วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเจริญเติบโตของรากอ้อย แลการใส่ปุ๋ย

ปุ๋ย N-P-K และหน้าที่

ทำความเข้าใจเบื้องต้น - สูตรปุ๋ยที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด เช่น 15-15-15/ 46-0-0 / 25-7-7/ 16-20-0/ 13-13-21/ เป็นต้น

ทำไมต้องมีตัวเลข 3 กลุ่ม หรือ 3 ชุด : เป็นตัวเลขที่แสดงค่าธาตุอาหารหลักที่อ้อยต้องการ 3 ชนิด คือ

ตัวเลขกลุ่มหน้า หมายถึง ค่าธาตุไนโตรเจน (N) : มีหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ
ตัวเลขกลุ่มกลาง หมายถึง ค่าธาตุฟอสฟอรัส (P) : มีหน้าที่ช่วยในการสร้างระบบรากให้แข็งแรง
ตัวเลขกลุ่มหลัง หมายถึง ค่าธาตุโพแทสเซียม (k) : มีหน้าที่ช่วยทำให้ส่วนปลายราก (หมวกราก) - แข็งแรง + ช่วยทำให้ใบอ้อย
สร้างสีเขียวได้ดี + ช่วยให้อ้อยสร้างน้ำหนัก และสะสมน้ำตาลในลำ
(สูญเสียน้ำหนักหลังตัดช้า และน้อยกว่า /css. ดี)

การสร้างรากอ้อย

  • ระบบรากอ้อยที่สมบรูณ์ จะต้องประกอบด้วยรากจำนวน 4 ชุด
          • รากแท้ เกิดจากหน่อและลำต้นจริงของอ้อย : เป็นท่อส่งน้ำและอาหารสู่ลำต้น และใบ
          • รากแขนงชุดที่ 1 แตกจากรากแท้ : เป็นท่อส่งน้ำ และอาหาร สู่รากแท้
          • รากแขนงชุดที่ 2 แตกจากรากแขนงชุดที่ 1 : เป็นรากที่ดูดความชื้น และธาตุอาหารสู่รากแขนงชุดที่ 1
          • รากขนอ่อน ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า : เป็นรากที่ดูดความชื้น และธาตุอาหารจากในดิน
  • ปัจจัยที่รากอ้อยชอบ สำหรับการเจริญเติบโต
    • ดินร่วยซุย ไม่อัดแน่น ทำให้รากอ้อยแตกแขนง และหยั่งลึกได้ดี ทนแล้ง
    • ธาตุฟอสฟอรัส (P) ทำให้รากอ้อยแข็งแรง สมบูรณ์
  • ระดับความลึกของการปลูกอ้อยใหม่ ที่เหมาะสำหรับการสร้างรากอ้อยที่แข็งแรง
    • ปลูกลึกจากระดับผิวดินปกติ 15 เซนติเมตร (ไม่นับความสูงของสันร่องอ้อย) คือความลึกที่สร้างรากแข็งแรง หน่ออ้อยสมบรูณ์
    • การพูนโคนอ้อย จะช่วยสร้างรากอ้อยชุดที่ 2 จากข้ออ้อยบริเวณกกของลำอ้อย ทำให้อ้อยไม่ล้มง่าย หน่ออ้อยตอแข็งแรง

ตำแหน่งการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง

อ้อยปลูกใหม่
  • ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นปลูก สูตร 16 - 20 - 0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ ต้องใส่ทุกครั้งที่ปลูกอ้อย (ทั้งแบบแรงงานคน และ เครื่องปลูก)
  • ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยด้วย M.P.I. ใส่ปุ๋ยสูตร ครบทั้ง N - P - K
      • ระยะเวลาที่เหมาะสม อ้อยข้ามแล้ง, อ้อยข้ามแล้งน้ำราด : ใส่เมื่ออายุ 1 - 1.5 เดือน ก่อนรากอ้อยเจริญเติบโตมาถึงกัน
        ทำให้รากอ้อยขาด อ้อยชะงักการเจริญเติบโต
        อ้อยฝน : ก. ใส่หลังอ้อยงอกเต็มแถวแล้ว ป้องกันอ้อยเสียหาย
        ข. ใส่หลังฉีดยาคุม หากมีวัชพืชขึ้นก็จะขึ้นเฉพาะบริเวณรอยล้อรถไถ
        สามารถพรวน หรือใช้แรงงานคนเก็บได้
        ค. ใส่หลังปลูกเสร็จทันที (ต้องมั่นใจว่าปลูกแล้วไม่เสียหาย) แล้วฉีดยาคุมตามอีกที
    การใส่ปุ๋ยในอ้อยตอ
  • ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยด้วย M.P.I. ใส่ปุ๋ยสูตร ครบทั้ง N - P - K
    • ระยะเวลาที่เหมาะสม : ใส่ปุ๋ยด้วย M.P.I. เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดอ้อยเข้าหีบ ต้นหีบ กลางหีบ และปลายหีบ รวมถึงอ้อยตอที่ตัดพันธุ์

  • ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยด้วยคราดสปริติดถังปุ๋ย, คราดขาแข็ง หรือซับซอยเลอร์ติดถังปุ๋ย โดยใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 1 คืบ ลึก 15 เซนติเมตร
    • ระยะเวลาที่เหมาะสม : เมื่อฝนแรกของฤดูกาลตกลงมา เพียงพอที่จะทำให้หน้าดินนุ่ม พรวนฝังปุ๋ยลึก 15 เซนติเมตรได้ พรวนแล้วมีดินกลบปุ๋ยได้ดี
    เหตุผลการใส่ปุ๋ยแบบโครงการ F.D.P.
    • เป็นวิธีการสร้างรากอ้อยที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของอ้อยทั้ง 3 ฤดูกาล
    • เป็นวิธีที่ใส่ปุ๋ยฝังลงไปในดินทุกครั้ง อ้อยจะได้รับประโยชน์โดยตรง
    • เป็นวิธีที่ช่วยลดต้นทุนจากการสูยเสียปุ๋ย ถ้าเทียบกับการใส่ปุ๋ยตื้น หรือใส่ปุ๋ยบนดิน เพราะใส่ได้ดินมีดินกลบ
    • เป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการกำจัดวัชพืช เนื่องจาการใส่ปุ๋ยที่ลึกกว่าระดับของรากหญ้าปกติ ที่ลึกประมาณ 5 - 7 เซนติเมตร
      และสามารถพรวนกำจัดได้ ไม่กระทบกับรากลึก และปุ๋ยที่ใส่ไว้
ปัจจัยพื้นฐานที่อ้อยต้องการ
  • ดิน : พื้นที่สำหรับปลูกอ้อย, เป็นที่ยึดเกาะของรากอ้อย, ที่อยู่ของความชื้นและธาตุอาหาร
  • น้ำ : ความชื้นที่ได้รับจากน้ำฝนแต่ละปี
  • ธาตุอาหาร(ปุ๋ย) : ธาตุอาหารที่ใส่ให้กับอ้อยจากสูตรปุ๋ยที่เลือกใช้
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อย
  • แสงแดด : ใช้สำหรับสังเคราะห์แสงสร้างการเจริญเติบโต และสร้างน้ำตาลในลำอ้อย
ก. หลักการใส่ปุ๋ยโดยการใช้ M.P.I
ประโยชน์ เพื่อนทำลายชั้นอัดแน่นของดิน หรือที่เรียกว่า ดินดาน อาจเกิดมาจากการที่รถบรรทุกอ้อยออกจากแปลงหลังตัดอ้อย, จากการใช้ รถไถในไร่อ้อยหลายๆคร้ั้ง หรือจากธรรมชาติของดิน เพราะเมื่อทำลายชั้นอัดแน่นของดินแล้ว เราจะสร้างปัจจัยอย่างหนึ่งที่รากอ้อยชอบ คือ ดินร่วยซุย รากสามารถชอนไช หยั่งลึกได้ และวิธีนี้ยังสร้างปัจจัยที่รากอ้อยชอบอีกอย่างหนึ่ง คือ ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ ฟอสฟอรัส (P) ด้วย
เปรียบเทียบการใส่ปุ๋ยในการบำรุงรักษาอ้อย กับระยะเวลาเจริญเติบโต
จากภาพแสดงการเจรญเติบโตของอ้อยระยะเวลา 52 สัปดาห์ จะเห็นว่าอ้อยช้เวลาเติบโตประมาณ 42 สัปดาห์ และอีกประมาณ 10 สัปดาห์ เป็นช่วงที่อ้อยเริ่มสะสมน้ำตาลในลำอ้อย นี่คือการเจริญเติบโตของอ้อยที่เป็นปกติ สมบูรณ์
แต่ถ้าอ้อยไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ช่วงแรกๆ หลังปลูกหรือหลังตัดอ้อย ก็เหมือนกับปล่อยให้อ้อยเจริญเติบโต ตามธรรมชาติ โดยจะอาศัย ความชื้น ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินซึ่งเมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมาก็ใช้ไประดับหนึ่งแล้ว แล้วอ้อยเจริญเติบโตดีเท่ากับอ้อยที่ได้รับปุ๋ยอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ?
การใส่ปุ๋ยอ้อยตอหลังตัดที่เร็วกว่า นอกจากจะเป็นการให้ธาตุอาหารต่ออ้อย และสร้างระบบรากแล้ว ยังถือเป็นการลดงานที่จะทำในฤดูฝนลง
เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว พี่น้องชาวไร่อ้อย เมื่อฤดูฝนมาถึง งานที่จะทำก็คือ
  • ปลูกอ้อย ถ้ามีแปลงที่จะปลูกอ้อยฝน ชาวไร่ก็จะเลือกปลูกก่อนสมอ
  • ฉีดยากำจัดวัชพืช ถ้ามีฝนตกลงมาปัญหาวัชพืชในแปลงอ้อยก็จะเริ่มมีปัญหา ชาวไร่ก็จะฉีดยาก่อน
  • ใส่ปุ๋ยอ้อย ก็จะเป็นตัวเลือกอันดับ 3 เสมอ ดังนั้นจึงกระทบต่อช่วงการเจริญเติบโตของอ้อย

