การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การประกอบอาชีพการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงในขณะที่การขายผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มั่นคง ยากจน และมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิ้นรน หาวิธีการช่วยตัวเองให้พ้นจากปัญหานี้โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งพบว่าหากผสมผสานกิจกรรม ทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดยการใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมหนึ่ง ไปเป็นปัจจัยการผลิตของอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ทำให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้
หลักการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธีการนี้มานานแล้ว แต่การนำไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลา ร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนับศตวรรษแล้ว ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่างยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บก ที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตร ที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่งเท่าที่มีมา
ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็กลายเป็นอาหารปลา และเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
3. เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำออกขาย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือ ปลูกพืชอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี
ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน หากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเลี้ยงสัตว์ จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
1. แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยม กันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลา โดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลา จะได้ประโยชน์จากบ่อปลา ในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว และต้านทานโรคได้ดีขึ้น ทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้นเนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้น โรงเรือนลักษณะนี้ จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เป็นหรือไก่เท่านั้น
2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อน แล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสาน โดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่ากว่า เพราะเป็นการประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นคงต้องใช้แบบหลัง
ขนาด ลักษณะของบ่อเลี้ยงปลาและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
เมื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม ส ำหรับการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานได้แล้ว ขอแนะนำให้สร้างบ่อปลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเป็นการเลี้ยงขนาดใหญ่ระดับการค้า ควรขุดบ่อให้มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10-20 ไร่ ลึก 1.1-1.3 เมตร เพื่อเก็บน้ำให้ได้ลึก 1.0 เมตร ถ้าจะขุดติดต่อกันหลาย ๆ บ่อ ควรเว้นคันบ่อไว้ 3.0 -5.0 เมตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปลูกเหนือบ่อปลาปลูกชิดคันบ่อด้านที่อยู่ต้นลม ควรปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเลี้ยงไก่ บนบ่อปลา ขนาด 15 ไร่ โรงเรือนควรมีขนาด 400 ตร.ม. เลี้ยงไก่ได้ประมาณ 9,000 ตัว เล้าไก่ควรสูงจากน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากเป็นโรงเลี้ยงสุกร ในบ่อขนาด 15 ไร่ ควรปลูกสร้างบนคันดินของบ่อปลาหรือ เหนือบ่อปลาด้านต้นลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกแบบเรียบง่ายประหยัด ขนาดประมาณ 200 ตร.ม. เลี้ยงสุกรได้มากประมาณ 100 ตัว พื้นโรงควรลาดเอียงไปทางด้านบ่อปลา เพื่อสะดวกในการระบายมูลสุกรลงบ่อปลา นอกจากไก่และสุกรแล้ว เกษตรกรอาจจะเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น เป็ด ห่าน แพะ นกกระทา ฯลฯ บนบ่อเลี้ยงปลาได้การสร้างโรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารคำแนะนำ หรือตำราวิชาการต่าง ๆ ที่หาได้จากร้านค้าที่จำหน่ายพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ หรือจากร้านหนังสือทั่วไป
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาผสมผสานในชนบท แบบยังชีพควรขุดบ่ออย่างน้อยขนาดครึ่งไร่ จนถึงสองไร่ แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้บนบ่อปลา ขนาดของโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ หรือเป็ด บนบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ ควรมีขนาดประมาณ 40 ตารางเมตร สำหรับเลี้ยงไก่หรือเป็ดได้ 200 ตัว ส่วนโรงเรือนสุกรควรมีขนาดประมาณ 5-8 ตารางเมตร เลี้ยงสุกรได้คราวละ 3-5 ตัว หากเกษตรกรไม่มีทุนมากพอ ก็ลดขนาดของการเลี้ยงสัตว์ลงได้อีกตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ แต่ผลผลิตปลาที่ได้จะต่ำลง
พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง
