่วซึมของขอบบ่อ
- เมื่อขุดบ่อเสร็จแล้ว ในการระบายน้ำเข้าบ่อควรทำทางน้ำเข้าบ่อด้านน้ำตื้นให้ท่อระบายน้ำอยู่เหนือระดับน้ำในบ่อเพื่อระบายน้ำได้สะดวกและควรทำท่อระบายน้ำออกจากบ่อด้านน้ำลึกเพื่อป้องกันไมให้น้ำล้นบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ่อมากเกินไปซึ่งท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกนี้สามารถทำได้โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องมาใช้เป็นท่อระบายน้ำ
- เมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้วนำดินผิวหน้าที่ขุดกองไว้ไปตบแต่งคันดินแล้วปลูกหญ้าบนคันดินเพื่อป้องกันดินพังทะลายหรือถูกชะล้างไหลลงบ่อเวลาฝนตกหรือจะปลูกพืชผัก เช่น มะละกอ พริก มะเขือหรือมะพร้าวแทนหญ้าก็ได้

3. การระบายน้ำเข้าบ่อปลา
ทำได้โดยใช้ลำรางเล็กๆซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดและถ้าเป็นการระบายน้ำมาจากลำธารควรระมัดระวังอย่าให้ปลาชนิดอื่นติดมาด้วยซี่งสามารถป้องกันได้โดยใช้ตะแกรงตาถี่ขวางกั้นที่ปากท่อน้ำเข้าบ่อ และถ้าหากไม่มีตะแกรงตาถี่ก็สามารถใช้กับดักปลา เผือกไม้ไผ่ หม้อดินที่เจาะรูที่ก้น หรือกระป๋องนมที่เจาะรูที่ก้นใช้สวมที่ท่อไม่ไผ่
4. การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา
เป็นการช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาในบ่อซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยสร้างเป็นคอกเล็กๆไว้ริมขอบบ่อด้วยไม่ไผ่หรือไม้อื่นๆที่ขอบบ่อด้านน้ำตื้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในคอกที่เตรียมไว้ ต่อมาน้ำในบ่อก็จะเป็นสีเขียวแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเพิ่มขึ้นวึ่งจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเพื่อรักษาน้ำในบ่อปลาให้เขี้ยวอยู่เสมอให้ใส่ปุ๋ยในคอกหนึ่งถังทุกสัปดาห์ ซึ่งการทำปุ๋ยคอก มีวิธีการทำดังนี้
- เตรียมกองปุ๋ยคอกไว้ใกล้ๆบ่อปลาให้อยู่ในที่ร่ม จะได้ไม่เปียกฝน
- การทำปุ๋ยคอกให้เตรียมเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเป็นพวกหญ้า หรือใบไม้ ผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้เปียกกชุ่มเพื่อช่วยให้หญ้าและใบไม้เน่าสลายตัวเร็วขึ้น
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นของมูลสัตว์โดยผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดินแล้วรดด้วยน้ำให้เปียกชุ่ม ส่วนมูลสัตว์ที่ใช้ได้จากสัตว์หลายชนิด เช่น หมู ไก่ เป็ด แกะ แพะ วัว ควาย ในกรณีที่หาข้อมูลยากอาจใช้เมล็ดฝ้าย ผลไม้เน่าเสีย ขยะจากบ้านเรือน ขี้เถ้า หรืออุจจาระมนุษย์แทนได้
- ชั้นถัดมา และชั้นของหญ้าและใบไม้และชั้นของฒูลสัตว์สลับกันไปจนได้ขนาดของกองปุ๋ยตามต้องการ
- จากนั้นรักษากองปุ๋ยคอกให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยรดน้ำ 2-3 วันแล้วปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวไปเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน และเวลาจะใช้ให้โกยปุ๋ยคอกจากชั้นล่างหรือส่วนที่สลายตัวมากที่สุดนำไปใส่ในบ่อปลา จากนั้นก็ให้เพิ่มปุ๋ยในกองปุ๋ยทุกสัปดาห์จะได้มีปุ๋ยใช้อย่างสม่ำเสมอ
การปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อควรจะมีการเตรียมลูกพันธุ์ปลาให้พร้อม ซึ่งอาจจะหาได้จากแหล่งเลี้ยงปลาอกชนหรือสถานีประมง ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงไม่ควรปล่อยหนาแน่นกเกินไป เพราะปลาจะโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าที่ควร และถ้าหากต้องการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมง
ในการปล่อยปลาควรตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำในบ่อปลาปละน้ำจากถุงลำเลียงปลาไม่ควรแตกต่างกันจนเกินไป ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยใช้มือข้างหนึ่งจุ่มในน้ำที่บรรจุลูกปลาอีกข้างจุ่มลงในบ่อเลี้ยงปลา และในการปล่อยควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะที่บรรจุลูกปลาจนกระทั้งน้ำมีอุณหภูมิเท่ากัน ไม่ควรเทปลาจากภาชนะลงในบ่อโดยตรง

การให้อาหารปลา

ในการเลี้ยงปลาควรให้อาหารปลาวัน ซึ่งปลาสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง เช่น

- หยวก

- ใบมันสำปะหลัง และกากมันสำปะหลัง

- กากเมล็ดพืช เช่น กากถั่ว

- รำ

- ข้าวสุก

- พืชผักต่างๆ

- เลือดสัตว์-เครื่องในสัตว์

- ผลไม้เน่า

- เศษอาหาร

และในการอาหารปลาควรให้ในบริเวณบ่อด้านที่ตื้นจะได้สังเกตเห็นปลากินอาหารได้สะดวก และควรให้อาหรมากพอที่ปลาจะกินหมดในแต่ละครั้งไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ถ้าปลาสุขภาพดีปลาจะกินอาหารได้มากและรวดเร็ว และถ้าปลากินอาหารไม่หมดควรลดปริมาณอาหารที่ให้ในวันถัดไปแต่ถ้าแลากินอาหารหมดอย่างรวดเร็วควรเพิ่มอาหารอีกเล็กน้อยในวันถัดไปและอย่าลืมเติมปุ๋ยคอก 1 ถัง ทุกสัปดาห์ลงในคอกที่เตรียมไว้ริมบ่อ

การดูแลรักษาบ่อ
ในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด
การจับปลา
อย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้



แนวทางการเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน

การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลาร่วมกับปลานั้น เกษตรกรในประเทศไทยและต่างประเทศได้ปฏิบัติกันมานานแล้ว เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่นฮังการี ประเทศเหล่านี้ต่างยอมรับว่า ระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บกที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่ง

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มที่ ที่ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด
เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเช่น มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดีการนำเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกเป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้าเหลือก็สามารถนำออกจำหน่าย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่า การเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน ในการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี

ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์จะพบว่ามีสอง ลักษณะคือ
แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลาโดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นโตเร็วและต้านทานโรคได้ดีทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้นโรงเรือนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์เล็ก เช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น
แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสานโดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่าเพราะประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นควรใช้แบบที่สอง

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
การเลี้ยงผสมผสานแบบนี้ มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด คือใช้มูลไก่เป็นอาหารของปลาที่เลี้ยง หรือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตของอาหารธรรมชาติและเป็นอาหารของปลาอีกทอดหนึ่ง


ลักษณะบ่อปลาและเล้าไก่
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่นั้นใช้บ่อดินที่มีลักษณะเดียวกับบ่อเลี้ยงปลาโดยทั่วไปควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1-1.50 เมตร ในช่วงที่มีการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่
เล้าไก่ ซึ่งเป็นอาคารและโรงเรือนควรสร้างคร่อมบ่อที่เลี้ยงปลา เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเหมาะสมเมื่อไก่ที่เลี้ยงถ่ายมูลหรือเศษอาหารตกลงในบ่อเป็นประโยชน์ต่อปลาโดยตรง โดยมิต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดเป็นการตัดภาระในด้านค่าใช้จ่าย สำหรับรูปร่างของเล้าไก่นั้นก็ควรสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน พื้นเล้าไก่สูงกว่าระดับผิวน้ำในบ่อเฉลี่ย 1.20 เมตร
แบบตั้งบนบ่อปลา ปลาจะได้รับอาหารที่ไก่เขี่ยกระเด็นออกมาเป็นอาหารโดยตรง และได้รับอาหารจากมูลไก่ที่ย่อยไม่หมด ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นปุ๋ยให้เกิดแพลงก์ตอนในบ่อต่อไป ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยสามารถลดปริมาณอาหารสมทบหรือไม่ต้องลงทุน ลดแรงงานและเวลาในการหาอาหารให้ปลา ไม่ต้องทำความสะอาดในเล้า
ส่วนเล้าไก่ที่สร้างบนพื้นดินนั้น มูลไก่และเศษอาหาร จะตกลงที่พื้นดินใต้เล้าหากทิ้งไว้นานคุณค่าอาหารจะเปลี่ยนไป เพิ่มงานและเสียเวลาเพื่อขนถ่ายมูลไก่ไปลงบ่อปลา สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ทั้งยังสามารถควบคุมให้ปริมาณปุ๋ยในบ่อไม่มากเกินไปได้โดยการทยอยใส่ปุ๋ยลงในบ่อ ในกรณีพื้นที่นั้นมีปริมาณน้ำที่จะใช้น้อย เช่น ปีหนึ่งมีน้ำเพียง 8 เดือนอย่าสร้างเล้าไว้บนบ่อ


ทิศทางและตำแหน่งที่ตั้งเล้าไก่
การสร้างเล้าไก่ควรหันให้ด้านยาวของเล้าหันในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เพื่อไม่ให้แสงแดดส่องเข้าในเล้าโดยตรงนานเกินไปในช่วงสาย ๆ และบ่าย ๆ แต่ถ้าไม่สามารถหันได้ตามทิศทางดังกล่าวและด้านยาวจำเป็นต้องหันไปทิศเหนือ-ใต้ ก็จะต้องทำชายคาให้ต่ำลงมาบังแสงได้เพียงพอ

ขนาดและลักษณะเล้าไก่
เล้าไก่ควรเป็นแบบเปิดและอยู่กลางแจ้ง เพื่อจะได้รับแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศจากธรรมชาติ ปกติแล้วเล้าจะปลูกสร้างเป็นแถวเดียว มีหลังคาเป็นแบบจั่ว มีความยาว 6-8 เมตร และมีความสูง 3.0 เมตร แต่ละห้องแบ่งขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 40 ตารางเซนติเมตร เลี้ยงไก่ได้จำนวน 800 ตัว ส่วนความกว้างของเล้าจะขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เพิ่มขึ้น เล้าไก่ควรมีอัตราส่วนช่องหน้าต่างต่อเนื้อที่พื้นเล้าเท่ากับ 1:8 - 1:10 เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี พื้นเล้าสูงจากระดับน้ำบ่อปลาประมาณ 1.0 - 1.50 เมตร

วิธีการเลี้ยงไก่ร่วมกับการเลี้ยงปลาแบบการค้า
สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจจะเลี้ยงไก่ผสมผสานกับเลี้ยงปลาให้เป็นการค้าควรจะเตรียมการและวางแผนการเลี้ยงล่วงหน้าไว้ดังนี้
วางแผนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปลาให้พอดีกับฤดูแล้งซึ่งปลาจะมีราคาดี
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาและไก่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูที่มีโรคระบาด
ตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเลี้ยงไก่และชนิดปลาที่จะเลี้ยง
1 รูปแบบผสมผสานที่ 1 เลี้ยงไก่เนื้อกับปลานิล ปลาสวาย ปลาจีน
2 รูปแบบผสมผสานที่ 2 เลี้ยงไก่เนื้อ 2 รุ่นกับปลาดุกบิ๊กอุย
3 รูปแบบผสมผสานที่ 3 เลี้ยงไก่ไข่กับปลานิล
ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมบ่อดินและโรงเรือนไก่ให้เสร็จเรียบร้อยในฤดูแล้งเพื่อความสะดวกใน

การทำงาน มีขั้นตอนดังนี้
บ่อเก่า ให้ล้างบ่อโดยสูบน้ำจับปลาเก่าออกให้หมด และขุดลอกเลนบางส่วนออกโดยให้คงเหลือไว้ 10-20 เซนติเมตร โรยปูนขาวอัตรา 40-60 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง
ขุดบ่อใหม่ ควรเปิดน้ำลงบ่อให้พอแฉะ ๆ โรยปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ ตากบ่อให้แห้ง
เปิดน้ำลงบ่อให้ผ่านมุ้งไนลอนตาถี่ เพื่อป้องกันปลากินเนื้อที่อาจหลุดเข้ามาได้
บริเวณท่อน้ำเข้าให้กองปุ๋ยคอกไว้ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
เปิดน้ำเข้าบ่อให้มีระดับ 30 เซนติเมตรแล้วปิดน้ำ พักบ่อไว้จนน้ำในบ่อกลายเป็นสีเขียว
เปิดน้ำเข้าบ่ออีกครั้งให้ได้ระดับลึก 1.0 - 1.20 เมตร ควรปักไม้ไว้วัดระดับน้ำ
เมื่อน้ำในบ่อเป็นสีเขียวดีแล้ว ก็สามารถจัดหาพันธุ์ลูกไก่มาเริ่มเลี้ยงบนเล้าได้