การใช้สารเคมีในไร่อ้อย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในไร่อ้อย จะแนะนำให้ทราบถึงชนิดของสารเคมีที่คยนิยมใช้ในไร่อ้อย จำนวน 5 ชนิด คือ
  • อามีทรีน ยาคุม และฆ่า หน้าที่ - ควบคุมกำจัดหญ้า และวัชพืชใบกว้าง
    - กำจัดวัชพืชขนาด 3-4 ใบ โดยไม่ต้องใช้พาราควอท
    - ควรฉีดให้สัมผัสดินมากที่สุด , เป็นสารเคมีคุมวัชพืช
  • อาทราซีน ยาคุม และฆ่า หน้าที่ - ควบคุมกำจัดหญ้า และวัชพืชใบกว้าง
    - กำจัดวัชพืชขนาด 3-4 ใบ โดยไม่ต้องใช้ 2,4 ดี และพาราควอท
    - ควรฉีดให้สัมผัสดินมากที่สุด , เป็นสารเคมีคุมวัชพืช
  • 2,4 ดี หน้าที่ - กำจัดวัชพืชใบกว้าง และหญ้าแห้วหมู
    - เป็นสารดูดซึม (ออกฤทธิ์ 6-8 ชั่วโมง ใบดูดซึมสู่ลำต้น สู่ราก) และคุมวัชพืช
    - ดูดซึมทั้งรากและใบ
  • ทอร์ดอน หน้าที่ - กำจัดวัชพืชใบกว้าง (ที่มีขนาดโต และเนื้อเยื่อคล้ายไม้) และเชือกเถา
    - เป็นสารดูดซึม (ออกฤทธิ์ 6-8 ชั่วโมงหลังฉีด ใบดูดซึมสู่ลำต้น สู่ราก) และคุมวัชพืช
    - ดูดซึมเข้าทางใบ ต้องฉีดพ่นให้สารเคมีสัมผัสใบอย่างทั่วถึง (ชุ่มใบ)
  • พาราควอท(กรัมมอกโซน) หน้าที่ - เป็นสารเคมีชนิดสัมผัสสีเขียวตาย (ไหม้) ภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น
    - ใช้กำจัดวชพืช และหญ้าได้ทุกชนิด แต่ต้องฉีดให้ทั่วถึง
    - สามารถฉีดคุมอ้อยระยะงอกได้ 3 - 4 ใบได้ / หลังฉีด 7 วันอ้อยจะแตกใบใหม่แทน
    - ไม่มีผลตกค้างอยู่ในดิน เมื่อตัวยาสัมผัสดินก็จะเสื่อมสลาย
การลดการใช้สารเคมีในไร่อ้อย
  • อามีทรีน เมื่อหญ้ามีขนาดสูงประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร ก็ไม่สมควรที่จะใช้อามีทรีน เพราะว่าสารที่จะออกฤทธิ์คุม จะไม่โดนฉีดสัมผัสผิวดิน ควรใช้พาราควอทแทนดีกว่า เพราะเราต้องการจะฆ่าหญ้าอย่างเดียว จะช่วยพี่น้องประหยัดค่าใช้จ่ายลงมาก
  • อาทราซีน กรณีมีวัชพืชใบกว้างเกิน 3 - 4 ใบ ก็สามารถผสมยา 2,4 ดี ได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตรายาอาทราซีน
  • การผสมอาทราซีนกับอามีทรีน สามารถที่จะผสมกันได้ ในกรณีที่แปลงอ้อยมีทั้งหญ้า และวัชพืชใบกว้าง แต่ควรที่จะผสมในอัตราอย่างละครึ่ง ไม่ต้อง ผสมเต็มอัตรา เพราะว่าตัวยาแต่ละชนิดจะทำงานสนับสนุนกันอยู่
  • การผสมยาหลายชนิด ขอให้หลีกเลี่ยงการผสมสารเคมีหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็น เป็นสิ่งที่ไม่เป็นผลดีต่อชาวไร่อ้อย เป็นการสิ้นเปลือง และอาจจะทำให้ฤทธิ์ของสารเคมีนั้นรุนแรงข้นกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลกระทบต่ออ้อย
การลดความเสียหายต่ออ้อยจากการใช้สารเคมี
สิ่งที่มีต่อความเสียหายจากการพ่นสารเคมี มี 2 อย่าง คือ
  • การฉีดพ่นด้วยแรงงานคน ที่ถือก้านฉีดพ่นสารเคมีสูงเกิน ถ้าฉีดพ่น ก็จะทำให้ละอองสารเคมีโดนอ้อยมากกว่าวัชพืช และทำให้วัชพืชที่อยู่ใต้ใบอ้อย ไม่ตาย ชาวไร่มักคิดว่าใช้สารเคมีน้อยเกินไป ครั้งต่อไปก็จะเพิ่มอีก ยิ่งกระทบต่อ้อยมากขึ้น // ควรฉีดให้ต่ำ เหมาะกับสภาพความสูงของหญ้า ต้องกำจัด ขณะเป็น ลูกหญ้า
  • หัวฉีดพ่นสารเคมี ควรมีการคัดเลือกหัวฉีดให้ดี ให้มีการฉีดพ่นละอองที่สม่ำเสมอ จะทำให้ใช้ปริมาณยาน้อย และกระทบต่ออ้อยน้อยลงด้วย
การปกป้องดิน สำหรับอนาคต (ที่ยั่งยืน)
1. การปลูกอ้อยฝน
ก. การไถเตรียมดินไม่ดี ไม่ลึกเกินชั้นดินดาน ใช้ผานยกร่องไม่ผ่านชั้นอ้ดแน่น ทำให้เมื่อปลูกแล้ว ฉีดพ่นสารเคมี คุม ฆ่าวัชพืช เมื่อมีฝนตกลงมา ก็จะนำสารเคมีไปขังบริเวณรากอ้อย ตาอ้อย หน่ออ้อย ใหม่ จะส่งลกระทบต่ออ้อย สังเกตุหลังจากฉีดพ่น เมื่ออ้อยงอกขึ้นมาแล้ว อ้อยจะชะงักการเจริญ เติบโต สีใบซีด