พันธุ์ปลาทุกชนิด ที่สามารถเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีในบ่อ สามารถนำมาใช้เลี้ยงแบบผสมผสานได้ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน มี 4 ชนิดคือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุยเทศ และมักนิยมปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น เลี้ยงปลานิล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ ปลานิล หรือเลี้ยงรวมกันทั้ง ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิ๊กอุย นิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียวในบ่อ อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ส่วนใหญ่ลูกปลาทุกชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้อที่ 1 ไร่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน ดังนี้ คือ ปลานิล 4,000-5,000 ตัว ปลาสวาย 2,000-2,500 ตัว ปลาตะเพียน 1,000-1,500 ตัว
อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้ จะเลี้ยงกันในบ่อขนาดใหญ่ประมาณ 15 ไร่ โดยเลี้ยงไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร 220 ตัว พร้อมกันไปด้วย การปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้พบว่ามีข้อแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย หากเกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และต้องการปลาที่มีขนาดใหญ่ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะการเลี้ยงให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหม่มากนัก เมื่อถึงเวลาจับก็เพิ่มอัตราปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำหรับปลาดุกอุยเทศ มักนิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียว และมักเลี้ยงในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 - 40,000 ตัว ในบ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อยกว่านี้ โดยปกติในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลี้ยงสุกรไว้ 5 ตัว หรือ ไก่ หรือเป็ด 100 ตัว ควรปล่อยปลาชนิดต่าง ๆ ลงเลี้ยงประมาณ 1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาประมาณ 8 เดือน และได้ปลาขนาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคหรือขาย เพื่อเป็นรายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลี้ยงสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ได้ตามจำนวนที่แนะนำ ก็ลดจำนวนลงได้ แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ลงในบ่อปลาในอัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของมูลสัตว์ให้ดีขึ้น
การจัดการบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การเตรียมบ่อปลาเพื่อเลี้ยงปลาควรเริ่มต้นในฤดูแล้ง โดยการสูบน้ำออกจากบ่อ พร้อมทั้งจับปลาออกให้หมด ตากดินก้นบ่อให้แห้งแล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าสภาพดินเป็นกรดมากต้องใส่ปูนขาวมากกว่านี้ เช่น ถ้าดินเป็นกรดวัดค่าความเป็นกรดได้น้อยกว่า 5 ต้องใส่ปูนขาว ถึง 800 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปูนขาวแล้วปล่อยน้ำเข้าบ่อ ควรกรองน้ำด้วยมุ้งในลอนตาถี่ เพื่อป้องกันลูกปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามากับน้ำ ให้ได้น้ำลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยให้ระดับผิวน้ำต่อจากระดับพื้นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากนำสัตว์เลี้ยง เช่นไก่ หรือ สุกรเข้าโรงเลี้ยงครั้งแรก ควรทิ้งระยะประมาณ 7-10 วัน ภายหลังจากนำสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเล้ว และน้ำในบ่อมีสีเขียวจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง พันธุ์ปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง ควรเลือกซื้อที่มีขนาดใหญ่ ถ้าได้ปลาขนาดความยาวตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป จะได้ผลดี
ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มในระยะแรก แต่จะได้กำไรคืนมาคุ้มค่าที่ลงทุนไป เพราะลูกปลาขนาดใหญจะมีอัตรารอดสูง สามารถร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อใจได้จริง ๆ เพราะมีฟาร์มจำหน่ายลูกปลาบางรายเห็นแก่ได้ ทำการปลอมปนลูกปลา เช่น เอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอกจำหน่ายเป็นลูกปลาดุกอุยเทศให้แก่ผู้ซื้อ เป็นต้น ปลาที่ปล่อยทั้งหมดควรมีขนาดใกล้เคียงกัน และควรปล่อยปลาให้ครบชนิด และจำนวนในเวลาเดียวกัน หรือไม่ควรปล่อยปลาห่างกันเกิน 5 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกปลาแต่ละชนิดมีขนาดเท่ากัน
เมื่อปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว ก็ต้องระวังอย่าให้น้ำในบ่อเน่าเสียเนื่องจากมูลสัตว์ ลงไปในบ่อมากเกินไป จนปลากินไม่ทัน ทำให้หมักหมม เน่าเปื่อยอยู่ในน้ำบริเวณก้นบ่อ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและเกิดแก๊สพิษบางชนิด เช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อปลาเมื่อเกิดน้ำเสียในบ่อจะสังเกตได้จากสีของน้ำมีสีเขียวเข้มจัด มีฟองอากาศผุดขึ้นมาจากก้นบ่อ โดยเฉพาะบริเวณใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และปลาจะลอยหัวสขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำในตอนเช้า เมื่อเห็นอาการเน่าเสียของน้ำดังกล่าว จะต้องรีบลดปริมาณมูลสัตว์ที่ตกลงในบ่อลงทันที โดยการใช้กระสอบหรือผ้ามุ้งสีฟ้าขึงไว้ใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่เพื่อรองรับมูลสัตว์เอาไว้