อัตราส่วนจำนวนไก่และขนาดบ่อปลา
อัตราส่วนจำนวนไก่ประเภทต่าง ๆ ต่อพื้นที่บ่อทุก ๆ 1 ไร่ โดยตั้งเล้าไว้บนบ่อปลา




ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ควบคู่กับการปล่อยปลา

        การนำลูกไก่มาเลี้ยงควรเริ่มหลังจากเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสีเขียวดีแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้มูลไก่ตกลงสู่บ่อปลา ซึ่งลูกปลาที่เพิ่งปล่อยและอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ลูกปลาจะได้กินเป็นอาหารอย่างต่อเนื่อง
การเลี้ยงไก่ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้อัตราการรอดตายสูงที่สุด หากไก่มีอัตรารอดสูงนอกจากผู้เลี้ยงจะไดรับกำไรจากไก่สูงแล้วผลผลิตปลาก็จะสูงตามไปด้วย
อาหารและมูลไก่ในช่วง 5 สัปดาห์แรกนี้ จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงต่อลูกปลา ลูกปลาจะสามารถกินมูลไก่ได้โดยตรง
การเลี้ยงปลาสามารถเริ่มเลี้ยงไปพร้อม ๆ กันกับการเลี้ยงไก่
ควรเลือกลูกปลาที่มีลักษณะแข็งแรง ขนาดไล่เลี่ยกัน ขนาดปลาที่จะใช้เลี้ยงเริ่มต้นควรเป็นลูกปลาตัวโตเพื่อให้ได้อัตรารอดตายที่สูง ขนาดของลูกปลากินพืชและปลาที่กินอาหารไม่เลือก ควรเป็น 2 นิ้ว และขนาดลูกปลาดุกควรเป็น 1 นิ้ว

อาหารและการให้อาหาร
ในการเลี้ยงแบบผสมผสานกับการเลี้ยงไก่นั้น โดยปกติถ้าจัดอัตราส่วนที่เลี้ยงให้เหมาะสมต่อกันแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เพราะปลาได้อาศัยกินมูลไก่และเศษอาหารที่ไก่กินตกหล่นไปในบ่อ และอาหารธรรมชาติอื่น ๆ เพียงพอ เช่น แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ตลอดจนตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง ฯลฯ
ส่วนในระยะแรกที่ปล่อยพันธุ์ปลาเลี้ยงในบ่อนั้นลูกปลายังมีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และไม่คุ้นเคยกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหาร ดังนั้น จึงควรใช้รำข้าวละเอียดโดยโปรยให้ลูกปลากิน หรือให้อาหารผสม เช่น ปลายข้าวต้มผสมรำและปลาป่น ปั้นเป็นก้อนโยนให้ปลากิน หรือจะใช้อาหรที่มีราคาถูก เช่น กากถั่ว หรือเศษอาหารจากภัตตาคารก็ได้ ปริมาณอาหารสมทบที่ให้ควรลดลงตามลำดับและงดเมื่อปลาที่เลี้ยงโตขึ้นและคุ้นกับมูลไก่ที่ใช้เป็นอาหารแล้ว

การจับปลาจำหน่าย
ในกรณีที่เลี้ยงปลานิลกับไก่นั้น จะต้องคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกจำหน่ายเมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 4-5 เดือน เพราะปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูกและเพิ่มอัตราความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้ปลาส่วนใหญ่ไม่เจริญเติบโตหรือแคระเกร็น การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ข่ายไนลอนขนาดช่องตา 6-8 เซนติเมตร ในช่วงตอนบ่ายกำหนดเวลาให้พอเหมาะกับเวลาที่จะนำปลาไปจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อในตลาด การคัดจับปลานิลต้องปฏิบัติเป็นประจำสำหรับบ่อขนาดใหญ่เนื้อที่ตั้งแต่ 3-5 ไร่ส่วนการเลี้ยงปลานิลกับปลาสวายหรือในการเลี้ยงปลาแบบรวม เมื่อเลี้ยงปลาเป็นเวลา 6-8 เดือน ก็ควรจะใช้อวนขนาดใหญ่คัดจับปลาที่มีขนาดโตออกจำหน่ายเสียบ้างเพื่อลดอัตราความหนาแน่น และทำการวิดน้ำจับปลาทั้งหมดเมื่อเลี้ยงปลาครบรอบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น
การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด
ประโยชน์ที่สำคัญซึ่งได้รับจากการเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลา ได้แก่ การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ด จะให้คุณประโยชน์หลายประการ อาทิ
มูลเป็ดเป็นปุ๋ยช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา
อาหารที่ใช้เลี้ยงบางส่วนเมื่อตกหล่นลงไปในน้ำ ปลาจะกินเป็นอาหารโดยตรง หรือมีเศษเหลือบางส่วนกลายเป็นปุ๋ย
เป็ดช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การเล่นกันของเป็ดตามผิวน้ำในบ่อปลา
เป็ดจะช่วยกำจัดหอย ซึ่งเป็นพาหะของโรคพยาธิ เช่น หอยคัน ซึ่งเป็นปัญหาในด้านสุขอนามัยของประชาชน
ในกรณีเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลานิล เป็ดจะคอยควบคุมประชากรของปลานิลให้อยู่ในลักษณะสมดุล ทำให้ปลาที่เลี้ยงเติบโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ

การสร้างเล้าเป็ด
การสร้างเล้าเป็ดควรใช้วัสดุพื้นบ้านซึ่งสามารถหาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่และแฝกหรือจากสำหรับมุงหลังคา ขนาดของเล้าขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง แต่ควรมีเนื้อที่ของเล้า 1 ตารางเมตรต่อเป็ด 5 ตัว ถ้าเลี้ยงเป็ดจำนวน 30 ตัว เล้าเป็ดควรมีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางเมตร ส่วนความสูงของเล้าเป็ดควรสูงพอที่จะเข้าไปเก็บไข่และทำความสะอาดได้สะดวก สามารถกำบังฝนและแดดได้ดี และมีการถ่ายเทอากาศได้ดี นอกจากนี้เล้าเป็ดควรมีประตูเพื่อที่จะขังเป็ดไว้ในเล้าได้ในเวลากลางคืน
พื้นเล้าเป็ดควรจะตีไม้ให้มีระยะห่างกันพอสมควร หรือห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อให้มูลเป็ดตกลงสู่บ่อได้ แต่ไม่ควรกว้างมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็ดเดินไม่สะดวก และไข่เป็ดอาจจะหล่นลงไปในบ่อได้ นอกจากนี้ ควรมีชานหรือสะพานทอดลงสู่น้ำ เพื่อให้เป็ดขึ้นลงจากเล้าได้สะดวก

อัตราส่วนจำนวนเป็ดที่เลี้ยงกับขนาดของบ่อปลา
พันธุ์เป็ดที่นำมาเลี้ยง ควรเป็นเป็ดพันธุ์ไข่ จะดีกว่าเป็ดพันธุ์เนื้อ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับประทานอาหารโปรตีนอย่างสม่ำเสมอ
ไข่เป็ดที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำไปจำหน่ายได้ง่ายกว่าจำหน่ายเป็ดทั้งตัว
ถ้าเลี้ยงเป็ดไข่ เป็ดจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 5 เดือนไปจนกระทั่งมีอายุ 1 ปี จึงคัดเป็ดที่ไม่
ให้ไข่ออกไป รวมเวลา 18 เดือน แล้วปลดระวาง ส่วนการเลี้ยงเป็ดเนื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่อาจมีความยุ่งยากพอสมควร
ส่วนเป็ดพันธุ์ไข่นั้นมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์กากีแคมเบล อินเดียรันเนล เป็ดพันธุ์ลูกผสม
จากปากน้ำหรือนครปฐม สำหรับพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ พันธุ์กากีแคมเบล ซึ่งให้ไข่จำนวนมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ
จำนวนเป็ดสูงสุดที่ควรใช้เลี้ยงในบ่อคือ 240 ตัวต่อเนื้อที่บ่อขนาด 1 ไร่ สำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร ควรปล่อยเป็ดอัตรา 30 ตัวต่อบ่อ (ถ้าต้องการเพียงให้มีผลผลิตใช้เพียงพอแก่การใช้บริโภคของสมาชิกในครัวเรือนทุก ๆ วัน) จำนวนเป็ดจะลดลงเหลือเพียง 10 ตัวสำหรับบ่อขนาด 200 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหารเป็ด
ลูกเป็ดที่ซื้อมาเลี้ยง จะเป็นเป็ดที่มีอายุประมาณ 1 วัน ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพสูงเลี้ยงลูกเป็ดในระยะนี้ จนกระทั่งลูกเป็ดอายุครบ 1 เดือน จึงให้อาหารสำหรับเป็ดไข่ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้
ปลายข้าว 50% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 100 กก.)
รำข้าวละเอียด 30% หรือ 1 กระสอบ (น้ำหนัก 60 กก.)
หัวอาหาร 20% หรือ 1 ถุงครึ่ง (น้ำหนัก 45 กก.)
พันธุ์ปลาที่เลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดพันธุ์ปลาที่เหมาะสมเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงเป็ดนั้นควรเป็นพันธุ์ที่กินอาหารไม่เลือกหรือกิน
แพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาช่อน โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะหลบหนีจากการถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ จำนวนปลานิลขนาด 5 เซนติเมตร 3,000 ตัวต่อไร่ ถ้าเป็นปลาขนาด 3 เซนติเมตร ควรเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีกหนึ่งเท่าตัวต่อเป็ดไข่ที่เลี้ยง 240 ตัว
การเลี้ยงเป็ดร่วมกับปลาสวายนั้น ควรปล่อยเป็ดลงในบ่อหลังจากเลี้ยงปลาสวายประมาณ
2 เดือน ปลาจะมีขนาดโตพอดีที่เป็ดไม่สามารถกินเป็นอาหารได้การปล่อยเป็ดลงในบ่อปลาช่วยกินพวกพืชเล็ก ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น สาหร่าย จอก แหน ตลอดจนสัตว์เล็ก ๆ เช่น หอย ปู ปลาเล็ก ๆ ในส่วนที่ปลาได้รับประโยชน์จากเป็ดก็คือ ปลาสามารถกินของเสียจากเป็ดเป็นอาหารได้ และมูลเป็ดที่ปลากินไม่หมดจะเป็นปุ๋ยให้กับพวกจอก แหน หรือวัชพืช เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมาก็จะเป็นอาหารให้แก่ปลาและเป็ดต่อไป

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสุกร
การเลี้ยงปลาร่วมกับสุกร ได้มีมานานแล้ว ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาจีน ปลาไน ปลานิล
โดยสร้างคอกสุกรบนคันบ่อ มูลสุกรก็จะถูกชะล้างลงสู่บ่อปลาก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อปลา ซึ่งจะกลายเป็นอาหารแก่ปลาอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้มูลสุกรบางส่วนยังเป็นอาหารแก่ปลาได้โดยตรงอีกด้วย

ประโยชน์ของการใช้มูลสุกรในบ่อปลา
เป็นอาหารของปลาสวายโดยตรง ลดต้นทุนการผลิตปลาสวายลงอย่างมาก เศษมูลสุกรที่เหลือบางส่วนในน้ำเป็นต้นกำเนิดลูกโซ่อาหารธรรมชาติแก่ปลาชนิดอื่น ๆ
ทำให้เล้าสุกรสะอาดและความร้อนลดลง
ปริมาณก๊าซแอมโมเนียลดลง หรือหมดไป
ปริมาณแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรคของคน และสัตว์ลดลง
ไม่มีมูลสุกรตกค้าง หรือระบายลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลให้เกษตรกรรายอื่นได้รับความเดือดร้อนในการใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้น
ลดอัตราการแพร่กระจายของพยาธิภายใน อันเกิดจากการติดต่อทางมูลสุกร
ช่วยกำจัดแหล่งเพาะเชื้อที่จะเกิดจากมูลสุกร เช่น แบคทีเรีย และไวรัส
โดยส่วนรวมแล้วสุขภาพของสุกรแข็งแรงขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคสัตว์

