วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่ง พด.-1 และวิธีการต่อเชื้อ


โครงการปรับปรุงดินด้วยอินทรียววัตถุ ได้ดำเนินการผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ย่อยเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และให้ใด้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและ ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สารเร่งที่ทางกรมพัฒนา ที่ดินผลิตนี้ คือ พด.-1 สารเร่งชนิดนี้ประกอบ ด้วย เชื้อจุลินทรีย์รวมกันหลายสายพันธุ์ อยู่ในสภาพแห้งซึ่งสะดวกแก่การนำไปใช้และ การเก็บรักษา มีคุณสมบัติ โดยสังเขปดัง ต่อไปนี้

สารเร่งพด.-1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ เป็น เชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ ประเภทรา บักเตรี และ แอคติโมมัยซีส ซึ่งสามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมัก ใช้ได้อย่าง รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ช่วยประหยัดเวลาในการทำ ปุ๋ยหมัก และสามารถนำปุ๋ยหมักไปให้ทันกับความต้องการ และได้ปุ๋ยหมัก ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เพราะเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นพวก ที่ทำการย่อยเศษพืชได้ดีในสภาพที่กองปุ๋ยมีความร้อนสูง สภาพดังกล่าว จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ได้ กรมพัฒนาที่ดินได้นำสาร เร่งนี้มาทดลองเพื่อย่อยเศษพืช ปรากฏว่าสามารถย่อยฟางข้าวใหม่ให้เป็น ปุ๋ยหมักใช้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30-45 วัน และกากอ้อยซึ่งสลายตัวยาก เป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ไม่เกิน 60 วัน และได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์และมีคุณภาพดี

ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก
เศษพืชแห้งหรือวัสดุอื่น ๆ
1,000
กก.หรือ 1 ตัน
(ประมาณ 8-10 ลบ.ม.)
มูลสัตว์
200
กก.
ยูเรีย
2
กก.
สารเร่ง พด.-1
150
กรัม (1 ถุง)

วิธีการกองปุ๋ยหมัก
นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 4 ส่วน (ในกรณีที่กอง 4 ชั้น) โดยเมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จ ควรมีขนาดของกองกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. นำวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ส่วนแรกมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม 2. นำมูลสัตว์โรยบนชั้นของวัสดุให้ทั่ว สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นนี้ จะใช้มูลสัตว์ชั้นละประมาณ 50 กก. รดน้ำให้ชุ่ม 3. นำปุ๋ยยูเรียโรยลงบนชั้นของมูลสัตว์ สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นจะ.โรยยูเรียชั้นละประมาณ 0.5 กก. รดน้ำอีกเล็กน้อย 4. นำสารเร่ง พด.-1 จำนวน 150 กรัม (1 ถุง) มาละลายน้ำ 20 สิตร แล้วคนให้สารเร่งละลายให้ทั่วกัน ประมาณ 15 นาที แล้วแบ่งไว้ 5 ลิตร นำไปรดให้ทั่วชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อไป 5. นำวัสดุกองทับลงบนชั้นแรกของกองปุ๋ยหมัก แล้วปฏิบัติแบบเดียว กับการกองปุ๋ยหมักชั้นแรก ดำเนินการจนกระทั่งครบ 4 ชั้น โดยชั้นบนสุด ควรโรยทับด้วยมูลสัตว์ หรือดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ทั่วผิวหน้าของกองปุ๋ยหมัก สำหรับการใช้ฟางข้าวทำปุ๋ยหมัก จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปต่อเชื้อสำหรับกองปุ๋ยหมักกองใหม่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามความต้องการต่อไป

"การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ"
การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ หมายถึง การทำปุ๋ยหมักโดยใช้ ปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารตัวเร่งสำหรับการ กองปุ๋ยหมักครั้งใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ทุกครั้ง ที่ทำปุ๋ยหมัก การนำเอาปุ๋ยหมักจากกองเดิมมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักครั้งใหม่นี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำปุ๋ยหมักที่ทำใด้มาใช้เป็น ต้นเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักกองเดิม ยังคงมีชีวิตอยู่ แลยังมีความสามารถที่จะย่อยสลายเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักใน คราวถัดไปได้อีก การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อ นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ยหมักได้เป็น อย่างดี แต่เกษตรกรจะต้องมีการดูแลและเก็บรักษาปุ๋ยหมักที่จะนำไปต่อเชื้อนี้ ให้อยู่ในสภาพที่ดี คือ จะต้องไม่ทิ้งตากแดดตากลม และควรให้มีความชื้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักด้วย