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรบนคันบ่อปลา แทนที่จะล้างมูลสุกรลงบ่อปลาโดยตรง หากทำบ่อเกรอะมูลสุกรโดยล้างมูลสุกรลงมารวมกันในบ่อนี้ ก่อนทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เพื่อให้ให้มูลสุกรเน่าเปื่อยดีก่อน แล้วจึงระบายลงบ่อปลา จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียในบ่อลงไปได้อย่างมากในบ่อที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ถ้าหยุดการเลี้ยงสัตว์เกิน 5 วัน ควรจะหามูลสัตว์ที่เก็บสำรองไว้ใส่ลงไปในบ่อบ้าง หรืออาจจะให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียดหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ปลาอดอาหาร ซึ่งจะเป็นผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย เกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อบางราย เมื่อตกลงซื้อขายปลากับพ่อค้าแล้วก่อนการจับปลาประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มขุนปลาที่เลี้ยงไว้โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ปลาสมบูรณ์ เมื่อถึงกำหนดวันจับปลา จะได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะ มีความสมบูรณ์สูง ได้น้ำหนักขายได้ราคาดี เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ คุ้มค่ากับการลงทุนที่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง
ผลผลิตจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะแปรผันไปกับชนิดและปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง รวมทั้งชนิดและขนาดของปลาที่ปล่อยและระยะเวลาเลี้ยงด้วย ในบ่อขนาดประมาณ 10 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิลชนิดเดียว จะได้ผลผลิตปลานิลรวมประมาณ 5.7 ตัน ในเวลาประมาณ 10 เดือน ในบ่อขนาด 15 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิล ปลาสวายให้ผลิตปลารวมกันถึง 19 ตัน ในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงไก่ร่วมกับปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 12 ตัน และในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงสุกรร่วมกับปลานิลและปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 15 ตัน สำหรับปลาดุกอุยเทศ เกษตรกรบางรายเลี้ยงได้ผลผลิตปลาสูงถึง 16 ตัน ในบ่อขนาด 15 ไร่ น้ำลึกประมาณ 1 เมตร ภายในเวลา 100 วัน โดยเลี้ยงร่วมกับไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละ 5,000 ตัว ปล่อยปลาดุกอุยเทศลงเลี้ยง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 200,000 ตัว เมื่อเลี้ยงปลาได้ 2 เดือน แล้วเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละครั้ง ๆ ละประมาณ 160 กิโลกรัม และให้เศษอาหารที่เก็บจากร้านอาหารอีกวันละ 5 ถัง (ถังขนาด 200 ลิตร)
สำหรับปลาชนิดอื่น ๆ ที่นำมาทดลองเลี้ยงแบบผสมผสานโดยนักวิชาการพบว่าปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลาหัวโต ปลากินหญ้า ปลากะโห้เทศ ปลาบึกและกุ้งก้ามกราม เมื่อนำมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อขนาด 6 ไร่ โดยปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 12,000 ตัว เลี้ยงร่วมกับสุกร 30 ตัวในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน พบว่า ได้ผลผลิตปลารวมกันทั้งหมด 3.5 ตัน เมื่อนำปลาชนิดดังกล่าวข้างต้นนี้ ไปเลี้ยงในบ่อขนาด 2 ไร่ ปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 4,000 ตัว และเลี้ยงร่วมกับเป็ดไข่ 200 ตัว จะได้ผลผลิตปลารวมกัน 2.6 ตัน ในระยะเวลา 10 เดือน
ผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นกิจการที่ต้องลงทุนทั้งเงินทุน และแรงงาน นอกจากต้นทุนคงที่ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ่อปลา เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ แล้ว ยังมีต้นทุนผันแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ได้แก่ ค่าพันธุ์สัตว์ ค่าอาหารสัตว์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ และค่าแรงงานเป็นต้น ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ค้าสัตว์ หลายรายที่มีบริการจ้างเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ การจ้างเลี้ยงไก่เนื้อ โดยบริษัทจะให้พันธุ์สัตว์พร้อมอาหารและยามาให้ เมื่อเลี้ยงจนไก่โตได้ขนาดแล้ว ทางบริษัทจะจับคืนไป โดยคิดราคาตามราคาประกันและน้ำหนักไก่ทั้งหมด แล้วหักค่าใช้จ่ายในส่วนของพันธุ์สัตว์ อาหารและยาไว้ ส่วนที่เหลือคือกำไรที่จ่ายให้ผู้เลี้ยงเป็นค่าเลี้ยง เกษตรกรที่มีความชำนาญถ้าเลี้ยงไก่โดยไม่ตายเลย จะได้กำไรตัวละประมาณ 7.00 บาท ในระยะเวลาประมาณ 50 วัน หากมีไก่ตายบ้างรายได้ก็ลดลงตามส่วน วิธีนี้ช่วยให้เกษตรกรที่ไม่มีเงินทุนมากพอ สามารถเลี้ยงไก่เป็นอาชีพได้ จากการสอบถามเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิล และปลาสวายกับไก่ ในบ่อขนาด 15 ไร่ ประมาณการว่าต้องลงทุนค่าพันธุ์ปลา 51,000 บาท