การสร้างคอกสุกรและอัตราส่วนการเลี้ยงต่อคอก
การสร้างคอกสุกรแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
สร้างบนคันบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ด้านขวาของคันบ่อ เว้นที่ไว้ให้กว้างพอเหมาะโดย
สร้างคอกและโรงเรือนเป็นรูปทรงหลังคาหน้าจั่ว ถ้าเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ก็สร้างโรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 25 เมตร ส่วนกลางของอาคารเว้นเป็นช่องทางเดิน กว้าง 1-1.5 เมตร พื้นคอกเป็นซีเมนต์ สร้างให้ลาดเอียงลงสู่บ่อทั้งสองด้าน พื้นที่ภายในทั้งสองด้านแบ่งเป็นคอกกว้าง 4x4 เมตร ยาวเรียงติดต่อกันไป ตลอดแนวตามความยาวของอาคาร มีรางอาหารและที่ให้น้ำอัตโนมัติ 2 ราง คอกดังกล่าวเลี้ยงสุกรขุนได้คอกละ 10 ตัว หรือลูกสุกร 30 ตัว สำหรับปัสสาวะและมูลสุกรจะถูกกวาดล้างลงบ่อทางรางส่วนลาดต่ำของพื้นซีเมนต์
ในกรณีที่เลี้ยงสุกรมากกว่าอัตราส่วนของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาจะต้องสร้างถังรวบรวมปัสสาวะไว้ก่อนปล่อยลงบ่อ โดยใช้ถังทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร วางซ้อนกัน 3-4 ลูก เชื่อมติดกันให้แน่นด้วยซีเมนต์ฝังลึกทางปลายรางเพื่อรองรับปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อปลา ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการตักน้ำไปใช้เป็นปุ๋ย สำหรับนาข้าว พืชผัก สวนผลไม้ สวนครัว ฯลฯ ผลดีของถังรวบรวมปัสสาวะและมูลสุกรก่อนปล่อยลงบ่อก็คือ ปัสสาวะของสุกรที่ถ่ายใหม่ ๆ จะประกอบด้วยกรดต่าง ๆ ดังนั้นการพักชั่วคราวทำให้ไม่มีอันตรายต่อปลาและเป็นประโยชน์ต่อแพลงก์ตอนพืชในน้ำได้ทันที นอกจากนี้ การหมักมูลสุกรพร้อมเศษอาหารเหลือจะช่วยเพิ่มวิตามินและสิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นประโยชน์ต่อปลาด้วย
สร้างคอกลงบนบ่อปลา โดยเลือกพื้นที่ด้านใดด้านหนึ่งที่เหมาะสม พื้นคอกใช้ไม้จริงเนื้อแข็งหรือไม้ตาลตะโนด พื้นคอกมีช่องเล็ก ๆ ซึ่งสามารถจะกวาดและชะล้างทำความสะอาดให้มูลสุกรและเศษอาหารตกหล่นลงสู่บ่อได้สะดวก ส่วนขนาดคอกแบ่งเป็นคอกเลี้ยงสุกรได้คอกละประมาณ 10 ตัวเช่นเดียวกัน การสร้างคอกแบบดังกล่าว จำเป็นจะต้องพิจารณาจำนวนสุกรที่เลี้ยงให้สัมพันธ์กับขนาดของบ่อปลาด้วย ถ้าเลี้ยงสุกรจำนวนมากเกินกว่าขนาดของบ่อปลาก็จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย เพราะปัสสาวะและมูลสุกรถ่ายลงในบ่อโดยตรง

อัตราส่วนจำนวนสุกรกับขนาดของบ่อปลา
โดยทั่วไปพบว่า การเลี้ยงสุกร 8-16 ตัว พอเหมาะกับบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1 ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดปลาที่เลี้ยงด้วย ในขณะที่สุกรมีขนาดเล็กการขับถ่ายมูลและปัสสาวะมีไม่มากเพียงพอกับปลาที่จะเลี้ยงในบ่อ บ่อขนาด 1 ไร่ จะปล่อยปลาขนาด 3-5 เซนติเมตรประมาณ 3,200 ตัว ดังนั้นขณะที่สุกรยังเล็กอยู่จำเป็นต้องให้อาหารสมทบราคาถูก เช่น รำข้าว เศษอาหารเหลือ เศษพืชผัก ฯลฯ แก่ปลาที่เลี้ยงด้วย หรือในขณะที่สุกรยังเล็กก็เพิ่มจำนวนสุกรให้มากขึ้น เพื่อให้มีสิ่งขับถ่ายเพียงพอและเมื่อสุกรโตขึ้นมีขนาดเฉลี่ยตัวละ 50 กิโลกรัมขึ้นไป อัตราส่วนสุกร 16 ตัวจึงเหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 ไร่
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมจะเลี้ยงร่วมกับสุกร
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงร่วมกับสุกร พิจารณาในด้านชีววิทยาและนิเวศน์วิทยา ตลอดจนการตลาด ควรเลี้ยงปลานิลและปลาสวาย เพราะเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมและคุณสมบัติของน้ำเกี่ยวกับปริมาณของออกซิเจนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงกลางวันและกลางคืน ดังนั้นจึงสามารถปล่อยเลี้ยงในอัตราหนาแน่นสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด
นอกจากปลานิลและแลาสวายที่ใช้เป็นหลักในการเลี้ยงร่วมกับสุกรแล้ว อาจปล่อยปลาประเภทกินแพลงก์ตอน เช่น ปลาไน ตะเพียนทอง ยี่สกเทศ ปลาซ่ง ลิ่น หรือนวลจันทร์เทศ เลี้ยงรวมได้อีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียนขาว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงรวมด้วยจะมีอัตราการรอดตายต่ำ

พันธุ์สุกรและอาหารที่ใช้เลี้ยง
เนื่องจากการเลี้ยงสุกรมักประสบปัญหาการขาดทุนเกี่ยวกับราคาตกต่ำ ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ ผลผลิตต่ำไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องมาจากพันธุ์สุกรที่เลี้ยงและคุณภาพของอาหารไม่เหมาะสม ดังนั้นในเรื่องพันธุ์สุกรควรใช้พันธุ์ลูกผสม 3 หรือ 4 สายเลือด (ลาร์จไวท์ + แลนด์เรซ + ดูรอค + เพียนเทียน) ขนาดเริ่มต้นเฉลี่ยตัวละ 10 กิโลกรัม ซึ่งจะต้องผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ มาแล้ว ส่วนพันธุ์ผสมระหว่างสุกรพันธุ์แท้กับพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ก็ใช้ได้ แต่ราคาที่จำหน่ายได้อาจไม่ดีเพราะคุณภาพของเนื้อไม่ได้มาตรฐาน ในแง่ดีก็คือ ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร เพราะสุกรลูกผสมพื้นเมืองกินอาหารไม่เลือก และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าลูกผสมพันธุ์แท้
ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะผสมขึ้นใช้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และซื้อหัวอาหารมาผสมเองก็ได้
สูตรอาหารสุกร
ใช้อาหารพื้นบ้านประเภทรำข้าว ปลายข้าว ปลาป่นผสมหัวอาหาร ในส่วนของปลายข้าวอาจใช้มันสำปะหลังทดแทนได้บางส่วนตามความเหมาะสม เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร โดยมีปริมาณโปรตีนตามขนาดของสุกรที่เลี้ยง ดังนี้
สูตรอาหารสุกร
สุกรขุน 14%
สุกรเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ 13%
สุกรก่อนคลอดมากกว่า 14%
สุกรหลังคลอด 14%

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ในบ่อปลาซึ่งเลี้ยงปลานิลชนิดเดียว ภายหลังที่เลี้ยงปลามาแล้ว 4-5 เดือน ก็ควรจะได้ใช้อวนตาห่างหรือข่ายไนลอนชนิดช่องตา 6-8 เซนติเมตร ทยอยคัดจับปลานิลออกจำหน่าย เพื่อลดอัตราความหนาแน่น ส่วนปลานิลขนาดเล็กถ้ามีมากควรใช้อวนตาถี่จับขึ้นมาตากแห้งแล้วบดผสมเป็นอาหารปลา หรือจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ต้องการนำไปเลี้ยง ซึ่งวิธีหลังนี้จะทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงดีกว่า
ส่วนบ่อที่เลี้ยงปลานิลกับปลาสวาย ควรใช้อวนตาห่างคัดจับปลานิลขนาดใหญ่ออกเป็นครั้งคราว และจับปลาทั้งหมดเมื่อปลาสวายที่เลี้ยงไว้โตมีขนาด 1.0-1.5 กิโลกรัม ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปี

ผลผลิตปลา
ผลผลิตการเลี้ยงสุกรร่วมกับปลา โดยใช้ปลานิลหรือปลาสวายเป็นหลักจากฟาร์มบางแห่งซึ่งมีการจัดการที่ดี อาทิ การเตรียมบ่อ การใส่ปุ๋ยและปูนขาว การอนุบาลลูกปลาให้โตได้ขนาด 5-7 เซนติเมตร แล้วปล่อยลงเลี้ยงร่วมกับสุกรตลอดจนการคัดจับปลาโตจำหน่าย และจับปลาทั้งหมดเมื่อใช้เวลาเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี พบว่าได้ผลผลิต 1,800 - 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นผลผลิตค่อนข้างสูงมาก

การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช
การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช เป็นวิธีการที่เก่าแก่ เนื่องจากการเลี้ยงปลานาน ๆ บ่อจะเสื่อมโทรมจากโคลนเลนซึ่งสะสมอาหารที่เหลือจากปลา แต่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชผักต่าง ๆ และจะกลายเป็นอาหารปลาต่อไป
อาหารปลาและปุ๋ยที่เหลือจะสะสมในบ่อรวมทั้งซากปลา ซากสัตว์ พันธุ์ไม้น้ำจะสะสมอยู่ในดินเพิ่มขึ้นทุกปี แบคทีเรียจะย่อยสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดก๊าซพิษสะสมอยู่กลายเป็นฮิวมัสโคลนตมสีดำ การสะสมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการในบ่อเดียวกัน โคลนตมเหล่านี้จะสะสมแบคทีเรีย พยาธิและสารอื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ อีกทั้งทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำที่เลี้ยงต่ำลง จึงควรนำออกจากบ่อปลา โคลนตมจะมีปุ๋ยอยู่ในเกณฑ์สูงและมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยทั่วไปควรลอกโคลนเลนออกจากบ่อทุกปี ซึ่งจะนำออก 2 ใน 3 จากพื้นที่ 1 ไร่ (จะเท่ากับ 2.9 ตัน ของปุ๋ยเอ็น:พี:เค (N:P:K)) โคลนในบ่อปลามีส่วนประกอบของปุ๋ยที่ใช้ได้ทันที เท่ากับปุ๋ย 288.5 กิโลกรัม ปุ๋ยโคลนเหล่านี้จะช่วยในการปลูกต้นไม้ เมื่อมีปุ๋ยโคลนที่สะสมจะเพิ่มความหนาของดินในการปลูกพืช ช่วยปรับโครงสร้างส่วนประกอบของดินที่ดูดซับ ปุ๋ยเอ็น:พี:เคและทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้นอีกทั้งยังมีปุ๋ยปฏิกิริยาช้า สะสมอยู่ในดิน ซึ่งนำไปใช้ในการปลูกพืชฤดูกาลต่อไป
ดินโคลนแห้งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม จะใช้เพาะปลูกหญ้า 10 กิโลกรัม ในการขนดินโคลนนอกจากบ่อ 121.2 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ในหนึ่งปีจะเพียงพอเพาะปลูกข้างพื้นที่ 2.5 ไร่ ผลผลิตข้าวประมาณ 500 กิโลกรัม/ปี และดินโคลนที่เท่ากันจำนวนนี้ หากใช้ปลูกหญ้าจะได้ผลผลิต 14,544 กิโลกรัม/ไร่ และผลผลิตต่อหน่วยในนาที่ใช้ดินโคลน 10-15 ตัน ปลูกหญ้า จะใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยคอก 5 ตัน

ประโยชน์จากการใช้ดินโคลน
ดินโคลนในบ่อสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ดินควรจะตากแห้ง ไถ ทำให้เรียบแล้วจึงหว่านเมล็ดพืช หน้าดินควรปรับปรุงให้เหมาะกับพืชชนิดนั้น ในฤดูร้อนดินโคลนนี้จะระบายน้ำเข้ามาในการเพาะปลูกเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายแร่ธาตุ และเพิ่มออกซิเจนในพื้นดิน เพื่อจะขุดหลุมขนาด 5x5 ตารางเมตร ลึก 1 เมตร ใกล้ ๆ บริเวณบ่อและใช้เศษหญ้า พืชผักและดินโคลนตมแต่งหน้าหลังจากหมักแล้วจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยหรือจะนำมาตกแต่งหน้าดิน