ข. แต่ถ้าไถเตรียมดินดี ไถลึกผ่านชั้นดินดาน เมื่อฝนตก สารเคมีก็จะซึมผ่านบริเวณราก ตาอ้อย หน่อ อ้อยใหม่ไปได้ ก็จะลดปริมาณยาตกค้าง ในดินได้ระดับหนึ่ง
2. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด พราะหลังปลูกอ้อยแล้ว ไม่ต้องใช้ยาคุม ฆ่า อะไร จะทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้าง ในแต่ละปี ที่ปลูกอ้อย
3. การใช้ยาอามีทรีน ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าในออสเตรเลีย ผลการทดลองพบว่า ถ้าใช้อามีทรีน ในอัตราที่ไม่ถูกต้อง
(มากเกินที่ผู้ผลิตบอกไว้) จะมีสารตกค้างอยู่ในดิน และตกค้างอยู่ในลำอ้อย นาน 9 เดือน ดังนั้นจึงได้ห้าม
การปลูกอ้อยในแปลงนั้นในระยะเวลา 9 เดือน และห้ามตัดพันธุ์ไปปลูก เพราะฤทธิ์ของอามีทรีน
จะส่งผลต่อ อัตราการงอกของอ้อย เพราะอ้อยเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลใกล้กับหญ้า
การลงทุนในการกำจัดวัชพืช ในไร่อ้อย ระยะสั้น และระยะยาว
  • ระยะสั้น หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีที่นำมาใช้ในไร่อ้อยทุกๆ ปี เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น เป็นผลเสียต่อทั้งอ้อยและต่อดิน
    (ผลตกค้างนาน) เสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น ได้ผลผลิตน้อย
  • ระยะยาว หมายถึง การกำจัด และ ควบคุมวัชพืช ในไร่อ้อยด้วยเครื่องมือเกษตร ถือเป็นการลงทุนสำหรับระยะยาว สามารถใช้ได้หลายครั้ง
    ใช้ได้ทั้งใน แปลงอ้อยใหม่ และอ้อยตอ ซื้อแล้วใช้ได้ 10 - 15 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น