ค่าแรงงาน 45,500 บาท ค่าอาหารสัตว์น้ำ 15,500 บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,800 บาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก 1,900 บาท รวมต้นทุนผันแปรทั้งสิ้น 116,700 บาท นอกจากนี้ยังมีต้นทุนคงที่ จึงได้แก่ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าที่ดิน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ฯลฯ รวมกันอีกประมาณ 36,000 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 152,700บาท จับปลาได้ทั้งสิ้น 19 ตัน คิดเป็นมูลค่า 160,000 บาท ได้กำไรสุทธิประมาณ 7,300 บาท ส่วนการเลี้ยงปลานิลและสวายกับสุกร ในบ่อขนาด 12 ไร่ พบว่าเกษตรกรได้กำไรมากขึ้นคือ จะได้กำไรสุทธิประมาณ 20,000 บาท สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงไก่เนื้อกับปลาดุกบิ๊กอุย พบว่าในบ่อขนาด 5 ไร่ ซึ่งเลี้ยงไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละประมาณ 50 วัน ปล่อยปลาดุกบิ๊กอุยขนาด 1 นิ้ว ลงเลี้ยงทั้งหมด 200,000 ตัว มูลค่า 30,000 บาท เมื่อเลี้ยงครบ 100 วัน ก็จับปลาขายขนาดตัวละประมาณ 85 กรัม (12 ตัว/กิโลกรัม) ได้ผลผลิตปลารวมทั้งสิ้น 16 ตัน ในช่วงการเลี้ยง 40 วัน สุดท้ายได้ให้อาหารเสริมจำพวกอาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ และเศษอาหารจากร้านอาหาร รวมเป็นมูลค่าประมาณ 105,000 บาท เมื่อคิดเฉพาะค่าพันธุ์ปลาและอาหาร พบว่าต้นทุนการผลิตของปลาชุดนี้ ประมาณ กิโลกรัมละ 11 บาท เท่านั้น ในขณะที่ราคาขายส่งที่ฟาร์มของปลาดุกบิ๊กอุย จะตกประมาณ 18-28 บาท/กิโลกรัม
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง ทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย แล้วปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
1.2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธุ์กับจำนวนปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไป ทำให้ต้องเพิ่มอาหารสมทบเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อจะเป็นสีเขียวเข้ม เพราะมีเแพลงก์ตอนพืชเกิดมากพวกนี้จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ ทำให้ปลาตายได้
1.3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกระทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยเอาปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
1.4 การใช้ยา ฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายแก่ปลาได้
2. การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม จึงเกือบจะไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลางเลย
3. ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมาก เมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ซ้ำยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้ม ไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมาก พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย บางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น
ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร
1. ควรศึกษาหาความรู้ทางด้านการเลี้ยงปลาให้ดี ก่อนที่จะดำเนินการ โดยการหาเอกสารคำแนะนำ ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้ว สอบถามความรู้เพิ่มเติม จากผู้รู้ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง
2. ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้าสัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน แล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคาปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
3. เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น
4. เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรที่ควรเชื่อ อะไรที่ไม่ควรเชื่อ ประพฤติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม เลิกลด หรือ ละจากอบายมุขทั้งปวง อย่าตกเป็นทาสของสังคม พร้อมทั้งให้ยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ได้แก่ อิทธิบาทสี่ และพรหมวิหารสี่ เป็นหลักในการประกอบอาชีพ จึงจะได้ผลสำเร็จที่แท้จริง
การประกอบอาชีพการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ มักจะมีปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต ที่มีมูลค่าสูงในขณะที่การขายผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักไม่ได้ราคาดีเท่าที่ควร เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาทางด้านรายได้ จากการผลิตไม่คุ้มทุนหรือได้กำไรน้อย ฐานะของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มั่นคง ยากจน และมีหนี้สิน เกษตรกรหลายรายจึงได้พยายามดิ้นรน หาวิธีการช่วยตัวเองให้พ้นจากปัญหานี้โดยการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งพบว่าหากผสมผสานกิจกรรม ทางด้านการเกษตรหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ของผลผลิตบางอย่างลงได้อย่างมาก โดยการใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมหนึ่ง ไปเป็นปัจจัยการผลิตของอีกกิจกรรมหนึ่งได้ ทำให้ระบบการผลิตโดยรวมมีต้นทุนลดลงดังกล่าวนี้
หลักการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นเรื่องที่เกษตรกรรู้จักวิธีการนี้มานานแล้ว แต่การนำไปใช้ในทางปฏิบัติในบ้านเรายังมีอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ การเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาในนาข้าว หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ และการเลี้ยงปลา ร่วมกับปลา ก็เช่นกัน เกษตรกรได้ปฏิบัติกันมานานนับศตวรรษแล้ว ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมทั้งบางประเทศในยุโรปตะวันออก เช่น ฮังการี ด้วยประเทศเหล่านี้ ต่างยอมรับว่าระบบการผลิตสัตว์น้ำและสัตว์บก ที่ผสมผสานกันนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่กันและกันเป็นอย่างดี นับเป็นระบบการผลิตทางการเกษตร ที่มีประสิทธิภาพสูงมากระบบหนึ่งเท่าที่มีมา
ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็กลายเป็นอาหารปลา และเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
3. เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำออกขาย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือ ปลูกพืชอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี
ลักษณะการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน หากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนเลี้ยงสัตว์ จะพบว่ามีสองลักษณะคือ
1. แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยม กันมากที่สุด เพราะสะดวกและสามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลา โดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโรงเรือนบนบ่อปลา จะได้ประโยชน์จากบ่อปลา ในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว และต้านทานโรคได้ดีขึ้น ทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรงเรือนสูงขึ้นเนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้น โรงเรือนลักษณะนี้ จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เป็นหรือไก่เท่านั้น
2. แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบมากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อน แล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการขุดบ่อในภายหลัง
เกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสาน โดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอแนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่ากว่า เพราะเป็นการประหยัดพื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นคงต้องใช้แบบหลัง
ขนาด ลักษณะของบ่อเลี้ยงปลาและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
เมื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม ส ำหรับการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานได้แล้ว ขอแนะนำให้สร้างบ่อปลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเป็นการเลี้ยงขนาดใหญ่ระดับการค้า ควรขุดบ่อให้มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10-20 ไร่ ลึก 1.1-1.3 เมตร เพื่อเก็บน้ำให้ได้ลึก 1.0 เมตร ถ้าจะขุดติดต่อกันหลาย ๆ บ่อ ควรเว้นคันบ่อไว้ 3.0 -5.0 เมตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปลูกเหนือบ่อปลาปลูกชิดคันบ่อด้านที่อยู่ต้นลม ควรปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้าเลี้ยงไก่ บนบ่อปลา ขนาด 15 ไร่ โรงเรือนควรมีขนาด 400 ตร.ม. เลี้ยงไก่ได้ประมาณ 9,000 ตัว เล้าไก่ควรสูงจากน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากเป็นโรงเลี้ยงสุกร ในบ่อขนาด 15 ไร่ ควรปลูกสร้างบนคันดินของบ่อปลาหรือ เหนือบ่อปลาด้านต้นลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกแบบเรียบง่ายประหยัด ขนาดประมาณ 200 ตร.ม. เลี้ยงสุกรได้มากประมาณ 100 ตัว พื้นโรงควรลาดเอียงไปทางด้านบ่อปลา เพื่อสะดวกในการระบายมูลสุกรลงบ่อปลา นอกจากไก่และสุกรแล้ว เกษตรกรอาจจะเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น เป็ด ห่าน แพะ นกกระทา ฯลฯ บนบ่อเลี้ยงปลาได้การสร้างโรงเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสารคำแนะนำ หรือตำราวิชาการต่าง ๆ ที่หาได้จากร้านค้าที่จำหน่ายพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ หรือจากร้านหนังสือทั่วไป
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาผสมผสานในชนบท แบบยังชีพควรขุดบ่ออย่างน้อยขนาดครึ่งไร่ จนถึงสองไร่ แล้วสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้บนบ่อปลา ขนาดของโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ หรือเป็ด บนบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ ควรมีขนาดประมาณ 40 ตารางเมตร สำหรับเลี้ยงไก่หรือเป็ดได้ 200 ตัว ส่วนโรงเรือนสุกรควรมีขนาดประมาณ 5-8 ตารางเมตร เลี้ยงสุกรได้คราวละ 3-5 ตัว หากเกษตรกรไม่มีทุนมากพอ ก็ลดขนาดของการเลี้ยงสัตว์ลงได้อีกตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ แต่ผลผลิตปลาที่ได้จะต่ำลง
พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง
พันธุ์ปลาทุกชนิด ที่สามารถเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีในบ่อ สามารถนำมาใช้เลี้ยงแบบผสมผสานได้ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน มี 4 ชนิดคือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุยเทศ และมักนิยมปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น เลี้ยงปลานิล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ ปลานิล หรือเลี้ยงรวมกันทั้ง ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิ๊กอุย นิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียวในบ่อ อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ส่วนใหญ่ลูกปลาทุกชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้อที่ 1 ไร่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน ดังนี้ คือ ปลานิล 4,000-5,000 ตัว ปลาสวาย 2,000-2,500 ตัว ปลาตะเพียน 1,000-1,500 ตัว
อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้ จะเลี้ยงกันในบ่อขนาดใหญ่ประมาณ 15 ไร่ โดยเลี้ยงไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร 220 ตัว พร้อมกันไปด้วย การปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้พบว่ามีข้อแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย หากเกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และต้องการปลาที่มีขนาดใหญ่ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะการเลี้ยงให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหม่มากนัก เมื่อถึงเวลาจับก็เพิ่มอัตราปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำหรับปลาดุกอุยเทศ มักนิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียว และมักเลี้ยงในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 - 40,000 ตัว ในบ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อยกว่านี้ โดยปกติในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลี้ยงสุกรไว้ 5 ตัว หรือ ไก่ หรือเป็ด 100 ตัว ควรปล่อยปลาชนิดต่าง ๆ ลงเลี้ยงประมาณ 1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาประมาณ 8 เดือน และได้ปลาขนาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคหรือขาย เพื่อเป็นรายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลี้ยงสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ได้ตามจำนวนที่แนะนำ ก็ลดจำนวนลงได้ แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ลงในบ่อปลาในอัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของมูลสัตว์ให้ดีขึ้น
การจัดการบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การเตรียมบ่อปลาเพื่อเลี้ยงปลาควรเริ่มต้นในฤดูแล้ง โดยการสูบน้ำออกจากบ่อ พร้อมทั้งจับปลาออกให้หมด ตากดินก้นบ่อให้แห้งแล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าสภาพดินเป็นกรดมากต้องใส่ปูนขาวมากกว่านี้ เช่น ถ้าดินเป็นกรดวัดค่าความเป็นกรดได้น้อยกว่า 5 ต้องใส่ปูนขาว ถึง 800 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปูนขาวแล้วปล่อยน้ำเข้าบ่อ ควรกรองน้ำด้วยมุ้งในลอนตาถี่ เพื่อป้องกันลูกปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามากับน้ำ ให้ได้น้ำลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยให้ระดับผิวน้ำต่อจากระดับพื้นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1.0-1.5 เมตร หากนำสัตว์เลี้ยง เช่นไก่ หรือ สุกรเข้าโรงเลี้ยงครั้งแรก ควรทิ้งระยะประมาณ 7-10 วัน ภายหลังจากนำสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเล้ว และน้ำในบ่อมีสีเขียวจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง พันธุ์ปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยง ควรเลือกซื้อที่มีขนาดใหญ่ ถ้าได้ปลาขนาดความยาวตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป จะได้ผลดี
ถึงแม้ว่าจะต้องลงทุนเพิ่มในระยะแรก แต่จะได้กำไรคืนมาคุ้มค่าที่ลงทุนไป เพราะลูกปลาขนาดใหญจะมีอัตรารอดสูง สามารถร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อใจได้จริง ๆ เพราะมีฟาร์มจำหน่ายลูกปลาบางรายเห็นแก่ได้ ทำการปลอมปนลูกปลา เช่น เอาลูกปลาดุกยักษ์ มาหลอกจำหน่ายเป็นลูกปลาดุกอุยเทศให้แก่ผู้ซื้อ เป็นต้น ปลาที่ปล่อยทั้งหมดควรมีขนาดใกล้เคียงกัน และควรปล่อยปลาให้ครบชนิด และจำนวนในเวลาเดียวกัน หรือไม่ควรปล่อยปลาห่างกันเกิน 5 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกปลาแต่ละชนิดมีขนาดเท่ากัน
เมื่อปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว ก็ต้องระวังอย่าให้น้ำในบ่อเน่าเสียเนื่องจากมูลสัตว์ ลงไปในบ่อมากเกินไป จนปลากินไม่ทัน ทำให้หมักหมม เน่าเปื่อยอยู่ในน้ำบริเวณก้นบ่อ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงและเกิดแก๊สพิษบางชนิด เช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อปลาเมื่อเกิดน้ำเสียในบ่อจะสังเกตได้จากสีของน้ำมีสีเขียวเข้มจัด มีฟองอากาศผุดขึ้นมาจากก้นบ่อ โดยเฉพาะบริเวณใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และปลาจะลอยหัวสขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำในตอนเช้า เมื่อเห็นอาการเน่าเสียของน้ำดังกล่าว จะต้องรีบลดปริมาณมูลสัตว์ที่ตกลงในบ่อลงทันที โดยการใช้กระสอบหรือผ้ามุ้งสีฟ้าขึงไว้ใต้โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่เพื่อรองรับมูลสัตว์เอาไว้