ผลในทางธุรกิจ
การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืชจะเป็นการเพิ่มอาหารและปุ๋ยในธรรมชาติการใช้อาหารจะลดลง 1 ใน 3 นอกจากนี้พลังงานที่ใช้ในการขนส่งและซื้อปุ๋ยจะลดลงด้วย
การทำฟาร์มเลี้ยงปลาฤดูกาลหนึ่ง ๆ การใช้แรงงานจะเปลี่ยนแปลงในขณะเลี้ยงปลา แรงงานที่เหลือควรนำไปใช้ผลิตจะทำให้มีงานและรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
การจัดการที่ดินโดยปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา เป็นระบบหนึ่งที่เกษตรกรจะพึ่งตนเองได้ ดินโคลนจะเป็นปุ๋ยในการปลูกพืช
ดินโคลนและบ่อปลาที่อุดมสมบูรณ์ควรปรับระบบนิเวศน์วิทยาของบ่อดินให้ดีอยู่เสมอและควรป้องกันการพังทะลายของดิน
การเลี้ยงปลาสลับกับการปลูกพืช
การเลี้ยงปลาทั่วไปจะไม่ต่อเนื่อง บ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยงจะพักตากบ่อช่วงหนึ่ง ในการนี้บ่อสามารถนำไปปลูกพืช หรือใช้ในกิจการต่าง ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

การหมุนเวียนบ่อเดียว
การเลี้ยงปลาและปลูกพืชหมุนเวียนในบ่อเดียวกัน หลังจากย้ายลูกปลาหรือปลาใหญ่ไปบ่ออื่น โดยการระบายน้ำออกจากบ่อ กำจัดวัชพืชบริเวณคันบ่อ ทำพื้นบ่อให้เรียบขุดคูระบายน้ำ หว่านเมล็ดหญ้าพื้นบ่อและคันบ่อ หลังจากหว่านแล้วควรดูแลนกและควบคุมความลึกของพืชที่หว่าน

การหมุนเวียนหลายบ่อ
การเลี้ยงปลาหลายบ่อ บ่อว่างควรจะใช้ปลูกพืชเพื่อใช้เลี้ยงปลารุ่นต่อไป การหมุนเวียนปลาและพืชผักเป็นการใช้พื้นที่บ่ออย่างเต็มศักยภาพ เพื่อผลิตอาหารธรรมชาติสำหรับสัตว์น้ำ ในระบบนี้พืชผักจะใช้แร่ธาตุจากโคลนดิน หลังจากเกิดการหมักแร่ธาตุจากพืชผักจะกลับคืนสู่บ่อ เป็นการปรับคุณสมบัติของน้ำและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย ปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธ์กับปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไปต้องเพิ่มอาหารสม
ทบจะเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อเป็นสีเขียวเข้มเพราะมีแพลงก์ตอนพืชเกิดมากก็จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ทำให้ปลาตายได้
3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ
สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยนำปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
4 การใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายต่อปลาได้
การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่า
ที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลาง
ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่
สุดในขณะนี้คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมากเมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ทั้งยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้มไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมากพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยบางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น

ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรที่จะเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ควรศึกษาหาความรู้ด้านการเลี้ยงปลาให้ดีก่อนที่จะดำเนินการโดยการหาเอกสารคำแนะนำ
ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้วสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง
ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้า
สัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันแล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคา ปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น
เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ในการประกอบอาชีพ จึงจะ
ได้ผลสำเร็จที่แท้จริง

แนวโน้มการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานในอนาคต
จากผืนแผ่นดินซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและคงที่ แต่ความต้องการใช้ประโยชน์กลับเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยสี่อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเป็นการเลี้ยงปลาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาขาดแคลนอาหารโปรตีน ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้ และช่วยให้สภาพแวดล้อมมีความสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อการเสริมสร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงปลา ขอบคันบ่อเป็นที่เลี้ยงสัตว์บกและปลูกพืชผัก จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในที่สุด


ปลา นานาสาระเกี่ยวกับปลา

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การประกอบอาชีพการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงในขณะที่การขายผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มั่นคง ยากจน และมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิ้นรน หาวิธีการช่วยตัวเองให้พ้นจากปัญหานี้โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งพบว่าหากผสมผสานกิจกรรม ทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดยการใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมหนึ่ง ไปเป็นปัจจัยการผลิตของอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ทำให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้

หลักการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธีการนี้มานานแล้ว แต่การนำไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลา ร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนับศตวรรษแล้ว ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่างยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บก ที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตร ที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่งเท่าที่มีมา

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็กลายเป็นอาหารปลา และเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
3. เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำออกขาย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือ ปลูกพืชอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี

ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน หากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเลี้ยงสัตว์ จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
1. แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยม กันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลา โดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลา จะได้ประโยชน์จากบ่อปลา ในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว และต้านทานโรคได้ดีขึ้น ทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้นเนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้น โรงเรือนลักษณะนี้ จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เป็นหรือไก่เท่านั้น
2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อน แล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสาน โดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่ากว่า เพราะเป็นการประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นคงต้องใช้แบบหลัง
ขนาด ลักษณะของบ่อเลี้ยงปลาและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
เมื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม ส ำหรับการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานได้แล้ว ขอแนะนำให้สร้างบ่อปลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเป็นการเลี้ยงขนาดใหญ่ระดับการค้า ควรขุดบ่อให้มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10-20 ไร่ ลึก 1.1-1.3 เมตร เพื่อเก็บน้ำให้ได้ลึก 1.0 เมตร ถ้าจะขุดติดต่อกันหลาย ๆ บ่อ ควรเว้นคันบ่อไว้ 3.0 -5.0 เมตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปลูกเหนือบ่อปลาปลูกชิดคันบ่อด้านที่อยู่ต้นลม ควรปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเลี้ยงไก่ บนบ่อปลา ขนาด 15 ไร่ โรงเรือนควรมีขนาด 400 ตร.ม. เลี้ยงไก่ได้ประมาณ 9,000 ตัว เล้าไก่ควรสูงจากน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากเป็นโรงเลี้ยงสุกร ในบ่อขนาด 15 ไร่ ควรปลูกสร้างบนคันดินของบ่อปลาหรือ เหนือบ่อปลาด้านต้นลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกแบบเรียบง่ายประหยัด ขนาดประมาณ 200 ตร.ม. เลี้ยงสุกรได้มากประมาณ 100 ตัว พื้นโรงควรลาดเอียงไปทางด้านบ่อปลา เพื่อสะดวกในการระบายมูลสุกรลงบ่อปลา นอกจากไก่และสุกรแล้ว เกษตรกรอาจจะเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น เป็ด ห่าน แพะ นกกระทา ฯลฯ บนบ่อเลี้ยงปลาได้การสร้างโรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารคำแนะนำ หรือตำราวิชาการต่าง ๆ ที่หาได้จากร้านค้าที่จำหน่ายพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ หรือจากร้านหนังสือทั่วไป

สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาผสมผสานในชนบท แบบยังชีพควรขุดบ่ออย่างน้อยขนาดครึ่งไร่ จนถึงสองไร่ แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้บนบ่อปลา ขนาดของโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ หรือเป็ด บนบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ ควรมีขนาดประมาณ 40 ตารางเมตร สำหรับเลี้ยงไก่หรือเป็ดได้ 200 ตัว ส่วนโรงเรือนสุกรควรมีขนาดประมาณ 5-8 ตารางเมตร เลี้ยงสุกรได้คราวละ 3-5 ตัว หากเกษตรกรไม่มีทุนมากพอ ก็ลดขนาดของการเลี้ยงสัตว์ลงได้อีกตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ แต่ผลผลิตปลาที่ได้จะต่ำลง

พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง

พันธุ์ปลาทุกชนิด ที่สามารถเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีในบ่อ สามารถนำมาใช้เลี้ยงแบบผสมผสานได้ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน มี 4 ชนิดคือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุยเทศ และมักนิยมปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น เลี้ยงปลานิล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ ปลานิล หรือเลี้ยงรวมกันทั้ง ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิ๊กอุย นิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียวในบ่อ อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ส่วนใหญ่ลูกปลาทุกชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้อที่ 1 ไร่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน ดังนี้ คือ ปลานิล 4,000-5,000 ตัว ปลาสวาย 2,000-2,500 ตัว ปลาตะเพียน 1,000-1,500 ตัว
อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้ จะเลี้ยงกันในบ่อขนาดใหญ่ประมาณ 15 ไร่ โดยเลี้ยงไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร 220 ตัว พร้อมกันไปด้วย การปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้พบว่ามีข้อแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย หากเกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และต้องการปลาที่มีขนาดใหญ่ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะการเลี้ยงให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหม่มากนัก เมื่อถึงเวลาจับก็เพิ่มอัตราปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำหรับปลาดุกอุยเทศ มักนิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียว และมักเลี้ยงในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 - 40,000 ตัว ในบ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย

สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อยกว่านี้ โดยปกติในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลี้ยงสุกรไว้ 5 ตัว หรือ ไก่ หรือเป็ด 100 ตัว ควรปล่อยปลาชนิดต่าง ๆ ลงเลี้ยงประมาณ 1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาประมาณ 8 เดือน และได้ปลาขนาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคหรือขาย เพื่อเป็นรายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลี้ยงสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ได้ตามจำนวนที่แนะนำ ก็ลดจำนวนลงได้ แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ลงในบ่อปลาในอัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของมูลสัตว์ให้ดีขึ้น


การจัดการบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

การเตรียมบ่อปลาเพื่อเลี้ยงปลาควรเริ่มต้นในฤดูแล้ง โดยการสูบน้ำออกจากบ่อ พร้อมทั้งจับปลาออกให้หมด ตากดินก้นบ่อให้แห้งแล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าสภาพดินเป็นกรดมากต้องใส่ปูนขาวมากกว่านี้ เช่น ถ้าดินเป็นกรดวัดค่าความเป็นกรดได้น้อยกว่า 5 ต้องใส่ปูนขาว ถึง 800 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปูนขาวแล้วปล่อยน้ำเข้าบ่อ ควรกรองน้ำด้วยมุ้งในลอนตาถี่ เพื่อป้องกันลูกปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามากับน้ำ ให้ได้น้ำลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยให้ระดับผิวน้ำต่อจากระดับพื้นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากนำสัตว์เลี้ยง เช่นไก่ หรือ สุกรเข้าโรงเลี้ยงครั้งแรก ควรทิ้งระยะประมาณ 7-10 วัน ภายหลังจากนำสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเล้ว และน้ำในบ่อมีสีเขียวจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง พันธุ์ปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง ควรเลือกซื้อที่มีขนาดใหญ่ ถ้าได้ปลาขนาดความยาวตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป จะได้ผลดี

ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มในระยะแรก แต่จะได้กำไรคืนมาคุ้มค่าที่ลงทุนไป เพราะลูกปลาขนาดใหญจะมีอัตรารอดสูง สามารถร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อใจได้จริง ๆ เพราะมีฟาร์มจำหน่ายลูกปลาบางรายเห็นแก่ได้ ทำการปลอมปนลูกปลา เช่น เอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอกจำหน่ายเป็นลูกปลาดุกอุยเทศให้แก่ผู้ซื้อ เป็นต้น ปลาที่ปล่อยทั้งหมดควรมีขนาดใกล้เคียงกัน และควรปล่อยปลาให้ครบชนิด และจำนวนในเวลาเดียวกัน หรือไม่ควรปล่อยปลาห่างกันเกิน 5 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกปลาแต่ละชนิดมีขนาดเท่ากัน

เมื่อปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว ก็ต้องระวังอย่าให้น้ำในบ่อเน่าเสียเนื่องจากมูลสัตว์ ลงไปในบ่อมากเกินไป จนปลากินไม่ทัน ทำให้หมักหมม เน่าเปื่อยอยู่ในน้ำบริเวณก้นบ่อ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและเกิดแก๊สพิษบางชนิด เช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อปลาเมื่อเกิดน้ำเสียในบ่อจะสังเกตได้จากสีของน้ำมีสีเขียวเข้มจัด มีฟองอากาศผุดขึ้นมาจากก้นบ่อ โดยเฉพาะบริเวณใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และปลาจะลอยหัวสขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำในตอนเช้า เมื่อเห็นอาการเน่าเสียของน้ำดังกล่าว จะต้องรีบลดปริมาณมูลสัตว์ที่ตกลงในบ่อลงทันที โดยการใช้กระสอบหรือผ้ามุ้งสีฟ้าขึงไว้ใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่เพื่อรองรับมูลสัตว์เอาไว้

สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรบนคันบ่อปลา แทนที่จะล้างมูลสุกรลงบ่อปลาโดยตรง หากทำบ่อเกรอะมูลสุกรโดยล้างมูลสุกรลงมารวมกันในบ่อนี้ ก่อนทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เพื่อให้ให้มูลสุกรเน่าเปื่อยดีก่อน แล้วจึงระบายลงบ่อปลา จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียในบ่อลงไปได้อย่างมากในบ่อที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ถ้าหยุดการเลี้ยงสัตว์เกิน 5 วัน ควรจะหามูลสัตว์ที่เก็บสำรองไว้ใส่ลงไปในบ่อบ้าง หรืออาจจะให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียดหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ปลาอดอาหาร ซึ่งจะเป็นผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย เกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อบางราย เมื่อตกลงซื้อขายปลากับพ่อค้าแล้วก่อนการจับปลาประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มขุนปลาที่เลี้ยงไว้โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ปลาสมบูรณ์ เมื่อถึงกำหนดวันจับปลา จะได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะ มีความสมบูรณ์สูง ได้น้ำหนักขายได้ราคาดี เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ คุ้มค่ากับการลงทุนที่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง

ผลผลิตจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะแปรผันไปกับชนิดและปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง รวมทั้งชนิดและขนาดของปลาที่ปล่อยและระยะเวลาเลี้ยงด้วย ในบ่อขนาดประมาณ 10 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิลชนิดเดียว จะได้ผลผลิตปลานิลรวมประมาณ 5.7 ตัน ในเวลาประมาณ 10 เดือน ในบ่อขนาด 15 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิล ปลาสวายให้ผลิตปลารวมกันถึง 19 ตัน ในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงไก่ร่วมกับปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 12 ตัน และในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงสุกรร่วมกับปลานิลและปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 15 ตัน สำหรับปลาดุกอุยเทศ เกษตรกรบางรายเลี้ยงได้ผลผลิตปลาสูงถึง 16 ตัน ในบ่อขนาด 15 ไร่ น้ำลึกประมาณ 1 เมตร ภายในเวลา 100 วัน โดยเลี้ยงร่วมกับไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละ 5,000 ตัว ปล่อยปลาดุกอุยเทศลงเลี้ยง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 200,000 ตัว เมื่อเลี้ยงปลาได้ 2 เดือน แล้วเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละครั้ง ๆ ละประมาณ 160 กิโลกรัม และให้เศษอาหารที่เก็บจากร้านอาหารอีกวันละ 5 ถัง (ถังขนาด 200 ลิตร)


สำหรับปลาชนิดอื่น ๆ ที่นำมาทดลองเลี้ยงแบบผสมผสานโดยนักวิชาการพบว่าปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลาหัวโต ปลากินหญ้า ปลากะโห้เทศ ปลาบึกและกุ้งก้ามกราม เมื่อนำมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อขนาด 6 ไร่ โดยปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 12,000 ตัว เลี้ยงร่วมกับสุกร 30 ตัวในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน พบว่า ได้ผลผลิตปลารวมกันทั้งหมด 3.5 ตัน เมื่อนำปลาชนิดดังกล่าวข้างต้นนี้ ไปเลี้ยงในบ่อขนาด 2 ไร่ ปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 4,000 ตัว และเลี้ยงร่วมกับเป็ดไข่ 200 ตัว จะได้ผลผลิตปลารวมกัน 2.6 ตัน ในระยะเวลา 10 เดือน


ผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นกิจการที่ต้องลงทุนทั้งเงินทุน และแรงงาน นอกจากต้นทุนคงที่ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ่อปลา เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ แล้ว ยังมีต้นทุนผันแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ได้แก่ ค่าพันธุ์สัตว์ ค่าอาหารสัตว์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ และค่าแรงงานเป็นต้น ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ค้าสัตว์ หลายรายที่มีบริการจ้างเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ การจ้างเลี้ยงไก่เนื้อ โดยบริษัทจะให้พันธุ์สัตว์พร้อมอาหารและยามาให้ เมื่อเลี้ยงจนไก่โตได้ขนาดแล้ว ทางบริษัทจะจับคืนไป โดยคิดราคาตามราคาประกันและน้ำหนักไก่ทั้งหมด แล้วหักค่าใช้จ่ายในส่วนของพันธุ์สัตว์ อาหารและยาไว้ ส่วนที่เหลือคือกำไรที่จ่ายให้ผู้เลี้ยงเป็นค่าเลี้ยง เกษตรกรที่มีความชำนาญถ้าเลี้ยงไก่โดยไม่ตายเลย จะได้กำไรตัวละประมาณ 7.00 บาท ในระยะเวลาประมาณ 50 วัน หากมีไก่ตายบ้างรายได้ก็ลดลงตามส่วน วิธีนี้ช่วยให้เกษตรกรที่ไม่มีเงินทุนมากพอ สามารถเลี้ยงไก่เป็นอาชีพได้ จากการสอบถามเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิล และปลาสวายกับไก่ ในบ่อขนาด 15 ไร่ ประมาณการว่าต้องลงทุนค่าพันธุ์ปลา 51,000 บาท ค่าแรงงาน 45,500 บาท ค่าอาหารสัตว์น้ำ 15,500 บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,800 บาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก 1,900 บาท รวมต้นทุนผันแปรทั้งสิ้น 116,700 บาท นอกจากนี้ยังมีต้นทุนคงที่ จึงได้แก่ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าที่ดิน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ฯลฯ รวมกันอีกประมาณ 36,000 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 152,700บาท จับปลาได้ทั้งสิ้น 19 ตัน คิดเป็นมูลค่า 160,000 บาท ได้กำไรสุทธิประมาณ 7,300 บาท ส่วนการเลี้ยงปลานิลและสวายกับสุกร ในบ่อขนาด 12 ไร่ พบว่าเกษตรกรได้กำไรมากขึ้นคือ จะได้กำไรสุทธิประมาณ 20,000 บาท สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงไก่เนื้อกับปลาดุกบิ๊กอุย พบว่าในบ่อขนาด 5 ไร่ ซึ่งเลี้ยงไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละประมาณ 50 วัน ปล่อยปลาดุกบิ๊กอุยขนาด 1 นิ้ว ลงเลี้ยงทั้งหมด 200,000 ตัว มูลค่า 30,000 บาท เมื่อเลี้ยงครบ 100 วัน ก็จับปลาขายขนาดตัวละประมาณ 85 กรัม (12 ตัว/กิโลกรัม) ได้ผลผลิตปลารวมทั้งสิ้น 16 ตัน ในช่วงการเลี้ยง 40 วัน สุดท้ายได้ให้อาหารเสริมจำพวกอาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ และเศษอาหารจากร้านอาหาร รวมเป็นมูลค่าประมาณ 105,000 บาท เมื่อคิดเฉพาะค่าพันธุ์ปลาและอาหาร พบว่าต้นทุนการผลิตของปลาชุดนี้ ประมาณ กิโลกรัมละ 11 บาท เท่านั้น ในขณะที่ราคาขายส่งที่ฟาร์มของปลาดุกบิ๊กอุย จะตกประมาณ 18-28 บาท/กิโลกรัม
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง ทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย แล้วปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
1.2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธุ์กับจำนวนปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไป ทำให้ต้องเพิ่มอาหารสมทบเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อจะเป็นสีเขียวเข้ม เพราะมีเแพลงก์ตอนพืชเกิดมากพวกนี้จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ ทำให้ปลาตายได้
1.3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกระทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยเอาปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
1.4 การใช้ยา ฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายแก่ปลาได้
2. การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม จึงเกือบจะไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลางเลย
3. ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมาก เมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ซ้ำยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้ม ไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมาก พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย บางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น

ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร
1. ควรศึกษาหาความรู้ทางด้านการเลี้ยงปลาให้ดี ก่อนที่จะดำเนินการ โดยการหาเอกสารคำแนะนำ ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้ว สอบถามความรู้เพิ่มเติม จากผู้รู้ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง

2. ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้าสัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน แล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคาปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
3. เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น

4. เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรที่ควรเชื่อ อะไรที่ไม่ควรเชื่อ ประพฤติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม เลิกลด หรือ ละจากอบายมุขทั้งปวง อย่าตกเป็นทาสของสังคม พร้อมทั้งให้ยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ได้แก่ อิทธิบาทสี่ และพรหมวิหารสี่ เป็นหลักในการประกอบอาชีพ จึงจะได้ผลสำเร็จที่แท้จริง
 

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่

การเลี้ยงไก่ไข่ ( การกระต้นการออกไข่ )

การเลี้ยงไก่ แบบพอเพียง พึ่งตนเอง

การเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่ไว้่สำหรับลดรายจ่ายของครอบครัว
เมื่อเราตั้งเป้าหมาย แล้วว่าจะเลี้ยงไก่ไข่
ขั้นตอนต่อไปก็คือการวางแผน การเลี้ยง (ขงเบ้ง กว่าว่า รู้เขา รู้เรา รบสิบครั้งชนะสิบครั้ง)





1.เริ่มศึกษาการเลี้ยงไก่ไข่ หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด และศึกษาจุดคุ้มทุน
ในที่นี้ผมศึกษาดูแล้วสามารถหาจุดคุ้มทุนได้ จะอธิบายให้ฟังภายหลังนะครับ ทฤษฏีเยอะพอสมควร2 วางแผนการเลี้ยงโดยเริ่มจา การสรรหาไก่ไข่ สร้างกรงไก่ หรือคอกไก่ ประเมิณราคา การกำจัดกลิ่น สิ่งแวดล้อมการเป็นอยู่ของไก่ โรคของไก่
เมื่อวางแผนเสร็จ ผมก็เริ่มยึดจุดยุทธศาสตร์ โดยการวางผังโรงไก่ วิเคราห์ เรื่องกลิ่นและการกำจัดกลิ่นด้วย
แล้วก็ออกแบบ โรงไก่ไข่ (ใช้เวลานานพอสมควร ) ทุกอย่างอยู่ในหัว เมื่อทำเสร็จต้องเหมือนกับที่วางแผนไว้ เริ่มจาก
พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์มานานแล้วต่อไปก็ปรับพื้น ตั้งเสาเพื่อทำโรงไก่ตามที่ออกแบบไว้

เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วนะครับ ใช้พื้นที่น้อยครับ กว้าง 60 ซม. ยาว 2 เมตร

ส่วนพื้นเป็นตะแกรงนะครับ ทำให้เอียงพอใข่ไหลออกมาได้ ตะแกรงตาถี่ประมาณ 1 นิ้ว หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือร้านขายอุปกรณ์การเกษตร
หลังจกานั้นก็เอาไม้ไผ่ทำเป็นกรง ปิดหน้า ปิดหลัง ใส่หลังคา ผมใช้กระเบื้องเพราะราคาถูก พอกับหญ้าแฝกแต่อายุการใช้งานนานกว่้า ใส่หลอดไฟให้มันด้วยครับ เพราะมันขี้กลัวมันจะตกใจ ไม่ใส่ก็ไม่เป็นไรครับ

เอา แสลนมาปิดกันลมกันฝน แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับ กับโรงไก่ไข่ ใช้เวลาทำไม่นาน แต่ว่าใช้เวลาในการออกแบบ นานกว่าอีกนะครับ
และแล้วก็ได้ไก่ไว้ในกรงแล้วหละครับ น่ารักไหมครับ
คงสงสัยใช่ไหมทำไมไก่มันใหญ่เร็วจัง 555555.. ไม่ต้องสงสัยครับ ร้านเกษตร เค้ามีไก่สาวไว้ขายให้เกษตรกร ครับ เราไม่จำเป็นต้องซื้อลูกเจี๊ยบมาเลี้ยงให้มันโต เสียเวลาครับ บางทีอาจจะไม่โตก็ได้
เค้ามีำไก่สาว อายุประมาณ 18 สัปดาห์ ไว้ขายครับ ไก่อายุ 21 สัปดาห์มันจะเริ่มไข่ครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะได้ไก่แก่ใกล้จะหมดไข่ไม่ใช่ครับ อย่างของผมอยู่ที่โคราชครับ ซื้อไก่ของ ซีพี ครับ มันมีของ สหฟาร์มด้วยแต่ว่าร้านจำหน่ายคนละร้านกันครับ ผมซื้อไก่ซีพี อาหารก็ซีพี ครับ

ต่อไปครับ เรื่องกลิ่นครับ ผมใช้แกลบ กลบขี้ไก่นะครับ มันจะไม่มีกลิ่นเลยครับ


และที่เห็นไก่จะอยู่ช่องใครช่องมันนะครับ เราจะไม่ปล่อยให้มันอยู่รวมกัน มันมีข้อเสียเยอะกว่าข้อดีนะครับ เหตุผลมีครับ คือ 1.เราสามารถรู้ได้ว่าไก่ตัวไหนไข่หรือไม่ไข่ 2.การจำกัดพื้นที่ของไก่จะทำให้ไก่ออกไข่ดีครับ เพราะว่ามันเกิดมาเพื่อ กิน นอน ปวดท้อง แล้วก็ไข่ ถ้ามันเดินมาก หรือเคลื่อนไหวมากจะทำให้ร้างกายมันสมบูรณ์ แข็งแรงดีเกินไป ไม่ปวดท้อง และก็จะไม่ไข่ 3. สามารถควบคุมอาหารได้ด้วยครับ เพราะว่า ไก่ 1ตัวจะกินอาหารประมาณ 70-90 กรัม ต่อวันนะครับ ถ้ากินมากกว่านี้จะทำให้ไก่อ้วน มันจะไม่ไข่นะครับ ถ้ามันได้กินอาหารเต็มที่ 4. ป้องกันไม่ให้มันจิกก้นกันนะครับ เมื่อมันออกไข่ไปนานๆ ถ้าปล่อยให้มันอยู่รวมกันมันจะจิกก้นกันนะครับ บางตัวโดนจิกก้นจนตายเลยนะครับ สรุปแล้ว กันกรงใครกรงมันดีกวาครับ

การเลี้ยงนะครับ
1. ให้อาหาร 70-90 กรัมต่อวันครับ ของผมเลี้ยง 6 ตัว ให้อาหารวันละ 5 ขีดครับ ค่าอาหารประมาณ 7 บาทครับ ให้เช้า กับเย็นครับ 2 เวลา คือ ตักมา 5 ขีด ให้เช้าครึ่งนึง เหลือครึ่งนึงให้ ตอนเย็นครับ .