วิธีการกองปุ๋ยหมักโดยการต่อเชื้อ
นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักตามที่กล่าว ข้างต้นมาแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน (ในกรณีที่กองปุ๋ยหมัก 4 ชั้น) และเมื่อกอง ปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว ควรมีขนาดกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้ คือ

1. นำเศษวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมักมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง ประมาณ 2-3 เมตร สูงประมาร 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม 2. นำปุ๋ยหมักที่หมักได้ 15 วัน หรือปุ๋ยหมักทีเป็นแล้วส่วนแรกโรย ที่ผิวบน ของเศษวัสดุที่กองไว้ชั้นละ 50 กิโลกรัม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้ถึงกับแฉะมากเกินไป 3. นำปุ๋ยเคมีโรยให้ทั่วผิวบนของเศษวัสดุ 4. สำหรับการกองปุ๋ยหมักในชั้นต่อไป ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กอง ในชั้นแรก และทำการกองจนครบ 4 ชั้น ชั้นบนใช้ดินทับ หนา 1 นิ้ว และทำการกลับกองปุ๋ยทุก 7-10 วัน การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อนี้ ถ้าใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุ ในการทำปุ๋ยหมัก สามารถทำได้ตามวิธีการที่กล่าว รวมถึงมีการปฏิบัติ และดูแลรักษาอย่าถูกขั้นตอนจะใช้เวลา ประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถ นำปุ๋ยหมักไปใช้ได้แล้ว ปุ๋ยหมักที่ได้จากการต่อเชื้อนี้ ถ้าจะนำไปใช้ต่อเชื้ออีก ในเมื่อต้องการจะทำ ปุ๋ยหมักในครั้งต่อไป ก็กระทำต่อไปได้แต่ไม่ ควรทำเกิน 3 ครั้ง ดังภาพ
แผนภาพแสดงส่วนประกอบของการทำปุ๋ยหมักแบบต่อเชื้อ แผนภาพแสดงการผลิตปุ๋ยหมักแบบต่อเชื้อ

การปฏิบัติและการดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

การรดน้ำกองป๋ยหมัก ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ความชื้นภายในกองปุ๋ยหมักอยู่ใน ระดับที่เหมาะสม คือ ประมาณ 50-60% (โดยน้ำหนัก) ในทางปฏิบัติ อาจสังเกตเห็นได้โดยไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป เพราะถ้าความชื้นในกอง ปุ๋ยหมักน้อยเกินไป จะทำให้ขบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นได้ช้า และถ้าความชื้น ในกองปุ๋ยหมักมากเกินไป จะมีผลต่อการระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก จะทำให้เกิดสภาพการขาดออกซิเจน ขบวนการย่อยสลายก็จะเกิดขึ้นได้ช้า เช่นกัน การกลับกองปุ๋ยหมัก ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยหมัก ช่วยลดความร้อนภายในกองปุ๋ยหมักและยังเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเชื้อจุลินทรีย์ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการย่อยสลายเศษพืชเหล่านี้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ เป็นพวกที่ต้องการอากาศ โดยเชื้อจุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในระบบการสร้าง พลังงาน ระยะเวลาในการกลับกองปุ๋ยหมักนั้น ยิ่งบ่อยครั้งยิ่งดี แต่ปฏิบัติ ประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง การรัษาความชื้นภายในกองปุ๋ยหมัก ในกรณีที่กองปุ๋ยหมักอยู่กลางแจ้ง กองปุ๋ยจะได้รับความร้อนโดยตรง จากแสดงแดด ทำให้น้ำระเหยออกจากกองปุ๋ยหมักได้เร็วกว่าในโรงเรือน อากจะต้องมีการรดน้ำ เพื่อรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยหมัก ให้เหมาะสม หรืออาจจะใช้วัสดุบางประเภทปิดคลุมบนกองปุ๋ยหมัก เพื่อลดการระเหยของน้ำ ได้บางส่วน เช่นแผ่นพลาสติก ใบทางมะพร้าวแห้ง เป็นต้น

หลักในการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว คือ
- สีของวัสดุ สีของวัสดุเศษพืชหลังจาก เป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะมีสีน้ำตาลเข้ม จนถึงสีดำ - ลักษณะของวัสดุ เศษพืชที่เป็นปุ๋ยหมัก ที่สมบูรณ์จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม และเปื่อยยุ่ย - กลิ่นของวัสดุ ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะไม่มีกลิ่นเหม็น หรือกลิ่นฉุน - ความร้อนภายในกองปุ๋ยหมัก จะมีลักษณะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น