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรบนคันบ่อปลา แทนที่จะล้างมูลสุกรลงบ่อปลาโดยตรง หากทำบ่อเกรอะมูลสุกรโดยล้างมูลสุกรลงมารวมกันในบ่อนี้ ก่อนทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เพื่อให้ให้มูลสุกรเน่าเปื่อยดีก่อน แล้วจึงระบายลงบ่อปลา จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียในบ่อลงไปได้อย่างมากในบ่อที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก ถ้าหยุดการเลี้ยงสัตว์เกิน 5 วัน ควรจะหามูลสัตว์ที่เก็บสำรองไว้ใส่ลงไปในบ่อบ้าง หรืออาจจะให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียดหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ปลาอดอาหาร ซึ่งจะเป็นผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย เกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับการเลี้ยงไก่เนื้อบางราย เมื่อตกลงซื้อขายปลากับพ่อค้าแล้วก่อนการจับปลาประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มขุนปลาที่เลี้ยงไว้โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ปลาสมบูรณ์ เมื่อถึงกำหนดวันจับปลา จะได้ปลาที่มีขนาดพอเหมาะ มีความสมบูรณ์สูง ได้น้ำหนักขายได้ราคาดี เป็นที่พอใจของผู้ซื้อ คุ้มค่ากับการลงทุนที่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมาเลี้ยง
ผลผลิตจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
ผลผลิตปลาจากการเลี้ยงแบบผสมผสาน จะแปรผันไปกับชนิดและปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง รวมทั้งชนิดและขนาดของปลาที่ปล่อยและระยะเวลาเลี้ยงด้วย ในบ่อขนาดประมาณ 10 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิลชนิดเดียว จะได้ผลผลิตปลานิลรวมประมาณ 5.7 ตัน ในเวลาประมาณ 10 เดือน ในบ่อขนาด 15 ไร่ ที่เลี้ยงไก่กับปลานิล ปลาสวายให้ผลิตปลารวมกันถึง 19 ตัน ในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงไก่ร่วมกับปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 12 ตัน และในบ่อขนาด 17 ไร่ ที่เลี้ยงสุกรร่วมกับปลานิลและปลาสวาย ได้ผลผลิตปลารวมกัน ประมาณ 15 ตัน สำหรับปลาดุกอุยเทศ เกษตรกรบางรายเลี้ยงได้ผลผลิตปลาสูงถึง 16 ตัน ในบ่อขนาด 15 ไร่ น้ำลึกประมาณ 1 เมตร ภายในเวลา 100 วัน โดยเลี้ยงร่วมกับไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละ 5,000 ตัว ปล่อยปลาดุกอุยเทศลงเลี้ยง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 200,000 ตัว เมื่อเลี้ยงปลาได้ 2 เดือน แล้วเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมวันละครั้ง ๆ ละประมาณ 160 กิโลกรัม และให้เศษอาหารที่เก็บจากร้านอาหารอีกวันละ 5 ถัง (ถังขนาด 200 ลิตร)
สำหรับปลาชนิดอื่น ๆ ที่นำมาทดลองเลี้ยงแบบผสมผสานโดยนักวิชาการพบว่าปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ ปลาหัวโต ปลากินหญ้า ปลากะโห้เทศ ปลาบึกและกุ้งก้ามกราม เมื่อนำมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อขนาด 6 ไร่ โดยปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 12,000 ตัว เลี้ยงร่วมกับสุกร 30 ตัวในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน พบว่า ได้ผลผลิตปลารวมกันทั้งหมด 3.5 ตัน เมื่อนำปลาชนิดดังกล่าวข้างต้นนี้ ไปเลี้ยงในบ่อขนาด 2 ไร่ ปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน 4,000 ตัว และเลี้ยงร่วมกับเป็ดไข่ 200 ตัว จะได้ผลผลิตปลารวมกัน 2.6 ตัน ในระยะเวลา 10 เดือน
ผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นกิจการที่ต้องลงทุนทั้งเงินทุน และแรงงาน นอกจากต้นทุนคงที่ ซึ่งได้แก่ ที่ดิน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ่อปลา เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ แล้ว ยังมีต้นทุนผันแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ได้แก่ ค่าพันธุ์สัตว์ ค่าอาหารสัตว์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ และค่าแรงงานเป็นต้น ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ค้าสัตว์ หลายรายที่มีบริการจ้างเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ การจ้างเลี้ยงไก่เนื้อ โดยบริษัทจะให้พันธุ์สัตว์พร้อมอาหารและยามาให้ เมื่อเลี้ยงจนไก่โตได้ขนาดแล้ว ทางบริษัทจะจับคืนไป โดยคิดราคาตามราคาประกันและน้ำหนักไก่ทั้งหมด แล้วหักค่าใช้จ่ายในส่วนของพันธุ์สัตว์ อาหารและยาไว้ ส่วนที่เหลือคือกำไรที่จ่ายให้ผู้เลี้ยงเป็นค่าเลี้ยง เกษตรกรที่มีความชำนาญถ้าเลี้ยงไก่โดยไม่ตายเลย จะได้กำไรตัวละประมาณ 7.00 บาท ในระยะเวลาประมาณ 50 วัน หากมีไก่ตายบ้างรายได้ก็ลดลงตามส่วน วิธีนี้ช่วยให้เกษตรกรที่ไม่มีเงินทุนมากพอ สามารถเลี้ยงไก่เป็นอาชีพได้ จากการสอบถามเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิล และปลาสวายกับไก่ ในบ่อขนาด 15 ไร่ ประมาณการว่าต้องลงทุนค่าพันธุ์ปลา 51,000 บาท ค่าแรงงาน 45,500 บาท ค่าอาหารสัตว์น้ำ 15,500 บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,800 บาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก 1,900 บาท รวมต้นทุนผันแปรทั้งสิ้น 116,700 บาท นอกจากนี้ยังมีต้นทุนคงที่ จึงได้แก่ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าที่ดิน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ฯลฯ รวมกันอีกประมาณ 36,000 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 152,700บาท จับปลาได้ทั้งสิ้น 19 ตัน คิดเป็นมูลค่า 160,000 บาท ได้กำไรสุทธิประมาณ 7,300 บาท ส่วนการเลี้ยงปลานิลและสวายกับสุกร ในบ่อขนาด 12 ไร่ พบว่าเกษตรกรได้กำไรมากขึ้นคือ จะได้กำไรสุทธิประมาณ 20,000 บาท สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงไก่เนื้อกับปลาดุกบิ๊กอุย พบว่าในบ่อขนาด 5 ไร่ ซึ่งเลี้ยงไก่เนื้อ 2 ชุด ๆ ละประมาณ 50 วัน ปล่อยปลาดุกบิ๊กอุยขนาด 1 นิ้ว ลงเลี้ยงทั้งหมด 200,000 ตัว มูลค่า 30,000 บาท เมื่อเลี้ยงครบ 100 วัน ก็จับปลาขายขนาดตัวละประมาณ 85 กรัม (12 ตัว/กิโลกรัม) ได้ผลผลิตปลารวมทั้งสิ้น 16 ตัน ในช่วงการเลี้ยง 40 วัน สุดท้ายได้ให้อาหารเสริมจำพวกอาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ และเศษอาหารจากร้านอาหาร รวมเป็นมูลค่าประมาณ 105,000 บาท เมื่อคิดเฉพาะค่าพันธุ์ปลาและอาหาร พบว่าต้นทุนการผลิตของปลาชุดนี้ ประมาณ กิโลกรัมละ 11 บาท เท่านั้น ในขณะที่ราคาขายส่งที่ฟาร์มของปลาดุกบิ๊กอุย จะตกประมาณ 18-28 บาท/กิโลกรัม
ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน
จากการรับฟังเกษตรกรที่มาติดต่อกับหน่วยงานของราชการส่วนใหญ่ ในขณะนี้พบว่ายังมีปัญหาบางประการที่จะต้องแก้ไข เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานของเกษตรกรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น คือ
1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง ทำให้ประสบปัญหาในเรื่องน้ำเสีย แล้วปลาเป็นโรค หรือปลาตายมาก เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ปล่อยปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ทำให้ปลาไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
1.2 จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธุ์กับจำนวนปลาในบ่อ ถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงน้อยเกินไป ทำให้ต้องเพิ่มอาหารสมทบเป็นการสิ้นเปลือง หรือถ้าจำนวนสัตว์เลี้ยงมาก น้ำในบ่อจะเป็นสีเขียวเข้ม เพราะมีเแพลงก์ตอนพืชเกิดมากพวกนี้จะดึงเอาออกซิเจนจากน้ำไปใช้ ทำให้ปลาตายได้
1.3 บ่อที่ขุดใหม่ ๆ จะมีปัญหาถ้าดินเปรี้ยว เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะเอาความเปรี้ยวจากดินลงสู่บ่อ สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกระทันหัน อาจทำให้ปลาตายได้ ซึ่งแก้ไขโดยเอาปูนขาวโรยบริเวณขอบคันบ่อก่อนฤดูฝนและทุก 2 สัปดาห์
1.4 การใช้ยา ฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ในไร่นาที่มีการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเป็นอันตรายแก่ปลาได้
2. การกำหนดราคาขายปลายังอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมักจะเอารัดเอาเปรียบตั้งราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริงมาก เพื่อหวังทำกำไรให้มากที่สุด เกษตกรผู้เลี้ยงปลามักจะแยกกันเป็นเอกเทศไม่มีการรวมกลุ่ม จึงเกือบจะไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ กับพ่อค้าคนกลางเลย
3. ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี และมีจำนวนมากเพียงพอพันธุ์ปลาที่มีปัญหามากที่สุดในขณะนี้ คือ ปลานิล ซึ่งหาลูกปลาพันธุ์แท้ได้ยากมาก เมื่อเลี้ยงปลาลูกผสม ปลาจะโตช้า ผลผลิตต่ำ ซ้ำยังขายได้ราคาต่ำเพราะมีสีดำเข้ม ไม่น่ารับประทาน ส่วนพันธุ์ปลาสวายในบางปีจะขาดแคลนและมีราคาสูงมาก พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย บางครั้งก็มีการปลอมปน โดยเอาลูกปลาดุกยักษ์มาหลอกขาย เป็นต้น
ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกร
1. ควรศึกษาหาความรู้ทางด้านการเลี้ยงปลาให้ดี ก่อนที่จะดำเนินการ โดยการหาเอกสารคำแนะนำ ตำราที่เขียนให้เฉพาะเกษตรกรมาอ่านก่อนแล้ว สอบถามความรู้เพิ่มเติม จากผู้รู้ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ หรือขอเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ที่เปิดอบรมทุกปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง
2. ผู้เลี้ยงปลาควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าพันธุ์สัตว์ พ่อค้าสัตว์น้ำ หรือพ่อค้าอาหารสัตว์ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ และมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน แล้วปัญหาเรื่องการถูกโก่งราคาปัจจัยการผลิต และการกดราคารับซื้อผลผลิตจะทุเลาเบาบางลงไปอย่างมาก
3. เกษตรกรควรหมั่นติดตามข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ รายการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น
4. เกษตรกรควรหมั่นฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่น รู้จักพินิจพิเคราะห์ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรที่ควรเชื่อ อะไรที่ไม่ควรเชื่อ ประพฤติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม เลิกลด หรือ ละจากอบายมุขทั้งปวง อย่าตกเป็นทาสของสังคม พร้อมทั้งให้ยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ได้แก่ อิทธิบาทสี่ และพรหมวิหารสี่ เป็นหลักในการประกอบอาชีพ จึงจะได้ผลสำเร็จที่แท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น