วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปลูกพืชบำรุงดิน แบบที่ 1


การดำเนินงานปุ๋ยพืชสด และพืชคลุม
เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน มีเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1. ส่งเสริมเกษตรกรให้รู้จักปรับปรุง บำรุงดิน ด้วยปุ๋ยพืชสดและพืชคลุมให้ได้ ปีละ 25,000 ไร่ โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณา ดำเนินการคามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่ เช่น แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินให้เกษตรกร นำไปปลูกในสวนผลไม้ พืชคลุมดินจะช่วยเพิ่ม ธาตุไนโตรเจนในดิน และป้องกันวัชพืช เศษใบ และต้นของพืชที่ที่ปลูกพืชไร่หรือเป็นนาข้าว หลังเก็บเกี่ยว ดินมีความชื้นพอเหมาะที่จะปลูก พืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบ บำรุงดิน 2. สาธิตการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมให้ได้ปีละ 2,000 ไร่ โดยเลือกวิธี การให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตในแต่ละ ท้องที่ เช่น ในสวนผลไม้จะสาธิตการใช้พืช ตระกูลถั่วปลูกคลุมดินและในไร่นา


จะสาธิต การปลูกพืชปุ๋ยสดไถกลบบำรุงดิน หลังการ เก็บเกี่ยว โดยใช้เวลาปลูกประมาร 2-3 เดือน เมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอก ก็ทำการตัดสับ และไถกลบลงไปในดิน 3. ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมโครงการ จะดำเนินการ ผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้พื้นที่ภายในสถานีพัฒนาที่ดิน 7 แห่ง เพื่อแจกจ่าย ให้เกษตรกร


จะสาธิต การปลูกพืชปุ๋ยสดไถกลบบำรุงดิน หลังการ เก็บเกี่ยว โดยใช้เวลาปลูกประมาร 2-3 เดือน เมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอก ก็ทำการตัดสับ และไถกลบลงไปในดิน 3. ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมโครงการ จะดำเนินการ ผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้พื้นที่ภายในสถานีพัฒนาที่ดิน 7 แห่ง เพื่อแจกจ่าย ให้เกษตรกร


การใช้พืชปุ๋ยสดเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากต้นและใบของพืชปุ๋ยสดที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงระยะที่พืช เจริญเติบโตเต็มที่ คือเมื่อพืชเริ่มออกดอก จนถึงดอกบานเต็มที่ ก็ทำการตัดสับแล้วไถกลบ หรือไถกลบลงไปในดินทั้งต้นก็ได้ แล้วแต่ชนิด ของพืช

หลังจากทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยผุพัง ก็จะให้ ธาตุอาหารพืช และเพิ่ม อินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับพืชที่จะปลูกต่อ ๆ ไป พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดนั้น คือพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอเทือง โสน ฯลฯ เพราะพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติ พิเศษ คือที่รากมีปมเรียกว่าปมรากถั่ว ในปมเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์ จำพวก ไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก ไรโซเบียมนี้สามารถดึงธาตุไนโตรเจนจาก อากาศมาใช้ เมื่อพืชเน่าเปื่อย ก็จะเพิ่มธาตุไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดิน

ลักษณะของพืชที่ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด
1. ปลูกง่าย เติบโต และออกดอกใน ระยะเวลาอันสั้น 2. ให้น้ำหนักพืชสดสูง คือมากกว่า 2,000 กิโลกรัม 3. เป็นพืชทนแล้ง ทนต่อสภาพน้ำขัง 2-3 วันได้ และสามารถปลูกได้ทุกฤดู 4. มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี 5. ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก ขยายพันธุ์ได้ รวดเร็ว

6. เก็บเกี่ยว ตัดสับ และไถกลบง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากนัก เพราะไม่สะดวกใน การไถกลบ 7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังเร็ว 8. กำจัดง่าย หรือม่มีลักษณะกระจายพันธุ์เป็นวัชพืช

พืชปุ๋ยสดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. พืชตระกูลถั่ว เหมาะที่จะปลูกเป็นพืช ปุ๋ยสดมากที่สุด เพราะสลายตัวเร็ว เพิ่มอาหาร พืช ให้แก่ดินได้ดี รากเก็บอาหารพืชได้มาก ปลูกง่าย โตเร็ว มีราก ใบ ลำต้นมาก พืชตระกูล ถั่วยังสามารถแบ่งตามความเหมาะสมในการ ปลูกได้ ดังนี้