2. ให้น้ำอย่าให้ขาดนะครับ ไก่กินอาหาร มันจะขาดน้ำไม่ได้เลยครับ และน้ำต้องผสม วิตามิน และยาแก้หวัดด้วยนะครับ ถามร้านขายไก่ดูครับ เค้ามีขายพร้อม ถ้าไม่มีวิตามินผสม กับน้ำ จะทำให้ไข่ไก่ไม่โตนะครับ

อย่างของผมซื้อไก่มาวันที่ 6 ม.ค ประมาณวันที่ 2 อาทิตย์ไก่ก็เริ่มไข่ให้ได้ดีใจแล้วครับ ประมาณ วันที่ 30 มค. มันก็ออกไข่ครบทุกตัว น่าภูมิใจมากครับ ทุกวันนี้ ได้ไข่วันละ 6 ฟอง กินวันละ 2- 4 ฟอง ที่เหลือก็ขายให้กับคนแถวบ้าน แล้วเอาเงินขายไ่ข่ไปซื้ออาหารไก่ ลงตัวพอดีครับ
ตอนนี้ผมลบคำที่ว่า เอาเงินค่าอาหารไก่ไปซื้อไข่กินดีกว่า ได้แล้วครับ ผมได้คำนวนแล้วได้คำตอบที่ว่า ถ้าเราเลี้ยงขายอาจจะได้กำไรน้อย ถ้าเลี้ยงขายอย่างน้อยต้อง ร้อยตัวขึ้้น นะครับถึงจะคุ้มต่อวัน และระยะคืนทุนก็นานพอควรครับ เกือบปีหละครับถึงจะได้ ค่าต้นทุนไก่ที่ซื้อมา
ส่วน การเลี้ยงเพื่อกิน พอเพียงอย่างว่าหนะครับ คือเอาไว้กิน เหลือก็ขายครับ คือเราจะคิดราคาที่เราไปซื้อไข่มากิน 10 ฟอง 30 บาท อยู่ได้ 3 วัน ครับ คิดอย่างนี้คุ้มสุดๆ เลยครับ และไม่น่าเชื่อว่า ที่เหลือจะสามารถขายได้แล้วเอาเงินที่ขายไ้้ด้ไปซื้ออาหารไก่ได้อีก คุ้มครับ ถ้าเราจัดการดีๆ อย่างที่ผมทำนะครับอยากให้ใครที่มีเวลา มีพื้นที่ ลองทำดูครับ ประหยัดรายจ่ายได้ดีมากๆๆ

การใช้นำหมักปลาร้าเพิ่มผลผลิตอ้อย

การใช้น้ำปลาร้า(ปลาทะเล)ปรับปรุงดินในไร่อ้อย



        ในแถบภาคตะวันตกนับเป็นแหล่งผลิตอ้อยที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งทั้งนี้เพราะมี สภาพดินฟ้า
อากาศที่เหมาะสมกล่าวคือเป็นเขตกึ่งร้อน มีปริมาณน้ำฝนและแสงแดดเพียงพอ โดยทั่วๆไปอ้อย
เจริญเติบโตได้ช้าในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส แต่ขึ้นได้ดีใน อุณหภูมิที่สูงกว่า ๒๐ องศาเซลเซียส และในพื้นที่ที่ไม่มีการชลประทานจะต้อง มีน้ำฝน 1.5 เมตรต่อปีหรือมากกว่านั้น อ้อยเจริญเติบโตได้ช้าในเดือน แรก ๆ อ้อยที่มีอายุปลูกมาก ๆ จะมีระยะเวลาเจริญเติบโตได้นานและให้ผลผลิต สูง จะเก็บเกี่ยวอ้อยเมื่อมีอายุ 11-12 เดือน


--------------------------------------------------------------------------------



      นายสุพจน์ แสงประทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรีกล่าวว่าแม้อ้อยปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิดแต่ก็อาจเจริญเติบโต ช้า แคระแกรน หากดินขาดความโปร่งซุยอากาศและน้ำถ่ายเทไม่สะดวกเพราะ ต้นอ้อยขณะยังเล็กจะไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมหรือขังได้ ดินที่ใช้ปลูกเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และขาดธาตุอาหารสมบูรณ์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่2 ได้ตระหนักในเรื่องนี้จึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยเน้นให้เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินให้มีศักยภาพ และเหมาะสมต่อการเพาะปลูก โดยได้แนะนำให้เกษตรกรใช้เทคนิคการจัดการการผลิตอ้อยที่ง่ายๆ สะดวกปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะเดียวกันทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มพร้อมทั้ง ลดต้นทุน ด้านสารเคมีลงจำนวนมากโดยการใช้น้ำหมักปลาร้าหรือน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล ซึ่งพบว่าเกษตรกรต้นแบบที่ใช้เทคนิคนี้ ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีลงมากกว่าร้อยละ 80

      เกษตรกร ต้นแบบที่ได้นำน้ำหมักปลาร้าไปใช้ในแปลงอ้อยแล้วประสบผลสำเร็จรายหนึ่งคือ
นางทองกลม ชูเลิศ อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 114 หมู่ 10 ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีอาชีพปลูกอ้อยส่งโรงงาน ในพื้นที่ของตนเอง 50 ไร่ และพื้นที่เช่า อีก 70 ไร่ รวมเป็น 120 ไร่ และได้ร่วมกับสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ในการศึกษาทดลองการใช้น้ำหมักปลาร้าโดยแบ่งพื้นที่แปลงปลูกอ้อย จำนวน 30 ไร่ ภายใต้คำแนะนำและกำกับดูแลของนายวิชัย ซ้อนมณีนักวิชาการเกษตร 7ว ซึ่งผลการเป็นผู้ดำเนินการ พบดังนี้

     ตั้งแต่เริ่มวางท่อนพันธุ์อ้อยจนท่อนพันธุ์อ้อยได้ 1 ศอกหรืออายุได้ประมาณ 3 เดือน ได้กำหนดเริ่มการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้า 1 ครั้ง โดยฉีดที่โคนและใบ ใน อัตราน้ำหมักปลาร้าที่ใช้ 1:100 (1 ลิตร:น้ำ100 ลิตร) อัตราการฉีดพ่นจะกำหนดให้น้ำที่ ผสมน้ำหมักปลาร้าแล้ว จำนวน 100 ลิตร ให้ฉีดพ่นพอดีกับพื้นที่ 1 ไร่ ต่อความหวาน (น้ำตาล) 13% ดังนั้น พื้นที่ปลูกอ้อย 30 ไร่ จะใช้ น้ำหมักปลาร้า จำนวน 60 ลิตร ซึ่งก่อนการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้า ต้นอ้อย ยังมีการเจริญเติบโตไม่ดีนัก มีความสูงเฉลี่ย 1.00 – 1.20 เมตร ลักษณะใบอ้อยพับงอลงทั้แปลง ปลายยอดจะห่อเมื่อโดนแสงแดด กาบใบด้านล่างจะแห้งตั้งแต่กาบด้านในที่หุ้มลำต้น จนถึงปลายใบหมดทั้งแปลง ทรงพุ่มการเจริญเติบโตไม่เป็น รูปทรงสม่ำเสมอกัน มีต้นเล็กใหญ่สลับกันทุกกออ้อย

    แต่หลังจากการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้านี้ มีข้อค้นพบการเปลี่ยนแปลงอันดับแรกคือใบอ้อยจะชูขึ้นตั้งตรงทุกใบ ไม่หลบแสงแดด เมื่ออากาศร้อนจัดแต่ละวัน ช่วงเวลา 11.00-15.00 น. ทั่วทั้ง
แปลงและใบที่ห่อม้วนเข้าหากัน เพื่อป้องกันการคายน้ำ ก็จะเริ่มคลีjใบออกมาด้านกว้าง มีการเปลี่ยนแปลงของต้นและใบอ้อยทุกส่วนให้เห็นได้ชัดเจน เช่น ความสูงของ ลำอ้อยจะสูงขึ้น 4-5 ซม. ความอวบใหญ่ของลำอ้อยจากการวัดนิ้วมือโอบรอบขยาย 2-3 ซม. ความสูงของต้นถึงปลายใบทั้งต้นเฉลี่ย 7-10 ซม.

     มีข้อค้นพบว่าการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าที่เหมาะสมแก่อ้อยคือ 2 ครั้ง/ปี คือช่วงแรกอายุ 3 เดือน 1
ครั้ง อัตรา 1:100 และช่วงที่ 2 อายุ 5 เดือน ในอัตรา 1:100 ดังนั้น พอเข้าเดือนที่ 5 ก็ทำการฉีดอีกครั้งโดยใช้อัตรา 1 ต่อ 100 เหมือนเดิม แต่ ตอนนี้ฉีดโคนอย่างเดียว และไม่ต้องฉีดแล้วจนกระทั่งทำการเก็บเกี่ยว จนอายุครบ 1 ปี หรือ 12 เดือน

    นางทองกลมเกษตรกรต้นแบบมีความพึงพอใจในน้ำหมักปลาร้านี้มาก ทั้งนี้เพราะช่วยปรับ
สภาพดินให้ร่วนซุยมากขึ้น และไม่พบการระบาดของหนอนกินราก หรือหนอนกอมารบกวน อีกทั้ง
ปริมาณน้ำหนักของอ้อยที่ได้มีปริมาณน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จึงนับว่าน้ำหมักปลาร้าเป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กันไป ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกายและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ นางทองกลมยังได้เผย เทคนิคการฉีดพ่นน้ำหมักปลาร้าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องดำเนินการใน ช่วงเวลาอากาศเย็น หลังฝนตกหรือช่วงเวลาเย็นที่ไม่มีแสงแดดจะดีที่สุด เพราะมีความชื้นที่เหมาะแก่การมีชีวิตของจุลินทรีย์ในน้ำหมักปลาร้าที่จะซึม เข้าไปสู่ส่วนของใบ ลำต้น และลงสู่ดินที่จะขยายตัว แทรกซึมเข้าสู่ทุกอนุของเม็ดดินที่มีความชื้นอยู่ในดิน จุลินทรีย์ก็จะทำ หน้าที่ย่อยสลาย วัตถุอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีที่ตกค้าง และสุดท้ายจะปรับสภาพ ความเป็นกรดด่างของดินให้เป็นกลางเหมาะ แก่การดูดซึมของรากพืช

     นายวิชัยได้กล่าวเสริมว่าเหตุที่น้ำหมักปลาร้านี้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มผลผลิตแก่อ้อยเนื่องจาก
เกิดจากการหมักของน้ำหมักปลาทะเล และมีการหมักนาน 8-10 เดือน ทำให้มีธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพธาตุอาหารจากกรมวิชาการเกษตร ทุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปใช้ หากเกษตรกรท่านใดที่สนใจการจัดการการผลิตอ้อยด้วยน้ำหมักปลาร้านี้สามารถขอ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110 หรือ โทร.0-3220-1568 หรือ 08-9790-1882 และ 08-1375-5191

     นายสุพจน์กล่าวในตอนท้ายว่า คาดว่าแปลงไร่อ้อยของนางทองกลมจะเป็นต้นแบบการพัฒนา
เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยที่ยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นขณะที่ใช้พื้นที่ปลูกเท่าเดิม จะขยายผลไปยังเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายอื่นได้นำไปปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 และในระยะยาวในเขตภาคตะวันตกน่าจะเป็นแหล่งผลผลิตอ้อยคุณภาพดีป้อนโรงงาน น้ำตาล ตลอดจนสามารถรองรับอุตสาหกรรมเอทานอลที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ช่วยทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงได้อีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา http://www.bionanothai.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถใช้ อี เอ็มในการยื่นอายุของการถ่ายเปลี่ยนน้ำ และลดการทำให้ปลาไม่เครียดจากการเลี้ยง ผู้เลี้ยงก็ต้องเปลี่ยนน้ำ 2-3 วัน/1 ครั้ง หน้าหนาว ปลาดุกมีโอกาศการเกิดโรคได้มากๆ ขอแนะนำ ควรลงมือเลี้ยงในฤดูฝน จะทำให้เลี้ยงงายและโตเร็ว
เกร็ดความรู้
  1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
  2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา
อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
 3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง
เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
 4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
 5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้
การทำอาหารปลาดุก ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

สำหรับการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ (ลึกอย่างน้อย 30 ซม)
ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย
แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูน ระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 ชม.
ควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ
โดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ชม./อาทิตย์

ให้อาหารเม็ดประมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา
โดยปล่อยปลาในอัตรา 50-70 ตัว/ตรม. ตั้งแต่เดือนที่ 2 เป็นต้นไปให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้าเย็น
ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน
อัตราการรอดประมาณ 80% ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้
โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารหรือรำข้าวก็ได้
แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

       การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย



2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง


3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง





การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง


3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ
1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


หมายเหตุ : ราคาที่จำหน่ายปลาขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับวัสดุและอุปกรณ์ในแต่ละท้องถิ่น






การเลี้ยงปลาดุกอุย

ชื่อไทย              :            ดุกอุย
ชื่อสามัญ        :            GUNTHER'S WALKING CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์    :            Clarias macrocephalus
ถิ่นอาศัย            :            มีอยู่ทั่วไปบริเวณลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีพันธุ์ไม้น้ำปกคลุมและมีพื้นเป็นโคลนตม
อาหาร              :           สัตว์ ซากพืช และซากสัตว์
ขนาด                 :            ความยาวประมาณ 15-35 เซนติเมตร
ประโยชน์             :            เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหาร เนื้ออ่อนนุ่มสีเหลือง ยกย่องกันว่ามีรสชาติอร่อยกว่าปลาดุกด้าน


ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศ ไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบัง กลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับ ประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย (สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลา ดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำ ให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุก ภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูก ปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพ ของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน



ลักษณะและการดูแลปลาดุกอุย

อุปนิสัย
ปลา ดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธรรมชาติมักจะกินพวก ซากสัตวที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

รูปร่างลักษณะ
ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงื่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศาช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับ ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ

เพศปลาดุกอุย
เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศ เมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกัน ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย

การสืบพันธุ์
1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน

2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่คุ่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้า ออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง

การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย
พ่อแม่พันธุ์ปลาส่วนใหญ่จะได้จากธรรมชาติบ่อปลาสลิดบ่อปลาที่เลี้ยงผสมผสาน โดยรวบรวมในช่วงฤดูแล้งปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีความสมบูรณ์ ์ทางเพศพร้อมที่จะนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือได้พ่อแม่พันธ์จากการขุนเลี้ยงขึ้นมาเอง เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะจับขึ้นมาคัดเพื่อเพาะพันธุ์ในรอบ 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง อายุการใช้งานของแม่ปลาแต่ละรุ่นจะใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี

การผสมเทียม
ในการเพาะฟักโดยวิธีผสมเทียมหากแม่ปลาดุกอุยไม่บอบช้ำมากอาจนำมาผสมเทียมได้ 2-3 ครั้ง/ปี การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยในอดีตใช้ฮอร์โมน สกัดจำพวก Gonadotrophim hormone (H.C.G)ผสมกับต่อมใต้สมองปลาในอัตรา H.C.G. 100-150 I.U. กับต่อมใต้สมองปลาสวาย ปลาไนหรือปลา อื่นๆ อัตราส่วน 0.7-1โดสต่อแม่ปลาที่มีน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังของตัวปลาเพื่อเร่งให้แม่ปลาไข่สุกพร้อม ที่จะวางไข่ซึ่งใช้ ้เวลาประมาณ 13-16 ชั่วโมง ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมใช้ฮอร์โนสังเคราะห์ เช่นSuperfact (Buseralin acetate) ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัมผสมกับ Motilium ( Domperidone) 0.5-1 เม็ด ต่อแม่ ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปลาดุกอุย จะวางไข่ในระยะเวลา 13-16 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมนสกัด แต่วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ง่ายและประหยัดกว่า

ลักษณะไข่ปลาดุกอุย
ไข่ปลาที่ดีจะไหลออกจากช่องเพศของปลาเพศเมียได้ง่ายไข่แต่ละเม็ดจะแยกออกจาก กัน ไม่ติดเป็นกระจุก ไข่ที่รีดได้จะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำ ตาลเข้ม และควรรีดไข่ออกจากแม่ปลาได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ จึงจะเป็นไข่ที่ดีและจะต้องไม่มีเลือดหรือของเหลวชนิดอื่นเจือปน เมื่อได้ไข่ปลามากพอแล้ว (ส่วนใหญ่จะรีดไข่จากแม่ปลาหลายๆแม่มารวมกัน) นำไข่ไปผสมกับน้ำเชื้อเพศผู้ ซึ่งแกะเอาถุงน้ำเชื้อมากจากช่องท้องของปลาเพศผู้ นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียวแล้ว ขยี้ในน้ำที่เตรียมไว้คั้นเอาน้ำเชื้อออกมาเทราดผสมกับไข่ คนไข่กับน้ำเชื้อคลุกเคล้ากันให้ทั่วเสร็จแล้วเติมน้ำและล้างให้สะอาด 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ไปฟัก
ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมกันเองในถังซีเมนต์หรือบ่อดินที่เตรียมไว้ กรณีนี้จะไม่ต้องเสียพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำแต่จะได้ลูกปลาจำนวน น้อยไม่เหมาะกับการทำธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย โดยต้องการลูกปลาดุกอุยเสริมบ่อเลี้ยงปลาในธรรมชาติวิธีนี้จะได้ผลดีในระดับ หนึ่ง ทั้งนี้ต้องเริ่มปล่อยปลาดุก ก่อนที่จะปล่อยปลาชนิดอื่น 10-20 วัน การเพาะพันธุ์วิธีดังกล่าวจะมีข้อเสียหากที่คับแคบปลาจะทำร้ายกันเองหนื่อ งจากการแย่งคู่ เพราะไข่ปลาจะติดกับพื้นภาชนะ นั้น แต่ควรจะคำนวนเวลาให้พ่อแม่ปลาผสมกันเองในช่วงเวลากลางคืน พ่อแม่ปลาจะได้ไม่ตกใจและไม่เครียด ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติดชนิดไม่ติดแน่นนักเมื่อหลุดจาก วัสดุที่เกาะแล้วจะไม่เกาะติดอีก ทำให้เลือกรูปแบบของการฟักได้

การฟักไข่ของปลาดุกอุยทั่วๆ ไปทำได้ 2 แบบ
1.การฟักในถุงฟัก การฟักไข่ปลาดุกอุยมีลักษระเช่นเดียวกับการฟักไข่ปลาครึ่งลอยครึ่งจมทั่วๆ ไป ซึ่งมีน้ำดันให้ไข่ลอยตัวจากก้นกรวยอย่าง สม่ำเสมอไข่ที่ได้รับการผสมหรือไขเสียจะสามารถดูดออกทิ้งได้เป็นระยะๆ โดยวิธีกาลักน้ำ การฟักไข่ปลาดุกอุยลักษณะนี้จะฟักไข่ได้อัตรารอดสูงและใช้น้ำมาก พอสมควร แต่ก็สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดจะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำนำลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ไปอนุบาล ในภาชนะอื่นต่อไป ในระยะนี้ลูกปลาวัยอ่อนค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปซุกอยู่ตามมุมหนึ่งมุมใดของบ่อและรวมตัวกันเป็นกระจุก เมื่อไข่แดงยุบหมดแล้วลูกปลาจะเริ่ม ลอยตัวว่ายไปมาเพื่อหาอาหาร และเคลื่อนไหวรวดเร็วมากในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อย เพราะปลาดุกอุยเป็นปลากินอาหารตอนกลางคืน โดยอุปนิสัยและ กินอาหารจุกว่าตอนกลางวัน

2.ส่วนการฟักไข่อีกวิธีหนึ่ง คือนำไข่ที่ผสมแล้วไปโรยไว้ให้เกาะติดกับอวนมุ้งไนลอนสีเขียวที่เตรียมไว้ โดยโรยไข่ให้กระจายติดตาข่ายอย่าง สม่ำเสมอ เมื่อฟักไข่เป็นตัวแล้วให้ลดระดับน้ำลงต่ำกว่าอวนมุ้งไนลอนประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นยกอวนมุ้งไนลอนซึ่งมีไข่เสียและเปลือกไข่ออกจากบ่อเพื่อป้อง กันน้ำเน่าเสีย แล้วเติมน้ำให้เท่ากับระดับเดิม การฟักไข่วิธีนี้ควรจะมีการระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี สำหรับเกษตรบางรายสามารถจัดระบบการหมุนเวียน น้ำได้ดีโดยโรยไข่ที่ผสมแล้วให้เกาะติดกับถังซีเมนต์ไปเลยก็ได้ การฟักไข่วิธีหลังนี้จะต้องใช้พื้นที่บ่อมาก ข้อสังเกต หากน้ำในบ่อไม่เน่าเสียลูกปลาดุกอุยที่ไข่แดง ยังไม่ยุบจะซุกตัวกันเป็นกระจุกอยู่ตามมุมบ่อ แต่ถ้าหากน้ำเน่าเสียปลาจะลอยตัวและไหลไปตามน้ำการเพาะฟัก ในปัจจุบันนิยมวิธีที่ 2

การอนุบาล
มีวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม. ความจุของบ่อขนาดดังกล่าวสามารถอนุบาล ลูก ปลาได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและการถ่ายน้ำ อาหารที่ให้คือไรแดง ในระยะเริ่มต้นหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3 วัน หลัง จากนั้นจะทยอยให้กินอาหารสำเร็จรูปพวกพาวเดอร์ฟีด(powder-feed)หรือไข่ตุ๋น อนุบาลลูกปลาประมาณ 12-15 วัน ลูกปลาจะมีขนาด2-3 ซม.สามารถ นำไป เลี้ยงเป็นปลาเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการอนุบาลที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่ง คือ การอนุบาลในบ่อดินทั่วๆ ไป ขนาด 400-1,600 ตารางเมตร
ในระยะแรกเติมน้ำเข้าบ่อที่ใส่ปูนขาวและกำจัดศัตรูปลาเรียบร้อยแล้วให้ระดับ น้ำประมาณ 30-50 ซม. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มขึ้นในระยะ ต่อมาการอนุบาลแบบนี้จะอนุบาลลูกปลาได้จำนวนมากและลูกปลาเติบโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดิยจะเกิดอาหารธรรมชาติมากมายหลายชนิด ส่วนอาหารใช้ ชนิดเดียวกันกับที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์
การให้อาหารควรเน้นให้ระยะเวลาพลบค่ำเป็นหลัก เพราะเวลานี้ลูกปลาจะตื่นตัวมากตามสัญญาณของสัตว์หากินกลางคืน การอนุบาลลูกปลาดุก วัยอ่อนปัญหาหลักคือ โรคปลา เนื่องจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นจะเกิดโรคบ่อยมากจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่อง ความสะอาด การให้อาหารมากเกินไปเศษอาหารจะเหลือ มากเกิดการหมักหมด บางครั้งต้องใช้น้ำยาเคมีและยาปฏิชีวนะเข้าช่วยบ้าง ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาจะเกิดมากในช่วงฝนตกชุกอากาศเย็นลูกปลาจะอ่อนแอ เติบโตช้า เป็นโรคง่าย ตรงกันข้ามหากอนุบาลในช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนฝนไม่ตกติดต่อกัน ลูกปลาดุกจะกินอาหารได้มากและเติบโตเร็ว แตกต่างกับการเลี้ยงใน ช่วงฤดูฝนตกชุกซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปลาดุกจะกลัวฝนและชอบอากาศร้อน
ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาดุกอุยและการนำลูกปลาดุกมาเลี้ยง ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเช่นกันในช่วงระยะเวลาที่ฝนตกชุกบางครั้งจำเป็นต้อง ใช้ปูนขาว ละลายน้ำสาดให้ทั่วๆ บ่อควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำให้ปกติซึ่งจะใช้ในอัตราส่วน 60 กก./ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งๆ ละ 20 กก./ไร่ ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและความเป็นกรดของน้ำลดลง การอนุบาลในบ่อดินนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะได้ลุกปลามีขนาดความยาว 5-7 ซม. ทยอยนำออกจำหน่ายหรือเลี้ยงต่อไป

ข้อควรระวัง
ในการอนุบาลลูกปลาทั้งสองวิธีข้างต้นอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องกำจัดลูกปลาดุกอุยรุ่นก่อนๆ ให้หมด หากมีการใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาซ้ำหรือการใช้ลูกปลาดุกอุยที่มีอายุและขนาดต่างกันมาเลี้ยงรวม กัน ลูกปลาจะเสียหายมากเนื่องจากการกินกันเอง ฉะนั้นตามซอกมุมรอยแตกหรือที่ๆ มีน้ำ ขังเพียงเล็กน้อยในการล้างทำความสะอาดบ่อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะบ่อดินมักจะกำจัดปลารุ่นก่อนๆ ไม่หมดปลารุ่นหลังจะถูกปลารุ่นก่อนๆ กัดกินเสียหายเป็น จำนวนมากและเช่นเดียวกันหากการอนุบาลใช้ระยะเวลามากกว่าที่กล่าว ลูกปลาตัวใหญ่จะกินลูกปลาตัวเล็ก เนื่องจากปลามีการเจริญเติบโตแตกต่างกันทำให้ลูกปลา เหลือน้อยมีปริมาณลดลงตามลำดับการเลี้ยงปลาดุกในระยะแรกๆ ที่มีการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยขึ้นมาได้ใหม่ๆ และอนุบาลลูกปลาให้มีขนาด 2-3 ซม.แล้วจึงนำลูกปลา ไปเลี้ยงในบ่อดินอัตราการปล่อยค่อนข้างหนาแน่น ประมาณ 10-20 ตัวต่อตารางเมตรหรือ 16,000-32,000 ตัวต่อไร่ หรืออาจมากกว่านี้ ความหนาแน่นที่พอ เหมาะนอกจากจะหวังผลในแง่ของผลผลิตต่อไร่แล้วยัง มีผลต่อการกินอาหารของปลาในบ่อมาก เพราะลูกปลาจะเหนี่ยวนำพากันกินอาหาร ได้ดีซึ่งเป็นธรรมชาติของปลาทั่วๆไปอาหารที่ให้กับการ เลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อดินนี้เช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนและจะทยอยปน ใส้ไก่หรืออื่นๆที่ราคา ถูก และหาได้ตามท้องถิ่นให้ทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะ เวลาต่อมา สำหรับการเปลี่ยนอาหารจะต้องหัดให้ปลากินโดยใช้ระยะเวลาพอสมควร ในกรณีที่เป็น อาหารสดจำพวกปลาเป็ดนำมาผสมรำละเอียด อัตราส่วน 9:1
ปลาอายุ 41-60 วัน ให้อาหาร 6-8% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 61-80 วัน ให้อาหาร 5-6% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 81-120 วัน ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักปลา
การตรวจสอบในบ่อว่ามีปลามากน้อยเพียงใด เพื่อจัดปริมาณอาหารให้ตามที่กำหนด พร้อมทั้งหมั่นสังเกตว่าอาหารที่ให้ปลา กินเหลือตกค้างในบ่อหรือไม ่อาหารที่เหลือจะลอยเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ แสดงว่าปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึง ต้องลดปริมาณอาหาร

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เมื่อเลี้ยงปลาไประยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกจากตัวปล และเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจำเป็นต้องมีการ เปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้าแทนที่ทั้งนี้การถ่ายเทน้ำอาจสังเกตว่า ถ้าปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอย อยู่ในบ่อมากก็แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายเทน้ำ หรือน้ำในบ่อมีกลิ่นเหม็นมากสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมต้องรีบ เปลี่ยนน้ำทันที หากไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ใน ช่วงนั้นควรใช้เกลือแกงอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้น 3-4 วัน จึงเปลี่ยนน้ำใหม่
การถ่ายเทน้ำในบ่อจะไม่บ่อยครั้งเมื่อปลามีขนาดเล็กควรใช้วิธีการเพิ่มน้ำทด แทน ปลาที่เติบโตขึ้นการถ่ายเทน้ำแต่ละเดือนก็จะมากขึ้นตามไป ด้วยและถ้าปริมาณน้ำฝนไหลลงบ่อมากๆ ควรระบายน้ำออกจากบ่อประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ต่อจากนั้นใช้เกลือแกงในอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่สาดให้ทั่วบ่อ

การป้องกันโรค
หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงและใช้ฟอร์มาลีนสาดกระจายทั่วบ่อความเข้มข้น 25-40 ส่วนล้าน สองสัปดาห์ทำซ้ำอีกครั้งเพื่อ กำจัดพวกปลิงใสที่เกาะอยู่ตามเหงือกและครีบ ครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 เดือน

ผลผลิต
ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุกแล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน

การเลี้ยงปลาดุกอุยชนิดเดียวกันนี้จะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่ง แล้วหายไป ต่อมามีการนำปลาดุกอุยไปปล่อยเลี้ยง รวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาช่อน แต่จะปล่อยปลาดุกอุยตัวโต โดยไม่ได้ปล่อยปลาดุกอุยลงเลี้ยงเป็นปลาหลักเพียงแต่ปล่อยลงไปสมทบใน ปริมาณไม่มากนักก็จะได้ปลาขนาดใหญ่สีสันดีขึ้นไม่แตกต่างจากปลาธรรมชาติและ จำหน่ายได้ราคาดี เกษตรกรบางรายนำปลาดุกอุยไปปล่อย ร่วมกับในนาปลาสลิดโดยหวังผลข้างต้น ซึ่งได้ปลดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศมักนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก รัสเซียหรือปลาดุกอัฟริกัน เพศผู้กับปลาดุกอุยเพศเมียปลาดุกลูกผสมที่ได้จะเติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคสูง รูปร่างสีสันดีและเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย การเลี้ยงปลาชนิดนี้ปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จยึดเป็นอาชีพหลักได้ทำให้การเลี้ยงแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่หาอาหารปลาได้ง่ายราคาถูกและฝนไม่ตกชุกมากนัก จนกระทั่ง ปัจจุบัน ปลาดุกบิ๊กอุยได้เข้ามาแทนที่การเลี้ยงปลาดุกด้านอย่างสิ้นเชิง และไม่พบผู้เลี้ยงปลาดุกด้านเป็นการค้าซึ่งในอดีตมีอยู่มากมายได้หายไปหมด สิ้นจากประเทศ ไทยในขณะนี้

โรคปลาดุกอุย
โรคที่เกิดจากขึ้นกับปลาดุกอาจเกิดจากการขาดสารอาหารเช่น วิตามิน โรคที่เกิดจากพยาธิประเภทปลิงใส เชื้อรา และโรคที่เกิดจากบักเตรีแอโรโม นาส

การรักษาและการป้องกัน
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีโดยให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของ น้ำ ความเป็นกรดเป็นด่างและเตรียมสารเคมี อาทิ ปูนขาว เกลือแกง เพื่อปรับสภาพน้ำ

ต้นทุนการเลี้ยง
ต้นทุนการเลี้ยงปลาแบ่งอกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าที่ดิน ค่าเช่า สิ่งก่อสร้าง ค่าแรงงานประจำ อุปกรณ์ราคาแพงและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ต้นทุนส่วนนี้จะคงที่ไม่ว่าผล ผลิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าได้ผลผลิตมากต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมก็จะลดน้อยลง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลผลิตต่ำต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นซึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่มักลืมนึกถึงต้นทุนส่วนนี้
2.ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าพันธุ์ปลา ค่าอาหาร สารเคมี ยา น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น กระแสไฟฟ้า ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแรงงานชั่ว คราวและภาชนะอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ ต้นทุนผันแปรนี้เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่น โดยพบว่าต้นทุนค่าอาหารจะสูงถึง 70-85% ของต้นทุน ทั้งหมด

การตลาด
การตลาด เป็นปัญหาใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด ตลาดปลาดุกนั้นเป็นในลักษณะที่มีคนกลางเป็นผู้ตระเวนจับปลาโดยตรงจากบ่อ เลี้ยงแล้วนำไปส่งพ่อค้าขายปลีดตามที่ต่างๆ ตลาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ผู้จับปลามี บทบาทค่อนข้างสูงในการกำหนดราคาปลาร่วมกับความต้องการของตลาด ราคาปลาดุกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดและฤดู กาล โดยทั่วไปพบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ราคาปลาดุกมักจะราคาถูกเนื่องจากมีปลาธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก การเพิ่มปริมาณและมูลค่าก็คือการ ขยายตลาดต่างประเทศ การถนอมและแปรรูปในลักษณะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง

ที่มา: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=380&s=tblanimal











ภาพวิธีการสร้างบ่อปลาดุกด้วยท่อซีเมนต์
หลังจากได้มีการออกอากาศเทปโทรทัศน์ รายการ ลุงเกษตร (ขออภัย เวปมาสเตอร์จำขื่อรายการไม่ได้แต่ก็ประมาณนี้ครับ) ได้มีผู้ให้ความสนใจโทรมาขอเอกสาร และวิธีการาร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกจำนวนมาก เวปมาสเตอร์ได้มีโอกาสไปบ้าน จึงได้รวบรวมภาพการสร้างบ่อในแฟ้มภาพเก่าๆ มานำเสนอ เพื่อให้เห็นวิธีการที่ชัดเจนขึ้น คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ให้ความสนใจ สำหรับประมาณการราคาค่าก่อสร้างบ่อเลี่ยง ประมาณ 300-400 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือราคาท่อซีเมนต์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ
ขั้นตอนแรก
เลือกพื้นที่ ที่จะสร้างบ่อเลี้ยง อาจจะเลือกสถานที่ ที่มีร่มเงาเนื่องจากจะช่วยลดอุณหภูิมของน้ำในบ่อเลี้ยง และจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสแลนมาทำร่มเงาในการควบคุมอุหภูมิของนำ้ (กรณีที่ไม่มีสถานที่เป็นร่มเงาได้) หลังจากเลือกสถานที่เรียบร้อยแล้ว ก็นำท่อมาวางในตำแหน่งที่ต้องการ และนำดิน หรือทราย มารองพื้นในท่อพอประมาณ โดยให้เกลี่ยเป็นลักษณะรูปกรวย ให้มีศูนย์ของกรวยตรงศูนย์กลางของวงรอบท่อซีเมนต์ แล้วราดน้ำ และอัดดิน/ทรายให้แน่นเพียงพอที่จะไม่ทำให้ทรุดเมื่อลาดซีเมนต์ ตามรูป ครับ
ขั้นตอนที่สอง
ขั้นตอนนี้เป็นการวางท่อระบายน้ำซึ่ึ่งมีความจำเป็นเนื่องจากปลาดุกจะตายเมื่อน้ำเสียอันเกิดจากการให้อาหาร โดยนำข้องอ ที่ต่อกับท่อระบายน้ำ วางลอดใต้บ่อซีเมนต์ โดยวางตำแน่งข้องอตรงกรวยที่ได้ทำเมื่อขั้นตอนแรก ตามรูป นะครับ ทั้งนี้ ท่อระบายน้ำควรมีความยาวยื่นออกนอกบ่อพอประมาณ ที่จะใส่ข้องอ ได้อีก
ขั้นตอนที่สาม
ปูพื้นซีเมนต์ให้เป็นรูปกรวย เพื่อประโยชน์การทำความสะอาดบ่อได้สะดวก
ขั้นตอนที่สี่
การต่อท่อระบายน้ำทิ้งนอกบ่อ ให้ใช้ข้องอต่อโดยไม่ต้องใช้กาว วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถขยับท่อระบายน้ำเสียได้ และต่อท่อกับข้อ งออีกครั้งเพื่อเป็นคันโยก แต่หน้าที่ท่อคันโยกมีความสำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ท่อดังกล่าว จะทำหน้าที่รักษาระดับน้ำในบ่อ ตามความต้องการ และขนาด/*ปริมาณปลา ตั้งแต่ลูกปลา จนถึงขนาดปลาที่โตเต็มที่ (ลูกปลาครั้งแรกปล่อยใช้้ระดับน้ำไม่เกินครึ่งบ่อ) เมื่อต้องการปล่อยน้ำทิ้งท่านต้องการระดับน้ำในบ่อระดับใด ท่านก็ยกคันโยกไว้ที่ระดับต้องการ
ขั้นตอนที่ห้า
ยินดีด้วยครับ... เสร็จแล้วครับ แช่น้ำเพื่อล้างบ่อประมาณ 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ก่อนปล่อยลูกปลา นะครับ หากไม่แช่น้ำไว้ เดี่ยวลูกปลาจะตายเนื่องจากมีสารซีเมนต์ละลายออกมาครับ
ส่งท้าย.....ด้วยปลาที่เ้ลี้ี่ยง ท่านอาจจะทยอยลดอาหาร และใช้พืชแทนอาหาร เป็นปลามังสวิรัต ก็ได้นะครับ แต่ต้องทยอยให้นะครับ ลดค่าใช้จ่ายซื้ออาหารปลาได้อีกระดับ แต่ที่สำคัญ แนวคิดการเลี้ยงปลาแบบนี้ เป็นการใช้เวลาว่างสันทนาการในครอบครัวนะครับ เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในครอบครัวและลดรายจ่ายในครอบครัว ส่วนที่เกินจากเป็นอาหารในครอบครัวอาจจะขายเพื่อนบ้าน เพื่อการสร้างความสมานฉันฺท์ของคนในหมู่บ้านนะครับ >>ขอให้มีความสุขและประสบความสำเร็จในการเลีียงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ นะครับ