1.1 ถั่วที่ไถกลบแล้ว เปลี่ยนเป็นปุ๋ยได้รวดเร็วขึ้นได้ในสภาพ พื้นที่ต่าง ๆ กัน เช่น ปอเทือง โสนอินดีย โสนไต้หวัน โสนคางคก ฯลฯ 1.2 ถั่วที่ปลูกคลุมดินในสวนผลไม้ เพื่อปราบวัชพืช ต้นและใบ ร่วงหล่นเป็นปุ๋ยบำรุงดิน เช่น ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราบไร้หนามไร้หนาม คาโลโปโกเนียม ถั่วอัญชัน ถั่วกระด้าง ถั่วพร้า ฯลฯ 1.3 ถั่วที่ให้เมล็ดและฝักเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ หลังจาก เก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลำต้นลงไปในดิน ไม่นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดโดยตรง แต่ถ้าจะใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ก็จะให้น้ำหนักสดต่อไร่ต่ำ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วพรู ถั่วแขก ฯลฯ 1.4 พืชตระกูลถั่วทรงพุ่มหรือยืนต้น นอกจากจะเป็นปุ๋ยพืชสดแล้ว ยังสามารถใช้ประโบชน์อย่างอื่นอีกด้วย เช่น กระถินยักษ์ คราม ถั่วมะแฮะ ขี้เหล็กผี ฯลฯ 2. พืชอื่นนอกเหนือจากพืชตระกูลถั่ว เช่น พืชตระกูลหญ้า ซึ่งส่วนใหญ่ จะให้อินทรียวัตถุแต่มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำกว่าพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นจึงควร หว่านปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบในขณะที่ทำการไถกลบโดยใช้อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ 3. พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอก แหนมแดง เป็นต้น มีการใช้แหนแดง เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ซึ่งสามารถให้ไนโตรเจน 5-6 กิโลกรัมต่อไร่ และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินในอัตราสูงด้วย


การปลูกพืชปุ๋ยสด
การปลูกพืชปุ๋ยสด ควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ 1 ลักษณะของดิน พืชตระกูลถั่วชนิดต่าง ๆ ขึ้นได้ดีใน สภาพดินต่างกัน ฉะนั้นก่อนปลูกต้องปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่น ถ้าเป็นดินเปรี้ยว ควรใส่ปูน ดินทรายควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-16 อัตรา 35 กก.ต่อไร่ หว่านเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก 2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะที่สุด คือ ต้นฤดูฝน หรือ หลังเก็บเกี่ยวพืช ดินยังมีความชื้นอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหรือปักดำ ประมาณ 3 เดือน ช่วงปลายฤดูฝนก็ปลูกได้ถ้าดินยังมีความชื้นอยู่บ้าง 3. วิธีการปลูก มี 3 วิธีคือ ปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว หยอดเป็น หลุม และหว่านเมล็ดลงทั่วแปลง ส่วนใหญ่นิยมวิธีหว่านเมล็ด ซึ่งสะดวกและ ประหยัดแรงงาน ควรไถดะก่อนการหว่านเมล็ด แล้วคราดกลบเมล็ด ถ้าเมล็ด พืชมีขนาดใหญ่ ต้องคราดกลบให้ลึกพอควรจะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด
น้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อ 1
ปอเทือง โสนอินเดีย โสนคางคก ถั่วพร้า ถั่วเขียว
ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม ถั่วข้าว ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า
ไมยราบไร้หนาม คาโลโปเนียม
โสนไต้หวัน
ถั่วขอ
อัญชัน
5
8
2
4
10
3



วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสด
1. ปลูกในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วตัดสับและไถกลบ ก่อนปลูกพืชหลัก 2. ปลูกแซมระหว่างร่องพืชหลัก โดยปลูกพืชปุ๋ยสดหลังจากพืชหลัก โตเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารในดิน เมื่อพืชปุ๋ยสดเริ่มออกดอก จนถึงดอกบานก็ทำการตัดสับและไถกลบลงไปในร่อง 3. ปลูกพืชปุ๋ยสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามหัวไร่ปลายนา แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชปุ๋ยสดนั้นมาใส่ในแปลงพืชหลักไถกลบ


การตัดสับและไถกลบปุ๋ยพืชสด
การตัดสับและไถกลบต้องพิจารณาอายุของพืชเป็นสำคัญ พืชปุ๋ยสด จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจน และน้าหนักพืชสดสูงสุด เมื่อเริ่มออกดอกจนถึง ดอกบานเต็มที่ จึงควรทำการตัดสับและไถกลบในช่วงนี้ ทั้งยังเป็นช่วงที่พืช สลายตัวได้เร็ว ถ้าอายุของพืชเกินช่วงนี้ไป ปริมาณธาตุไนโตรเจนจะลดลง พืชปุ๋ยสดส่วนมากสามารถทำการตัดสับ และไถกลบได้เมื่อมีอายุ ระหว่าง 50-90 วัน พืชปุ๋ยสดชนิดที่ลำต้นเตี้ย ให้ทำการไถยกลบด้วยแรงงานสัตว์ แต่ถ้าพืชมีลำต้นสูง หรือเป็นเถาเลื้ย ควรตัดให้ติดผิวดิน และขาดเป็นท่อน ๆ แล้วจึงเลื้อย ควรตัดให้ติดผิวดิน และขาดเป็นท่อน ๆ แล้วจึงไถกลบ พืชจะเริ่มเน่าเปื่อย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ย ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช สภาพอากาศและความชื้นในดิน ด้วย


ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด
1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน 2. บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน 3. รักษาความชุ่มชื้นให้ดิน และช่วยให้ดินอุ้มน้าดีขึ้น 4. ลดการสูญเสียหน้าดินอันเกิดจากการชะล้าง 5. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน 6. ปราบวัชพืชบางชนิดได้ 7. กรดที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังช่วยละลายธาตุอาหาร ในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น 8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงลงได้บ้าง 9. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น